ผลของการชลประทานแบบน้ำหยด คุณค่าทางโภชนาการของโพแทสเซียม ซิลิคอนต่อการปรากฏและการทำลายของโรคแมลงศัตรู และผลผลิตของมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบงที่ปลูกต้นฤดูฝน

Main Article Content

มาลี ลิขิตชัยกุล
ปิยะ ดวงพัตรา

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อศึกษาผลของการใช้น้ำหยด ปุ๋ยเคมี และขี้เถ้าแกลบต่อการดูดใช้โพแทสเซียมและซิลิคอน ผลผลิต การปรากฏและการทำลายของโรคแมลงมันสำปะหลัง ได้ดำเนินการในจังหวัดนครราชสีมาใน ปี พ.ศ.2555 ถึง 2556 ที่ระยะ 6 และ 9 เดือนหลังปลูก การใช้น้ำหยดมีผลต่อการเพิ่มความเข้มข้นของโพแทสเซียมและซิลิคอนในใบมากกว่าการปลูกโดยการใช้น้ำฝน และการใช้ปุ๋ยเคมีและหรือขี้เถ้าแกลบทำให้ความเข้มข้นของโพแทสเซียมและซิลิคอนในใบมีค่าเฉลี่ยสูงกว่ามันสำปะหลังที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและขี้เถ้าแกลบ ปริมาณความเข้มข้นของโพแทสเซียมและซิลิคอนในใบ ที่ระยะ 6 เดือนหลังปลูก ไม่มีปฏิสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการปรากฎและการทำลายของโรคใบจุดสีน้ำตาล และการปรากฏของเพลี้ยแป้งสีชมพูและแมลงหวี่ขาว แต่มีแนวโน้มทำให้การปรากฏของเพลี้ยแป้งสีชมพู และแมลงหวี่ขาวลดลง เมื่อใบมีความเข้มข้นของโพแทสเซียมและซิลิคอนสูงขึ้น และการใช้น้ำหยดทำให้เกิดการปรากฏของเพลี้ยแป้งสีชมพูน้อยกว่าการปลูกโดยการใช้น้ำฝน อย่างเด่นชัด ส่วนที่ระยะ10 เดือนหลังปลูก ภายใต้แหล่งที่มาของน้ำทั้ง 2 แหล่งปริมาณโพแทสเซียมและซิลคอนในใบที่มีความเข้มข้นมากขึ้นมีผลต่อการลดการปรากฏของแมลงหวี่ขาวอย่างมีนัยสำคัญการใช้น้ำหยดมีผลต่อการเพิ่มผลผลิตหัวสดอย่างเด่นชัดและในปริมาณมากโดยให้น้ำหนักหัวสดเฉลี่ย 6,805 กก./ไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกโดยการใช้น้ำฝน การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวหรือร่วมกับขี้เถ้าแกลบให้ผลผลิตหัวสดมากกว่าการปลูกโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและขี้เถ้าแกลบ การใช้ขี้เถ้าแกลบมีผลต่อการเพิ่มผลผลิตหัวสด วิธีการที่ให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยสูงสุด คือ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-7-18 อัตรา 50 กก./ไร่ ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-60 (MOP) อัตรา 25 กก./ไร่ และขี้เถ้าแกลบ อัตรา 150 กก./ไร่ กับมันสำปะหลังที่ปลูกโดยการใช้น้ำหยดบนผิวดิน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์, วิจารณ์ วิชชุกิจ, บัญญัติ แหวนแก้ว และประภาส ช่างเหล็ก. 2547. ปัญหาการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 34(3-4): 15-20.
บุญลือ เอี๋ยวพาณิช. 2542. เทคโนโลยีการให้น้ำแก่พืช. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, ภูเก็ต. น. 103-107.
ปิยะ ดวงพัตรา. 2536. หลักการและวิธีการใช้ปุ๋ยเคมี. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย. 2553.ปลูกมันสำประหลังแบบมีการให้น้ำ. เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ.
สมมาตร โพธิ์เจริญ. 2530.วิธีให้น้ำระบบประหยัด. เอกสารเผยแพร่. ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร บางพูน, ปทุมธานี. น. 25 - 26.
สุตเขตต์ นาคะเสถียร, วิจารณ์ วิชชุกิจ, เอ็จ สโรบล, สุดสายสิน แก้วเรือง, ธนวรรธห์ บำรุงเศรษฐ์พงษ์ และสุภาวดี บุญมา. 2554. การศึกษาเปรียบเทียบการผลิตมันสำปะหลังโดยวิธีให้น้ำแบบน้ำหยดกับน้ำฝนธรรมชาติร่วมกับการแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารไทอะมีโทแซม.รายงานผลการวิจัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุรชาติ สินวรณ์. 2557. ผลของการใช้ระบบชลประทานแบบน้ำหยด ปุ๋ยท่อและปุ๋ยทางดินต่อการเติบโตและผลผลิตของมันสำปะหลัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุนี ศรีสิงห์ และ เสน่ห์ นิลมณี. 2537. โรคมันสำปะหลังและการป้องกันกำจัดในมันสำปะหลัง. เอกสารวิชาการ, สถาบันวิจัยพืชไร่, กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. น.155-162.
โอภาษ บุญเส็ง. 2553. ปลูกมันสำปะหลังแบบมีการให้น้ำช่วยเพิ่มผลผลิตและป้องกันเพลี้ยแป้ง. นิตยสารเทคโนโลยีชนบท. 22(478): 61-67.
FAO. 1982. Principles for the safety assessment of food additives and contaminants in food. Report of the twenty-sixth session of the FAO desert locust control committee. 4-8 October 1982, Rome, Italy. pp. 47
Howeler, R.H., and S.L.Tan. 2000. Cassava Potential in Asia in the 21st Century: Present Situation and Future Research and Development Needs. Proceedings of the Sixth Regional Workshop help during Feb 21-25, 2000, in Ho Chi Minh city, Vietnam.
Ma, J.F., and E. Takahashi. 2002. Soil fertilizer and plant silicon research in Japan. Elsevier Science, The Netherland. pp. 281 PPIC. 2002. Potash: Its need and use in modern agriculture. PPIC Publ., Saskatchewan, Canada. 44 p.
Soontorn Pipithsaugchau, Proespichaya Kancetharana, Cherdchan Siriwong, Apinan Kamnalrut, and Wichien Chatupote. 1996. Inpalt of the voe of agrochemical or water resources in southern Thailand. In Agricultural Impacts on Groundwater Quality. ACIAR. Proc. no.61. Canberra. ACIAR. pp. 71-76.
Christian Zorb, Mehmet Senbayram, and Edgar Peiter. 2014. Journal of Plant Physiology. 171: 656-669.