ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

กฤษฎา หลักเมือง
อภิญญา รัตนไชย
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ลักษณะทางเศรษฐกิจ ลักษณะทางสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดสงขลา รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดสงขลา จำนวน 160 คน (เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 11 มกราคม 2558 - 15 กุมภาพันธ์ 2558) พบว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ใช้แรงงานครัวเรือนในการทำนาเฉลี่ย 2 คน รายได้รวมโดยเฉลี่ย 17,468 บาท/เดือน รายจ่ายรวมโดยเฉลี่ย 13,795 บาท/เดือน ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงจากโทรทัศน์มากที่สุด และมีระดับทัศนคติต่อแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยเฉพาะประเด็นของ เศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้มีอาหารไว้รับประทานตลอดปี ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ระดับการศึกษา และประเภทของสื่อที่ได้รับข่าวสาร มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อทัศนคติของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ระดับ 0.05 ดังนั้น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนควรเผยแพร่ข่าวสารด้านเศรษฐกิจพอเพียงผ่านสื่อที่มีความน่าสนใจและหลากหลายซึ่งสามารถเข้าถึงเกษตรกรได้อย่างทั่วถึง เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมีทัศนคติที่ดีมากขึ้นเกี่ยวกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาศักยภาพผู้นำในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถถ่ายทอดการนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพหรือการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมการปกครอง. 2541. เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง : แนวความคิดและยุทธศาสตร์. โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, กรุงเทพฯ. 158 หน้า.
ฐิติมา ปาลคะเชนทร์. 2556. ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการ Veridian E - Journal. 6(1): 661-680.
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดสงขลา.2555. โครงการฝึกอบรม หลักสูตรการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพลูกค้า ธ.ก.ส. พักชำระหนี้. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 47 หน้า.
มูลนิธิชัยพัฒนา. 2558. เศรษฐกิจพอเพียง. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/9r5kTU. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2558.
วัชรา ปิ่นทอง และ สุรพล เศรษฐบุตร. 2556. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชาวนา รอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดเพชรบุรี. แก่นเกษตร. 41(2): 181-190.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ดิเรก ศรีสุโข และทวีวัฒน์ ปิตายานนท์. 2547. การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. บริษัทบุญศิริการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 219 หน้า.
สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล, โชติมา พรสว่าง, ไชยยะ คงมณี, อรอนงค์ ลองพิชัย, นพรัตน์ ศักดิ์พันธ์, วิกรม โง้วสุวรรณ, และ ปริญญา บัณฑิโต. 2551. ศักยภาพและข้อจำกัดของการผลิตข้าว เพื่อความมั่นคงของชาวนา ในจังหวัดปัตตานี. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา. 217 หน้า.
สมปอง นุกูลรันต์, ศรินณา ชูธรรมธัช, สุนันท์ ถีราวุฒิ, สรัญญา ดำอำภัย และอมรรัตน์ นาทวีไพโรชน์. 2548. รายงานการวิจัย เรื่อง การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสงขลา. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/xgUA3L. ค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558. สายชล สินสมบูรณ์ทอง. 2555. สถิติเบื้องต้น. จามจุรีโปรดักท์, กรุงเทพฯ. 463 หน้า.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2550. สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/dXEKgP. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2558.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/546G0B. ค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2558.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร การใช้ที่ดิน. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/0qKIii. ค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2558.
สุธิดา พฤกษ์อุดม. 2558. จังหวัดสงขลา เดินหน้าอบรมเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวให้กับเกษตรกร เพื่อป้องกันการเกิดพื้นที่นาร้างจากเหตุต้นทุนการผลิตสูง. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/YkTwva. ค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558.