อิทธิพลของการรับรู้และความรู้เกี่ยวกับตรารับรองสินค้าเกษตรที่มีผลต่อการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ปริชาติ แสงคำเฉลียง
เพียรศักดิ์ ภักดี

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการเติบโตของตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้นได้ขยายวงกว้างออกไป แต่ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ก็ยังคงมีขนาดเล็ก อีกทั้งสินค้าเกษตรในประเทศไทยนั้นมีหลายประเภท ตรารับรองสินค้าเกษตรจึงมีความสำคัญในการจำแนกสินค้าเกษตรอินทรีย์จากสินค้าเกษตรอื่นๆ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการรับรู้และความรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อตรารับรองสินค้าเกษตร ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภค ข้อมูลได้ถูกรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลผู้บริโภคทั้งหมด 400 คนในจังหวัดขอนแก่น และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบพรรณนา (Descriptive statistics) และ ค่า Chi-Square test ในการหาความสัมพันธ์ของตัวแปร จากผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคกลุ่มผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์มีแนวโน้มที่จะมีความรู้ในระดับดีเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ แต่อย่างไรก็ตามผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ยังมีความรู้ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับตรารับรองสินค้าเกษตร จากผลการวิเคราะห์พบว่าผู้บริโภคไม่สามารถจำแนกตรารับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ออกจากสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มากกว่าร้อยละ 55.00 แต่ผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 85.00 ยังมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับตรารับรองสินค้าอินทรีย์ นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่ถูกต้องที่มีต่อตรารับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์นั้น ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตรารับรองอีกด้วย องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอาจจะต้องให้ความสำคัญในการเรื่องของการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับตราสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ถูกต้องให้แก่ผู้บริโภคเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและยังส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ในอนาคตอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ปัญญากุล, วิฑูรย์. 2558. ภาพรวมเกษตรอินทรีย์ไทย 2556-57 แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/JaEDFM. ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2558.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2011. งานด้านตรวจสอบและการรับรอง. แหล่งข้อมูล: http://www.acfs.go.th/agri_standards.php. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2557.
Chouichom, S., and M. Yamao. 2010. Comparing opinions and attitudes of organic and non-organic farmers towards organic rice farming system in north-eastern Thailand. Journal of Organic Systems. 5(1): 25-35.
IPMDANIDA. 2003. Did you take your poison today? Bangkok, Thailand: Ministry of Agricultural and Cooperation.Janssen, Meike, and Ulrich Hamm. 2014. Governmental and private certification labels for organic food: consumer attitudes and preferences in Germany. Food Policy. 49: 437-448.
Magistris, Tiziana de, and Azucena Gracia. 2012. Organic food and agriculture-New trends and developments in the social sciences. In: M. Reed Do consumers pay attention to the organic label when shopping organic food in Italy?. Academic Press.
Mondal, Shimul, Theerachai Haitook, Arunee Promkhambut, AH. Md. Amir Faisal, and M.E.A. Pramanik. 2014. Constraints of organic vegetable production in northeast Thailand. Khon Kaen AGR. J. 42(1): 387-394.
Pattanapant, Arpaphan, and Ganesh P. Shivakoti. 2009. Opportunities and constraints of organic agricul-ture in Chiang Mai province, Thailand. Asia-Pacific Development Journal. 16(1): 115-147.
Pornpratansombat, P., B. Bauer, and H. Boland. 2011. The adoption of organic rice farming northeastern Thailand. Journal of Organic Systems. 6(3): 4-12.
Posri, W., S. Bhavani, and C. Supatra 2007. Consumer attitudes towards and willingness to pay for pesticide residue limit compliant “safe” vegetables in northeast Thailand. Journal of International Food and Agribusiness marketing. 19(1): 81-101.
Rattana S., Kanokporn, and Gopal B. Thapa. 2012. Status and financial performance of organic veg-etable farming in northeast Thailand Land Use Policy. 29: 456-463.
Roitner-Schobesberger, Birgit, Ika Darnhofer, Suthichai Somsook, and Christian R Vogl. 2008. Consumer perceptions of organic food in Bangkok, Thailand. Food Policy. 33: 112-121.
Sangkumchaliang, P., and Wen C. H. 2012. Consumers’ perceptions and attitudes of organic food products in northern of Thailand. International Food and Agribusiness Management Review. 15 (1): 87-102.
Thapinta, A., and Paul F. H. 1998. Pesticide use and residual occurrence in Thailand. Environmental Monitoring and Assessment. 60: 103-114.
Wyatt, B. 2009. Marketing strategies and community culture: certified vegetable farming and consumer markets in Chiang Mai, Northern Thailand. The Challlenges of The Agrarian Transition in Southeast Asia Working Papers. p.2-24.
Wyatt, B. 2010. Local organic certification in northern Thailand: the role of discourse coalitions in actor-networks. International Journal of Sociology of Agriculture and Food. 17(2): 108-121.