ส่วนผสมของแกลบและทรายกับดินชุดสระบุรีที่เหมาะสมต่อการผลิตก้อนอิฐดินดิบเพื่อใช้ก่อสร้างบ้านดิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เพื่อต้องการทราบส่วนผสมที่เหมาะสมเพื่อการทำก้อนอิฐดินดิบโดยใช้ดินชุดสระบุรี (Very-fine, mixed, active, nonacid, isohyperthermic Vertic (Aeric) Endoaquepts) ซึ่งมีแร่สเมกไทต์เป็นแร่หลัก เมื่อทำเป็นก้อนอิฐแล้วจะมีโอกาสแตกร้าวสูง ทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ 10 ซ้ำ 5 ตำรับทดลอง โดย T1 ตำรับควบคุมเป็นก้อนอิฐดินดิบที่มีดินอย่างเดียว ส่วนตำรับ T2, T3, T4 และ T5 เป็นก้อนอิฐดินดิบที่ใช้ส่วนผสมของแกลบและทรายแทนที่ดินในอัตราร้อยละ 10, 14, 16 และ 20 ตามลำดับ ใช้สมบัติของก้อนอิฐดินดิบ ได้แก่ รอยแตกร้าว การหดตัวเชิงปริมาตร กำลังรับแรงอัด และระดับความชื้นโดยมวลเป็นตัวชี้วัดส่วนผสมที่เหมาะสม ผลศึกษาพบว่า ตำรับที่มีแกลบและทรายเป็นส่วนผสมที่เพิ่มมากขึ้นสามารถเพิ่มความสามารถของก้อนอิฐดินดิบในการรับแรงอัด ลดรอยแตกร้าว ลดการหดตัว และเพิ่มระดับความชื้นของอิฐได้ ผลการทดลองนี้แสดงว่าส่วนผสมของแกลบและทรายที่เหมาะสมเมื่อใช้ร่วมกับดินชุดสระบุรีในการทำก้อนอิฐดินดิบ คือ แกลบและทรายร้อยละ 20 ซึ่งทำให้ก้อนอิฐดินดิบไม่มีรอยแตก มีค่าความสามารถรับแรงอัดเท่ากับ 41.81 กก./ ตร.ซม. ก้อนอิฐหดตัวน้อยเพียงร้อยละ 3.96 และมีระดับความชื้นเป็น 0.31
Article Details
References
จตุพร ตั้งศิริสกุล. 2550. การประยุกต์ใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติในการเพิ่มประสิทธิภาพของก้อนดินดิบเพื่อใช้ในการก่อสร้างบ้านดิน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โจน จันได. 2551. บ้านดินวิธีง่ายๆ ของคนอยากมีบ้าน. สำนักพิมพ์เกษตรกรรมธรรมชาติ, กรุงเทพฯ.
ธนา อุทัยภัตรากูร. 2548. จากดินสู่บ้าน..สร้างบ้านด้วยดิน. พิมพ์ครั้งที่ 6. ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา, กรุงเทพฯ.สำนักสำรวจดินและการวางแผนการใช้ที่ดิน. 2548. ลักษณะและสมบัติของชุดดินในภาคกลางของประเทศไทย.กรมพัฒนาที่ดิน.
เอิบ เขียวรื่นรมย์. 2548. การสำรวจดิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 733 หน้า.
อัญชลี สุทธิประการ. 2553. แร่ในอนุภาคขนาดดินเหนียวของดินเขตร้อน. บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น. 280 หน้า.
British Standard Institute. 1997. Method of Testing Concrete for Strength, London.
Chrysler, J., and T. Escobar. 1997. Uniform building code standard 21-9 Masonry Codes and Specifications pp. 125. A Co-Publication of the Masonry Institute of America and CRC Press.
Gee, G.W., and J.W. Bauder. 1986. Particle-size Analysis. A. Klute (ed.), Soil Science Society of America Book Series 5, Madison, Wisconsin, USA.
Saniso E, Y. Tirawanichakul, and S. Tirawanichakul. 2008. The study of some physical properties of desiccant for paddy drying using adsorption technique. KKU. Res. J. 13(5): 575-585.
Soil Survey Division Staff. 1993. Soil survey manual. United States Department of Agriculture. pp. 63–65.
Thomas, G.W. 1996. Soil pH and Soil Acidity. In: D.L. Sparks et al. eds. Methods of Soil Analysis, Part 3. Chemical Methods. Agronomy No. 5. SSSA Book Series., Madison, WI.
Walkley, A., and C.A. Black. 1934. An examination of degtjureff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chroma acid titration method. Soil Sci. 37: 29–35.