การตอบสนองของผลผลิตในข้าว 3 พันธุ์ที่ปลูกในดินที่มีปริมาณแคดเมียมแตกต่างกัน

Main Article Content

กัญญ์กุลณัช คำปวง
พลยุทธ ศุขสมิติ
สมชัย ลาภอนันต์นพคุณ
ยุทธ์ดนัย ยอดทองดี
ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย

บทคัดย่อ

การบริโภคข้าวที่ปนเปื้อนแคดเมียมก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภค ซึ่งนำมาสู่การสะสมสารพิษในร่างกายและอวัยวะต่างๆ ทำงานบกพร่อง การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการตอบสนองของผลผลิตข้าวต่างพันธุ์กันเมื่อปลูกในสภาพดินที่มีปริมาณแคดเมียมแตกต่างกัน ทำการทดลองในกระถาง วางแผนการทดลองแบบ 3×4 Factorial in Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ใช้พันธุ์ข้าวจำนวน 3 พันธุ์ คือ ก่ำหอม มช. ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุง ปลูกในดินที่ใส่แคดเมียมต่างกัน 4 ระดับ คือ 0 (control), 5, 100, 200 มก./กก.ดิน ประเมินผลผลิตในระยะสุกแก่ พบว่าผลผลิตข้าวแต่ละพันธุ์มีการตอบสนองต่อความเข้มข้นแคดเมียมในดินแตกต่างกัน ข้าวพันธุ์สังข์หยด ที่ปลูกในดินที่มีระดับแคดเมียมในดิน 200 มก./กก.ดิน ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.88 ในขณะที่แคดเมียมในดินที่ระดับความเข้มข้น 5 และ 100 มก./กก.ดิน ไม่มีผลต่อผลผลิตเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ไม่ใส่แคดเมียม ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 การใส่แคดเมียมในดินที่ระดับ 5 มก./กก.ดิน มีผลผลิตไม่แตกต่างจากที่ไม่ใส่แคดเมียม แต่พบว่า ที่ระดับแคดเมียม 100 และ 200 มก./กก.ดิน ส่งผลให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 42.08 และ 84.35 ตามลำดับ และในข้าวพันธุ์ก่ำหอม มช. พบว่าความเข้มข้นของแคดเมียมในดินไม่มีผลต่อผลผลิต ซึ่งผลการทดลองนี้บ่งชี้ว่า ผลผลิตข้าวแต่ละพันธุ์มีการตอบสนองเมื่อปลูกในดินที่มีปริมาณแคดเมียมแตกต่างกัน พันธุ์สังข์หยดมีผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีผลผลิตลดลง ในขณะที่ผลผลิตข้าวพันธุ์ก่ำหอม มช. ไม่ตอบสนองต่อความเข้มข้นของแคดเมียมในดิน ซึ่งความแตกต่างในการตอบสนองดังกล่าว จะสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาสรีรวิทยาการสร้างผลผลิตและการสะสมแคดเมียมในเมล็ดของข้าวแต่ละพันธุ์เมื่อปลูกในสภาพดินที่มีแคดเมียมแตกต่างกันได้ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีความทนทานในการสร้างผลผลิต เมื่อปลูกในดินที่มีแคดเมียมปนเปื้อนสูงแต่มีการสะสมแคดเมียมในเมล็ดต่ำได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. 2547. รายงานการปนเปื้อนของแคดเมียมในสิ่งแวดล้อม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ณ เดือน พฤษภาคม 2547. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/uetEMd. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2015.
ธนภัทร ปลื้มพวก, ธงชัย มาลา และอรุณศิริ กำลัง. 2557. ปริมาณแคดเมียมในข้าวที่ปลูกในดินนาปนเปื้อนแคดเมียมในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ตาว จังหวัดตาก ประเทศไทย. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 3: 26-38.
สรัตนา เสนาะ. 2548. การดูดดึงโลหะหนักของหญ้าแฝก ทานตะวัน และข้าว ที่ปลูกในดินปนเปื้อนสังกะสี แคดเมียม และ ตะกั่ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Dong, J., F. Wu, and G. Zhang. 2006. Influence of cadmium on antioxidant capacity and four microelement concentrations in tomato seedlings (Lycopersicon esculentum). Chemosphere. 64: 1659-1666.
Fahad, S., S.D. Hussain, S. Saud, S. Hassan, D.R. Shan, Y.T. Chen, N.Y. Deng, F.H. Khan, C. Wu, W. Wu, F.R. Shah, B.S. Ullah, M.M. Yousaf, S. Ali, and J.L. Huang. 2015. Grain cadmium and zinc concentrations in maize influenced by genotypic variations and zinc fertilization. Clean - Soil Air Water. 43: 1433-1440.
Gao, X.P., R.M. Mohr, D.L. Mclaren, and C.A. Grant. 2011. Grain cadmium and zinc concentrations in wheat as affected by genotypic variation and potassium chloride fertilization. Field Crop Res. 122: 95-103.
Ha, S.B., A.P. Smith, R. Howden, W. M. Dietrich, S. Bugg, M. J. O’Connell, P. B. Goldsbrough, and C. S. Cobbetta. 1999. Phytochelatin Synthase Genes from Arabidopsis and the Yeast Schizosaccharomyces pombe. Plant Cell. 11: 1153-1163.
Li, Y.M., L.R. Channey, and A.A. Schneiter. 1995. Genotypic variation in kernel cadmium concentration in sunflower germplasm under varying soil conditions. Crop Sci. 35: 137-141.
Sriprachote, A., P. Kanyawongha, G. Pantuwan, K. Ochiai, and T. Matoh. 2012. Evaluation of thai rice cultivars with low-grain cadmium. Soil Sci. Plant Nutr. 58: 568-572.
Tiryakioglu, M., M. Eker, F. Ozkutlu, S Husted, and I. Cakmak. 2006. Antioxidant defense system and cadmium uptake in barley genotypes differing in cadmium tolerance. J Trace Elem Med Biol. 20: 181-189.
Wu, F., J. Dong, G. Jia, S. Zheng, and G. Zhang. 2006. Genotypic difference in the responses of seedling growth and Cd toxicity in rice (Oryza sativa L.). Agr Sci. China. 5: 68-76.
Yanagisawa, M., Y. Shinmura, N. Yamada, A. Segawa, and K. Kida. 1984. Heavy metal pollution and methods of restoration of polluted soil in the Jinzu River basin. Bull. Toyama Agric. Exp. Stn. 15: 1-110.