ผลของเวลาการให้ความร้อนต่อลักษณะทางกายภาพของปลาทูต้มเค็มในบรรจุภัณฑ์รีทอร์ทเพาซ์

Main Article Content

พฤกษา สวาทสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของปลาทูต้มเค็มในบรรจุภัณฑ์รีทอร์ทเพาซ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อที่ 121 องศาเซลเซียสนาน 30, 40 และ 50 นาที มีค่า F0 เท่ากับ 7.7, 8.8 และ 12.1 นาทีตามลำดับ ปลาทูต้มเค็มที่ผ่านการฆ่าเชื้อนานตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป สามารถทำให้ก้างปลานิ่มได้เช่นเดียวกับการผลิตแบบดั้งเดิมซึ่งต้องต้มเคี่ยวนานถึง 7 ชั่วโมง ระยะเวลาการฆ่าเชื้อที่นานขึ้นส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีสีน้ำตาลเข้มขึ้น ค่า L* ของเนื้อปลาทูมีค่าลดลงและค่า a* ของเนื้อปลาและน้ำต้มเค็มมีค่าสูงขึ้น จากการทดลองพบว่าเมื่อระยะเวลาการให้ความร้อนนานขึ้นทำให้เนื้อปลามีเนื้อสัมผัสแข็งขึ้น ค่าความแข็งเพิ่มขึ้นแต่ระหว่างการให้ความร้อน 30, 40 และ 50 นาที ความแข็งที่สูงขึ้นไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) หลังจากเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ 30 วัน ที่อุณหภูมิห้องตรวจไม่พบค่าจุลินทรีย์ทั้งหมด (TPC) ในทุกระดับเวลาฆ่าเชื้อ ผลิตภัณฑ์ปลาทูต้มเค็มในบรรจุภัณฑ์รีทอร์ทเพาซ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อที่ 121 องศาเซลเซียส ทุกระดับการทดลองได้รับการยอมรับความชอบทุกด้านจากผู้ทดสอบสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากวิธีดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ดนุพล จิรวรรณพันธุ์. 2549. ห่อหมกปลาช่อนพร้อมบริโภคในบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัว. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คหกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ.2556 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท.
ไพโรจน์ วิริยจารี. 2545. การประเมินทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation) พิมพ์ครั้งที่1. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
วรพร คำแป้น. 2554. การผลิตน้ำข้าวยำสเตอริไลส์บรรจุรีทอร์ตเพาซ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ศิลปศาสตร์ บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. 2544. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/Pb2bKQ. ค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2557.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. 2546. งานพัฒนา RDA ของไทย พ.ศ.2546. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/MLEWJ. ค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2557.
สมศักดิ์ ชาญเกียรติก้อง. 2535. อาหารไม่บรรจุกระป๋อง. อุตสาหกรรมสาร. 3: 33-41.
Bindu J., Ravishankar, C. N., and Gopal, T. K. S. 2007. Shelf-life evaluation of ready-to-eat black clam (Villorita cyprinoides) product in indigenous retort pouch. J. Food Eng. 78: 995-1000.
Frott, R., and Lewis, and A.S. 1994. In R. Frott and A.S. Lewis (Eds.). Canning of meat and fish products. Chapman and hall.
Gopal, T. K. S., Vijayan, P. K., Balachandran, K. K., Madhavan, P., and Iyer, T. S. G. 2001. Traditional Kerala style fish curry in indigenous retort pouch. Food Control. 12: 523-527.
Herman, D. 2012. Development of thermal process for Gaeng Phed Gai in retort pouches. Available: http://stud.epsilon.slu.se. Accessed Apr. 30, 2014
Ravishanker, C. N., Gopal, T. K. S. and Vijayan, P. K. 2002. Studies on heat processing and storage of Seer fish curry in retort pouches. Packaging Technology and Science. 15: 3-7.
Shri K. S., Steven J. M., and Syed S. H. Rizvi. 2000. Food process engineering: theory and laboratory experiments. John Wiley & Sons, US.
Vazhiyil V. 2005. Seafood processing: adding value through quick freezing, retortable packaging, cook-chilling, and other method, CRC Press.