การตกตะกอนและการเก็บรักษาคีโตเซอรอส (Chaetoceros gracilis) แบบเข้มข้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงวิธีการที่เหมาะสมในการตกตะกอนและเก็บรักษาคีโตเซอรอส เพื่อนำมาปรับใช้ต่อการอนุบาลลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยนำคีโตเซอรอสมาตกตะกอนด้วยสารไคโตซานโพลิเมอร์สกัดจากเปลือกกุ้ง (CPS) ไคโตซานโอลิโกเมอร์สกัดจากเปลือกกุ้ง (COS) และไคโตซานโอลิโกเมอร์สกัดจากเปลือกปู (COC) เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการรวมตะกอนของ CPS สูงที่สุด (> 90%) และค่อนข้างคงที่ ที่ความเข้มข้น 40 - 60 มก./ล. รองลงมา คือ COS และ COC ที่ความเข้มข้น 60 มก./ล.ตามลำดับ คีโตเซอรอสที่ตกตะกอนด้วย CPS สามารถฟื้นตัวได้ดี โดยจำนวนเซลล์ไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) กับชุดควบคุม ขณะที่คีโตเซอรอสที่ใช้ COS ในการตกตะกอนฟื้นตัวได้ช้ากว่า อย่างไรก็ตาม การใช้ COS ตะกอนคีโตเซอรอสที่ได้ เซลล์มีลักษณะการจับกันเป็นกลุ่มเล็กและไม่หนาแน่น ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการอนุบาลลูกกุ้งขาว จึงนำคีโตเซอรอสมาตกตะกอนด้วย COS และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ - 20 Oซ ร่วมกับ กลีเซอรอล (Gly) เข้มข้น 10%(v/v) เป็นสารป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็งจากการลดจุดเยือกแข็ง พบว่า ภายหลังจากทำการเก็บรักษาเป็นเวลา 72 ชั่วโมง คีโตเซอรอสที่ผ่านการตกตะกอนด้วย COS ทั้งที่ผสมและไม่ผสม Gly มีอัตรารอดของเซลล์ไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) ซึ่งมากกว่าการเก็บรักษาเซลล์คีโตเซอรอสสดแบบปกติที่ไม่มีการตกตะกอน วิธีการนี้จึงเป็นการเก็บเกี่ยวเซลล์คีโตเซอรอลให้ได้ในรูปแบบที่เข้มข้น และช่วยในการยืดอายุการเก็บรักษาเซลล์ ทำให้ลดพื้นที่การใช้งาน สะดวกต่อการจัดเก็บ และลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งเชิงพาณิชย์ได้ในอนาตต
Article Details
References
นิธิวดี ทุมวัน. 2543. ผลของการเก็บรักษาคีโตเซอรอสที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของกรดไขมันอีพีเอ. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ลัดดา วงศ์รัตน์. 2541. คู่มือการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วันเพ็ญ ภูติจันทร์. 2549. วิทยาสาหร่าย. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.สมบูรณ์ ธนาศุภวัฒน์. 2553. เทคนิคการเก็บรักษาจุลินทรีย์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สราวุธ เจียรพร. 2555. แนวทางการใช้ไคโตซานในการเลี้ยงกุ้ง. อะควาบิซ. 52: 74-77.
Cheng, Y.-S., Y. Zheng, J.M. Labavitch, and J.S. VanderGheynst. 2011. The impact of cell wall carbohydrate composition on the chitosan flocculation of Chlorella. Process Biochemistry.46: 1927-1933.
Divakaran, R., and V.N.S. Pillai. 2001. Flocculation of kaolinite suspensions in water by chitosan. Water Research. 35: 3904-3908.
Divakaran, R., and V.N.S. Pillai. 2002. Flocculation of algae using chitosan. Journal of Applied Phycology. 14: 419-422.
Fox, J.M. 1983. Intensive algal culture techniques. In: CRC Handbook of mariculture. Volume 1. Crustacean Aquaculture. McVey, J.P. (Ed.). CRC Press, Boca Raton, Florida. pp. 43-69.
Hargreaves, J.A. 2006. Photosynthetic suspended-growth systems in aquaculture. Aquacultural Engineering. 34: 344-363.
Lalov, I.G., I.I. Guerginov, M.A. Krysteva, and K. Fartsov. 2000. Treatment of waste water from distilleries with chitosan. Water Research.34: 1503-1506.
Lertsutthiwong, P., S. Sutti, and S. Powtongsook. 2009. Optimization of chitosan flocculation for phytoplankton removal in shrimp culture ponds. Aquacultural Engineering. 41: 188-193.
Riaño, B., B. Molinuevo, and M.C. García-González. 2012. Optimization of chitosan flocculation for microalgal-bacterial biomass harvesting via response surface methodology. Ecological Engineering. 38: 110-113.
Wang, D., and H. Tang. 2001. Modified inorganic polymer flocculant-PFSi: Its preparation, Characterization and coagulation behavior.Water Research. 35: 3418-3428.
Wibowo, S., G. Velazquez, V. Savant, and J.A. Torres. 2007. Effect of chitosan type on protein and water recovery efficiency from surimi wash water treated with chitosan-alginate complexes. Bioresource Technology. 98: 539-545.