การประเมินลักษณะเชื้อพันธุกรรมของข้าวโพดเพื่อความต้านทานโรคราสนิมในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
รคราสนิมเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญในการผลิตข้าวโพดในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนรวมทั้งประเทศไทย ข้อมูลเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดไทยที่ต้านทานต่อโรคราสนิมนั้นยังมีค่อนข้างจำากัด วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้เพื่อประเมินลักษณะความต้านทานโรคราสนิมในเชื้อพันธุกรรมของข้าวโพด จำนวน 18 สายพันธุ์/พันธุ์ ณ แปลงทดลองหมวดพืชผัก คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฤดูแล้ง ปี 2555/2556 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อกจำนวน 4 ซ้ำ ปลูกพันธุ์อ่อนแอ ATS5 เพื่อใช้เป็นแถวแพร่กระจายเชื้อ Puccinia polysora Underw 2 แถว ล้อมรอบแปลงทดลอง เมื่อข้าวโพดพันธุ์ทดสอบมีอายุ 2 สัปดาห์หลังการออกดอก ประเมินคะแนนการป็นโรคราสนิม ผลการศึกษาพบว่าพันธุ์ข้าวโพดที่ทดสอบมีคะแนนการเป็นโรคอยู่ระหว่าง 3.50 ถึง 8.24 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ สายพันธุ์ Ki56 มีระดับความต้านทานสูงที่สุดมีค่าคะแนนการเป็นโรคเท่ากับ 8.24 รองลงมา ได้แก่ พันธุ์ Fancy111 มีค่าคะแนนเท่ากับ 7.3 และพันธุ์ที่มีความอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของโรคมากที่สุด คือสายพันธุ์ A5 ซึ่งมีค่าคะแนนเท่ากับ 3.50 ทั้งสองพันธุ์ Ki56 และ Fancy 111 มีเปอร์เซ็นต์ความต้านทานโรค 42 และ 26 เปอร์เซ็นต์ สูงว่าพันธุ์อ่อนแอมาตรฐาน ATS5 ตามลำดับ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า เชื้อพันธุกรรมข้าวโพดสายพันธุ์ Ki56 และ พันธุ์ Fancy 111 สามารถใช้เป็นแหล่งต้านทานโรคราสนิมสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดต่อไป
Article Details
References
ชุติมันต์ พานิชศักดิ์พัฒนา และ เตือนใจ บุญหลง. 2545. เอกสารวิชาการเรื่องโรคของข้าวโพดและการป้องกันกำจัด. ครั้งที่ 1. กองวิจัยโรคพืชและจุลชีววิทยากรมวิชาการเกษตร, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำากัด, กรุงเทพฯ.
โชคชัย เอกทัศนาวรรณ, ชไมพร เอกทัศนาวรรณ, นพพงศ์ จุลจอหอ, ฉัตรพงศ์ บาลลา และทศพล ทองลาภ. 2544.การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวที่ควบคุมด้วยยีน brittle-1 ให้ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง. หน้า 411-420. ใน: รายงานประชุมวิชาการข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ ครั้งที่ 30.
ปัทมา จันทร์เรือง. 2555. การศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรมของเชื้อราสนิมบนข้าวโพดสายพันธุ์แท้เกษตรศาสตร์.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พีระวรรณ พัฒนวิภาค และ เพ็ชรรัตน์ โยวะบุตร. 2458. ผลงานฉบับเต็มเพื่อขอประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการโรคพืช 7ว. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานวิทยาไมโค กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. 43 หน้า.
สมเกียรติ ฐิตะฐาน, ดิลก อัญชลิสังกาศ, วีระ แจ่มกระจ่าง และนิยม จิ้วจิ้น. 2521. โรคข้าวโพด. เอกสารวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 22 หน้า.
สุรศักดิ์ ปิดความลับ และ บุญฤทธิ์ สินค้างาม. 2557. การพัฒนาสายพันธุ์แท้ที่มีศักยภาพสำหรับเป็นแหล่งเชื้อพันธุกรรม ในโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม. แก่นเกษตร. 42: 77-81.
สุริพัฒน์ ไทยเทศ. 2550. การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมความต้านทานโรคราสนิมในข้าวโพด. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อุดม ภู่พิพัฒน์. 2529. ศัตรูข้าวโพดข้าวฟ่างและการป้องกันกำจัด. สมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ. 64 หน้า.
Bailey, B.A., W. Schuh, R. A. Frederiksen, A.J. Bockholt, and J.D. Smith. 1987. Identication of slow-rusting resistance to Puccinia polysora in maize inbreds and single crosses. Plant Dis. 71: 518–521.
Cammack, R.H. 1959. Studies on Puccinia polysora Undrew. I. The world distribution of forms of Puccinia polysora. Trane. Brit. Mycol. Soc. 41(1): 89-94.
Collard, B.C.Y., and D.J. Mackill. 2008. Marker-assisted selection: an approach for precision plant breeding in the twenty-first century. Philosophical Transactions of the Royal Society of London Series B. 363: 557–572.
Ekasingh, B., P. Gypmantasiri, and K. Thong-Ngam. 2003. Maize Production Potentials and Research Prioritization in Thailand. Multiple Cropping Center, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand.Futrell, M.C. 1975. Pucciniapolysora epidemic on maize associated with cropping practice and genetic homogeneity. Phytopathology. 65: 1040-1042.
Holland, J.B., D.V. Uhr, D. Jeffers, and M.M. Goodman. 1998. Inheritance of resistance to southern corn rust in tropical by corn belt maize populations. Theor. Appl. Genet. 96: 232-241.
Lapbanjob, S., P. Grudloyma, and S. Thaitat. 2011. Evaluation of maize hybrids and inbreds against southern corn rust. Book of Extended Summaries for the Eleventh Asian Maize Conference. p.108-109.
Park, M. J. 2005. The hypersensitive response. A celldeath during disease resistance. Plant Pathol. J.21(2): 99-101.
Pataky, J.K., J.M. Headrick, and Suparyono. 1985. Sweet corn disease Nursery. III. Veg. Res Rep. Hortic. Ser. 56: 10-14.
Pataky, J.K. 1986.Partial rust resistance in sweet corn hybrid seedlings. Phytopathology. 76: 702-707.
Qing, D., T. ZhaoLei, L. ShiChu, N. Qian, and Q. LanQiu. 2013. Identification and evaluation of maize germplasm resources against southern corn rust. Journal of Southern Agriculture. 44: 765-768.
Raid, R.N., S.P. Pennypacker, and R.E. Stevenson. 1988. Characterization of Puccinia polysora epidemics in Pennsylvania and Maryland. Phytopathology. 78: 579-585.
Randle, W.M., D.W. Davis, and J.V. Groth. 1984. Improvement and genetic control of partial resistance in sweet corn to corn leaf rust. J. Am. Soc. Hort. Sci. 109: 777-781.
Rodriguez-Ardon, R., G.E. Scott, and B.S. King. 1980. Maize yield losses caused by southern corn rust. Corp Sci. 20: 812-814.
Wang, X., Y. Zhang, X. Xu, H. Li, X. Wu, S. Zhang, and X. Li. 2014. Evaluation of maize inbred lines currently used in Chinese breeding programs for resistance to six foliar diseases. Crop Sci. 4: 213-222
Wanlayaporn, K., J. Authrapun, A. Vanavichit, and S. Tragoonrung. 2013. QTL mapping for partial resistance to southern corn rust using RILs of tropical sweet corn. American Journal of Plant Sciences. 4: 878-889.