อิทธิพลของปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตและส่งผลต่อปริมาณการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

Main Article Content

วิชาญ ชุ่มมั่น

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอิทธิพลของปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมซึ่งเป็นปุ๋ยนวัตกรรมใหม่ ที่มีคุณสมบัติแบบองค์รวมเพื่อเพิ่มผลผลิต และลดความเสียหายให้กับข้าวพันธุ์อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (ชัยนาท 1) วางแผนการทดลอง RCBD ประกอบด้วย 6 กรรมวิธี 3 ซ้ำ รวม 18 แปลง ขนาดแปลงย่อย 50 ตารางเมตร ประกอบด้วย T1 ไม่ใส่ปุ๋ย (control), T2 ใส่ปุ๋ย 46-0-0), T3 ใส่ปุ๋ย46-0-0 (50%) + 16-20-0 (50%), T4 ใส่ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม 1 (HO1), T5 ใส่ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม 2 (HO2) และ T6 ใส่ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม 3 (HO3) ปุ๋ยทุกชนิดใส่ในอัตรา 50กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งเมื่อข้าวอายุ 30 และ 60 วัน โดยใช้ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 เป็นพืชทดสอบในหมู่ที่ 6 ต.ท่าบัว อ.โพทะเล จ.พิจิตร วิเคราะห์ปุ๋ยที่ใช้ในการทดลอง วิเคราะห์ดินก่อนและหลังการทดลอง บันทึกการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นใบ ผลผลิต และองค์ประกอบผลผลิต และสำรวจความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและการระบาดของโรค เป็นต้น ในฤดูนาปรังระหว่าง มกราคม-เมษายน พ.ศ.2554ผลการศึกษาพบว่า ปุ๋ยที่มีธาตุ N สูงสุด ได้แก่ T3 เนื่องจากเป็นปุ๋ยเคมี เมื่อพิจารณาเฉพาะในกลุ่มของปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมแล้วพบว่า ธาตุอาหาร N, P และ K รวมสูงสุดใน T5 (HO2) ธาตุอาหารรองรวมสูงสุดใน T6 (HO3) และธาตุอาหารเสริมรวมสูงสุดใน T4 (HO1) ตามลำดับ ผลการศึกษาการเจริญเติบโตของข้าว พบว่า T4 (HO1) เจริญเติบโตสูงสุดและกลุ่มปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (T4(HO1)-T6(HO) ให้ผลผลิตสูงกว่ากลุ่มปุ๋ยเคมี (T2-T3) และกรรมวิธีที่ได้ผลผลิตสูงสุด คือ T4 (HO1) 926.6 กก./ไร่ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับกรรมวิธีอื่นๆ ส่วนอิทธิพลของปุ๋ยที่มีต่อความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและการเกิดโรคนั้นพบว่าจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีปริมาณต่ำสุดใน T4 (HO1) และ T6 (HO3) จึงสรุปได้ว่า ปุ๋ย T4 (HO1) มีอิทธิพลช่วยลดการทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวได้เหนือกว่าปุ๋ยเคมี และยังช่วยในการปรับปรุงบำรุงดินได้ดีอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2553. การผลิตข้าวของเกษตรกรไทย. ณ 16 มีนาคม 2553. แหล่งข้อมูล: http:www.moac.go.th. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2554.
ชวลิต รักษาริกรณ์, พรทิพย์ภาษี และภูมิศักดิ์ อินทนนท์. 2555. อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของยางพารา. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. 20: 18-28.
ภูมิศักดิ์ อินทนนท์, รัตนะ สวามีชัย และบุญส่ง กวยเงิน. 2554. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอัดเม็ดสูตรผสมเพื่อการผลิตข้าวต้นทุนต่ำ. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. 19: 60-70.
ภูมิศักดิ์ อินทนนท์. 2552. เทคโนโลยีปุ๋ย. คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวรพิษณุโลก. 200 หน้า.
ภูมิศักดิ์ อินทนนท์ และ สุรีรัตน์ จับแก้ว. 2554. อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมและปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว. น. 647-654. ใน: การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 7. เล่ม 1: ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 มุ่งมั่นงานวิจัยพัฒนาชาติไทยให้ยั่งยืน, พิษณุโลก.
ภูมิศักดิ์ อินทนนท์. 2553. เทคโนโลยีปุ๋ยขั้นสูง. คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.พิษณุโลก. 310 หน้า.
สุรีรัตน์ จับแก้ว และ ภูมิศักดิ์ อินทนนท์. 2552. อิทธิพลของฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต. แก่นเกษตร. 40(ฉบับพิเศษ 4): 105-109.
วิวัฒน์ อิงคะประดิษฐ์ และ จัตุรงค์ พิพัฒน์พิริยานนท์. 2551.เปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยผสมที่มีอัตราส่วนของธาตุอาหารสูงและธาตุอาหารต่ำต่อผลผลิตข้าวในดินทราย. น. 37-61. ใน: รายงานผลการค้นคว้าวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2540-2545, กรุงเทพฯ.
ดวงใจ สุริยาอรุณโรจน์ และ ประเสริฐ์ ไชวัฒน์. 2554. การขาดอาหารพืชที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของข้าว. น. 60-69. ใน: เอกสารการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2541 กรมวิชาการเกษตร.
Intanon, P. 2013a. The Influence of Different Types of Fertilizer on Productivity and Quality of Maize in the Area of Kwaew Noi Dam, Phitsanulok Province, Thailand. International Journal of Environmental and Rural Development, Vol. 4. International Society of Environmental and Rural Development, Tokyo.
Intanon, P. 2013b. Comparison of Fertilizer Management to Increase Yield and Quality of Rice. International Journal of Environmental and Rural Development, Vol. 4. International Society of Environmental and Rural Development, Tokyo.