การออกแบบและสร้างเครื่องผ่าเมล็ดตาล

Main Article Content

สุนัน ปานสาคร
จตุรงค์ ลังกาพินธุ์
รุ่งเรือง กาลศิริศิลป์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและสร้างเครื่องผ่าเมล็ดตาลเพื่อลดเวลาและแรงงานในการผ่าเมล็ดตาลเพื่อแยกเอาจาวตาลออกจากเมล็ด เครื่องต้นแบบประกอบด้วย โครงสร้างเครื่อง ชุดจับเมล็ด ชุดผ่าเมล็ด ชุดงัดเมล็ด ระบบส่งกำลัง และใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 0.5 แรงม้า เป็นต้นกำลัง การทำงานของเครื่องเริ่มจากการป้อนเมล็ดตาลลงในชุดจับเมล็ดตาล ล็อกให้แน่นแล้วดันชุดจับเมล็ดให้หมุนไปตามร่องบังคับของเครื่องเข้าสู่ชุดผ่าเมล็ดตาลจนครบรอบ เปลือกแข็งของเมล็ดตาลจะถูกผ่าเกือบรอบเมล็ด จากนั้นนำเมล็ดตาลออกจากชุดจับเมล็ดและงัดเอาจาวตาลออกโดยชุดงัดเมล็ดตาล จากผลการทดสอบพบว่า เครื่องต้นแบบสามารถทำงานได้ดีที่สุดเมื่อใช้ใบเลื่อยวงเดือนของชุดผ่าขนาด 4 นิ้ว มีฟัน 40 ฟัน ทำงานที่ความเร็วรอบ 1,450 รอบ/นาที มีความสามารถในการทำงาน 46 เมล็ด/ชั่วโมง อัตราการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 0.99 kW·hr และไม่มีเปอร์เซ็นต์ความเสียหายของจาวตาล จากการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมพบว่าเมื่อใช้เครื่องต้นแบบทำงาน 1,440 ชั่วโมง/ปี มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของเครื่อง 0.96 บาท/เมล็ด ระยะเวลาคืนทุน 2 เดือน และการใช้งานที่จุดคุ้มทุน 205 ชั่วโมง/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานคน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จตุรงค์ ลังกาพินธุ์. 2555. ออกแบบและเขียนแบบวิศวกรรมด้วยโปรแกรม SolidWorks (ฉบับเรียนลัดด้วยตัวเอง). สำนักพิมพ์ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ.
จตุรงค์ ลังกาพินธุ์. 2558. ทฤษฏีของเครื่องจักรกลเกษตร. สำนักพิมพ์ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ.
จตุรงค์ ลังกาพินธุ์, สุนัน ปานสาคร,ภูรินทร์ อัครกุลธร,สุกฤษฎิ์ สร้อยแม้น และศุภณัฐ สร้อยแม้น. 2559. การออกแบบและสร้างเครื่องแยกเนื้อตาลสุก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี. 14(1).
ชัยณรงค์ วงษ์เวช, ปิยะ มีคำเหลือง, นายวัฒนชัย บำรุงเขต, ประยุทธ ประกิ่ง, พีรณัฐ ปี่แก้ว, พงศดา ชูช่วย, เกษม อ้อนโอด, ดนุสรณ์ ด่อนหมากหยิบ และเมทนีดล นาคกลั่น. 2556. เครื่องผ่าเมล็ดตาล. สิ่งประดิษฐ์ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยาลัยการอาชีพเขาย้อย.
เชลศ ธำรงฐิติกุล. 2555. สารคดีข่าวสุขภาวะภาคกลาง ตอน กว่าจะเป็นงอกตาลเชื่อม. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/zznq9v. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2558.
พจน์ สัจจะ. 2540. ชุดสารคดีอาหาร: โลกวัฒนธรรมของอาหาร. สำนักพิมพ์แสงแดด, กรุงเทพฯ.
ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ. 2551. เกษตรกร อ.วัดโบสถ์ กับงานปลูกและค้าขายตาลโตนด. หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/LDVTOF. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2558.
นิรนาม.2556. ตาลโตนด.แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/cJZI28. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2558.
สันติพงศ์ หนูสุข, สุริยา ไทยเกิด และธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ. 2558. เครื่องผ่าเมล็ดตาล. ปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาตรีวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี. วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี.
สุรัตน์ อัตตะ. 2558. เครื่องผ่าจาวตาลนวัตกรรมสนองกลุ่มผู้ค้าลูกตาลเชื่อม. หนังสือพิมพ์คมชัดลึกออนไลน์. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/kwd6IZ. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2558.
อภิชาต ทองจีน, นัฏฐพล แป้นโก๋ และพิษณุ พัฒน์มาศ. 2556. เครื่องผ่าจาวตาล. สิ่งประดิษฐ์ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี.
Gomez, K.A., and A.A. Gomez. 1984. Statistical Procedure for Agricultural Research. 2nd Edition, John Wiley and Sons, New York. 704 P.Hunt, D. 2001. Farm Power and Machinery. 10thEdition, Iowa State University Press. Ames, Iowa. 368 P.
Krutz, G., Thomson, L., and P. Claar. 1994. Design of Agricultural Machinery. John Wiley and Sons. New York Chicheter Brisbne, Toronto, Sigapore. 472 P.
Sahin, S., and S.G.Sumnu. 2006. Physical Properties of Foods. New York, Springer Science Business Media. 254 P.
Shigley, J.E., and C.R. Mischke. 1989. Mechanical Engineering Design. 5th Edition. McGraw- Hill Book Company, USA. 779 P.