ความสัมพันธ์ของลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหญ้าดอกขาว (Leptochloa chinensis (L.) Nees และความหลากหลายชนิดของวัชพืชในนาข้าว : กรณีตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

Main Article Content

กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์
ภัทรพงษ์ เกริกสกุล
อรินทม์ งามนิยม
ศิริกุล ธรรมจิตรสกุล

บทคัดย่อ

การระบาดของวัชพืช หญ้าดอกขาว มีการพบมากในพื้นที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งที่มีการปลูกข้าวมากกว่า ร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดนอกจากนี้ยังมีวัชพืชอีกหลายชนิดที่เจริญในนาข้าวควบคู่กับการระบาดของหญ้าดอกขาว ซึ่งการหาความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพของหญ้าดอกขาว (Leptochloa chinensis (L.) Nees และความหลากหลายชนิดของวัชพืชในนาข้าว จะนำไปสู่การคาดการณ์การระบาดของวัชพืชต่างๆโดยพิจารณาจากปริมาณและลักษณะของหญ้าดอกขาวที่พบได้ ในการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจวัชพืชที่พบในนาข้าว รวมทั้งวัชพืชหญ้าดอกขาวและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหญ้าดอกขาวที่พบ โดยระยะเวลาในการสำรวจวัชพืชโดยอาศัยลักษณะดอกหญ้าเป็นตัวบ่งชี้ชนิดพันธุ์ ได้ทำการสำรวจความหลากหลายชนิดของวัชพืช ในระยะที่ต้นข้าวออกรวง ซึ่งทำให้แยกความแตกต่างระหว่างตันข้าวกับวัชพืชจำพวกหญ้าได้ชัดเจนวิธีการศึกษาโดยเปรียบเทียบจำนวนของวัชพืชอื่นๆและหญ้าดอกขาว รวมถึงลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหญ้าดอกขาวทั้งในแปลงนาและพื้นที่ตามธรรมชาติ โดยสุ่มแปลงนา จำนวน 7พื้นที่ และแหล่งธรรมชาติจำนวน 5 พื้นที่ ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลองครักษ์ในแต่ละพื้นที่ทำการ สุ่มแปลงสำรวจขนาด 5 x 20เมตร จำนวน 3แปลงจากการสำรวจพบว่าในระยะนี้จะพบวัชพืชได้แก่ หญ้าดอกขาว (Leptochloa chin-ensis Nees) หญ้าข้าวนก (Chinochloa crus-galli (L.) T. Beauv.) ผักปอด (Sphenoclea zeylanica Gaertn) กกขนาก (Cyperus difformis L) โดยหญ้าดอกขาวมีการระบาดในทุกแปลงนาที่สำรวจ เมื่อวิเคราะห์หาค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (Shannon biodiversity index)ของวัชพืชพบว่าแปลงที่ P3 มีความหลากหลายมากที่สุดด้วยค่าดัชนี1.149 รองลงมาคือ P4,P7,P2,P6,P1 และ P5โดยมีค่าดัชนีเท่ากับ 1.039, 0.995, 0.995,0.959, 0.933 และ 0.598ตามลำดับ เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความหลากหลายของวัชพืชแต่ละชนิดพบว่าจำนวนประชากรหญ้าดอกขาว ผักปอด และกกขนากสัมพันธ์แบบผกผันกับดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ และยังพบว่าจำนวนวัชพืชกกขนากกับจำนวนผักปอดมีความสัมพันธ์แบบผกผันกันอย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ดังกล่าว สามารถใช้เป็นข้อมูลคาดการณ์การกระจายตัวและการระบาดของวัชพืชบางชนิดได้โดยดูจากความสัมพันธ์ของลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหญ้าดอกขาวกับดัชนีความหลากหลายของวัชพืช ซึ่งพบว่าความหลากหลายชนิดของวัชพืชในนาจะสัมพันธ์กับความยาวรากของวัชพืชหญ้าดอกขาวในนาข้าว ในการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของหญ้าดอกขาวโดยทำการเปรียบเทียบขนาดลำต้น ความสูงของลำต้น ขนาดของใบ และความยาวราก จะพบว่ากลุ่มประชากรในนาข้าวกับกลุ่มในธรรมชาติ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยขนาดลำต้น ความสูงของลำต้น ขนาดใบของกลุ่มที่เจริญในธรรมชาติจะมีขนาดใหญ่และสูงกว่ากลุ่มประชากรหญ้าดอกขาวในนาข้าว ขณะที่ความยาวรากของกลุ่มประชากรในนาจะยาวมากกว่ากลุ่มประชากรหญ้าดอกขาวในธรรมชาติเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของลักษณะสัณฐานวิทยาของหญ้าดอกขาวในแปลงนาข้าวพบว่าขนาดลำต้นมีความสัมพันธ์กับความยาวรากที่ระดับความน่าเชื่อถือ 99% สัมพันธ์กับความยาวช่อที่ระดับความน่าเชื่อถือ95% ความสูงลำต้นสัมพันธ์กับความยาวรากที่ระดับความน่าเชื่อถือ 95% แสดงให้เห็นว่ารากมีความยาวมากจะพบว่าลำต้นมีขนาดใหญ่และลำต้นสูงจากการศึกษานี้สามารถใช้ความแตกต่างทางลักษณะภายนอกของวัชพืชหญ้าดอกขาว เป็นเครื่องหมายในการติดตามการระบาดของประชากรที่ดื้อยาต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จรรยา มณีโชติ, สมศักดิ์ สมานวงศ์, จำรูญ ศุภผล และธวัชชัย สิชฌวัฒน์. 2546. หญ้าดอกขาวต้านทานสารกำจัดวัชพืชในกลุ่มยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ACCase. น. 449-462. ใน: การประชุมวิชาการอารักขาพืชครั้งที่ 6.
จรรยา มณีโชติ, อริยา เผ่าเครื่องม และศันสนีย์ จำจด. 2550. การใช้ระบบสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อสำรวจการระบาดของข้าววัชพืชในนาข้าวเขตภาคกลางภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือกรมวิชาการเกษตร.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช. กรมวิชาการเกษตร
ทศพล พรพรหม. สารกำจัดวัชพืช: หลักการและกลไกการทำลาย. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สถาบันวิจัยข้าว. 2545. วิวัฒนาการการผลิตข้าวไทย. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 142 หน้า.
Andrews, T.S., J.N. Morrison, and G.A. Penner. 1998. Monitoring the spread of ACCase inhibitors resistance among wild oat (Avena fatua) patches using AFLP analysis. Weed Sci. 46: 196-199.
Kamoshita A., Araki Y., and Nguyen T.B. Y. 2014. Weed biodiversity and rice production during the irrigation rehabilitation process in Cambodia. Agric Ecosyst Environ. 194 : 1-6.
Maneechote, C., S. Samanwong, X. Q. Zhang, and S.B. Powles. 2005. Resistance to ACCase inihibiting herbicides in a population of sprangletop [Leptochloa chinensis(L.) Nees] in Thailand. Weed Sci. 53: 290-295.
Maneechote, C., A. Cherdchaivachirakul, S. Titawattanakul, and S. Samanwong. 2003. A population of sprangletop (Leptochloa chinensis) is resistant to fenoxaprop. Proceedings of 19th Asian Pacific Weed Science Society Conference, The Westin Philippine Plaza Hotel, Manila, Philippines. 2: 796-802.