ผลของขมิ้นชันที่มีต่อโรคจุดขาวในปลาสวาย

Main Article Content

อดิเทพชัยย์การณ์ ภาชนะวรรณ

บทคัดย่อ

ขมิ้นชันถูกนำมาใช้เป็นตัวยาในการบำบัดรักษาโรคทางการประมงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะปลาสวายที่มีการติดเชื้อโรคจุดขาวในระยะวัยอ่อน ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงพิษเฉียบพลันของขมิ้นชันที่มีต่อลูกปลาสวายน้ำหนักเฉลี่ยต่อตัว 1.26 กรัม และความยาวเฉลี่ยต่อตัว 5.54 เซนติเมตร พบว่า พิษเฉียบพลันที่ทำให้ลูกปลาสวายตาย 50% ที่ 96 ชั่วโมง หลังจากลูกปลาสวายได้รับสารสมุนไพรขมิ้นชัน มีค่า LC50 เท่ากับ 80 mg/l และเพื่อทำการศึกษาอัตราการรอดตายของลูกปลาสวายจากการติดเชื้อโดยใช้สารสมุนไพรขมิ้นชันในการรักษา ระยะเวลา 7 วัน พบว่าการรักษาโดยการแช่มีอัตราการรอดตายสูงที่สุด รองลงมา คือ การรักษาโดยการจุ่ม และการผสมในอาหารเลี้ยง ส่วนกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการใช้ขมิ้นชันมีอัตราการรอดตายน้อยที่สุด คิดเป็น 93.33, 83.33, 80.00 และ 66.67% ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลอัตราการรอดตายของลูกปลาสวายจากการติดเชื้อโดยใช้ขมิ้นชันในการรักษา นำไปวิเคราะห์หาค่าความแปรปรวนทางสถิติพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) สำหรับคุณภาพของน้ำในตู้เลี้ยงก่อนและหลังการทดลอง มีค่าคุณสมบัติของน้ำไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก และอยู่ในเกณฑ์ที่ปลาสามารถอาศัยอยู่ได้ดี คือ อุณหภูมิ 24-25 oC ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ 4.5-7.5 และค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 7.2-7.5

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

มั่นสิน ตัณฑุลเวศน์ และ ไพพรรณ พรประภา. 2538. การจัดการคุณภาพน้ำและการบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ เล่ม 1 การจัดการคุณภาพน้ำ. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะวิศวกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
กรุงเทพฯ. 319 หน้า.
ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ. 2554. เอกสารเผยแพร่ การเลี้ยงปลาสวาย. สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ งานเอกสารคำแนะนำฝ่ายเผยแพร่และพัฒนาสิ่งพิมพ์การประมง, กองส่งเสริมการประมง, กรมประมง. 20 หน้า.
วีณา เชิดบุญชาติ. 2537. ปลูกผักไทย ได้ทั้งอาหารและยา.สำนักพิมพ์บ้านและสวน, กรุงเทพฯ. 48 หน้า.
สมเจตน์ ปัญจวาณิชย์. 2549. ปลาเศรษฐกิจ. สำนักพิมพ์เกษตรสยามบุ๊คส์ จำกัด. น. 141- 152.
อุทัยรัตน์ ณ นคร. 2538. การเพาะขยายพันธุ์ปลา. ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, คณะประมง. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพ ฯ. 136 น.
APHA.1992. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. 18 th ed. American Public Health Association, Washington D.C. 1080 p.
Bavanishankar, T.N., and S. Murthy. 1986. Curcumin-induced aiteration in the glucosemetabolism of Escherichia coli.Journal of Gen Appl Microbiol. 32: 263-70.
Banerjee, A., S. S. Nigam, and V. K. Kaul.1978. Antiicrobial activity of Curcuma aromatica Salisb.Indian Per-fumer, 22, 69.
Lamthammachard, S., and N. Sukchotiratana. 1987. Effect of some medicinal plants in the family Zingiberaceae on the growth of some bacteria. Symposium on Science and Technology of Thailand 13 th, Songkhla, Thailand. Oct 20-22.
Lutomoski, J, B. Keaziam, and W. Dedska. 1974. Effect of an alcohol extract and active ingredient from Curcuma longa on bacteria and fungi. Planta Med. 26: 9-19.
Misra, S.K., and K.C. Sahu. 1977. Screening of some indigenous plants for antifungal activity againstdermatophytes. Indian Journal of Pharmacol. 9: 267-72.
Schraufstater et al, Supniewaki J.V., and Hano J. 1953. The pharmacological of phenylethylcarbinol and p-tolymethylcarbinol. Bull intern acad Polon Sci, Clsse Med: 578-89.
Shankar, T.N.B., and V.S. Murthy. 1979. Effect of tumeric Curuma longa traction on growth of some intestinal and pathogenic bacteria in vitro. Indian Journal of Exp Biol. 17: 1369-6.
Venkitraman, S. 1978. Antifungai activity of certain rhizomes Curcuma longa, C. mada, etc. Indian Journal of Physiol Pharmacy. 22: 237.