ผลของการเสริมกลีบดอกดาวเรืองในอาหารต่อความเข้มสีในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon

Main Article Content

ชลี ไพบูลย์กิจกุล
ชัยชนินทร์ เบี้ยวเหล็ก
รชนิมุข หิรัญสัจจาเลิศ
เบ็ญจมาศ ไพบูลย์กิจกุล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมกลีบดอกดาวเรืองในอาหารสำเร็จรูปต่อความเข้มสีของกุ้งกุลาดำ การเจริญเติบโต และการรอดตายของกุ้งกุลาดำ ทำการเปลี่ยนแปลงปริมาณกลีบดอกดาวเรืองที่ผสมลงในอาหาร 4 ระดับ ได้แก่ 0, 2, 4 และ 6 เปอร์เซ็นต์ ทำการทดลอง 3 ซ้ำ เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำและอัตราการรอดทุก 15 วัน ตลอดระยะเวลา 60 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการวิเคราะห์ปริมาณแคโรทินอยด์ในเนื้อกุ้ง ข้อมูลที่รวบรวมนำมาวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างชุดการทดลองโดยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่า กุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมกลีบดอกดาวเรืองที่ระดับ 0, 2 และ 6 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการเจริญเติบโตทั้งด้านน้ำหนักและความยาวไม่แตกต่างกัน (P>0.05) แต่มีอัตราการเจริญเติบโตทั้งด้านน้ำหนักและความยาวน้อยกว่ากุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมกลีบดอกดาวเรือง 4 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) อัตราการรอดตายพบว่ากุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมกลีบดอกดาวเรืองทุกระดับมีอัตรารอดไม่แตกต่างกัน (P>0.05) กุ้งที่ได้รับอาหารที่ผสมกลีบดอกดาวเรืองที่ระดับ 6 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณคาร์โรทินอยด์สะสมสูงสุดแตกต่างจากกลุ่มอื่น (P<0.05) การเสริมกลีบดอกดาวเรืองในอาหารมีผลทำให้กุ้งมีการสะสมคาร์โรทินอยด์ในเนื้อมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

สุกิจ รัตนวินิจกุล และ พูนสิน พานิชสุข. 2538. ผลการเสริมสไปรูไลน่าและดอกดาวเรืองในอาหารต่อสีของกุ้งกุลาดำ. เอกสารวิชาการฉบับที่ 3/2538. สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช กรมประมง.
สุภาพร อิสริโยดม, ประทีป ราชแพทยาคม, ครวญ บัวคีรี และ วิไล สันติโสภาศรี. 2538. การเสริมสารสีจากธรรมชาติบางชนิดในอาหารไก่ไข่. น. 34-38. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 33.
สุวรรณี แสนทวีสุข, อุทัย คันโธ, สุกัญญา จัตตุพรพงษ์ และ เสกสม อาตมางกูร. 2543. การศึกษาประสิทธิภาพของสารสีจากดอกดาวเรืองในอาหารไก่ไข่. น. 256-269. ใน: การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 38.
อรพินท์ จินตสถาพร, บัณฑิต ยวงสร้อย, Gary Robert Stoner, ประเสริฐ สมิทธิวงศ์ และ Jacques Gabaudan. 2548. ระดับเหมาะสมของคาโรทีนอยดรวมตอความเขมสีปลาคาร์ฟ (Cyprinus carpio). ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43, กรุงเทพฯ.
AOAC. 1996. Official method of analytical of association of official analytical. 16th ed. AOAC International.
Arredondo-Figueroa, J.L., R. Pedroza-Islas, J.T. Ponce-Palafox, and E.J. Vernon-Carter. 2003. Pigmentation of pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei, Boone 1931) with esterified and saponified carotenoids from red chili (Capsicum annuum) in comparison to astaxanthin. Revista Mexicana de Ingenieria Quimica. 2: 101-108.
Boonyaratpalin, M., S. Thongrod, K. Supamattaya, G. Britton, and L.E. Schlipalius. 2001. Effects of β-carotene source, Dunaliella salina and astaxanthin on pigmentation, growth, survival and health of Penaeus monodon. Aquacult. Res. 32: 182-190.
Boonyaratpalin, M., and N. Unprasert. 1989. Effects of pigments from different sources on colour changes and growth of red Oreochromis niloticus. Aquaculture. 79: 375-380.
Chien, Y.H., and S.C. Jeng. 1992. Pigmentation of kuruma prawn, Penaeus japonicus Bate, by various pigment sources and levels and feeding regimes. Aquaculture. 102: 333-346.
Cody, R.P., and J.K. Smith. 1997. Applied statistics and the SAS programming language. New Jersey: Simon & Schuster / A Viacom Company.
Foss, P., T. Storebakken, K. Schiedt, S. Liaaen-Jensen, E. Austreng, and K. Streiff. 1984. Carotenoids in diets for salmonids 1. Pigmentation of rainbow trout with the individual optical isomers of astaxanthin in comparison with canthaxanthin. Aquaculture. 41: 213-226.
Gocer, M., M. Yanar, M. Kumlu, and Y. Yanar. 2006. The effects of red pepper, marigold flower, and synthetic astaxanthin on pigmentation, growth, and proximate composition of Penaeus semisulcatus. Turk. J. Vet. Anim. Sci. 30: 359-365.
Menasveta, P., W. Worawattanamateekul, T. Latscha, and J.S. Clark. 1993. Correction of black tiger prawn (Penaeus monodon Fabricius) coloration by astaxanthin. Aquacultural Engineering. 12: 203-213.
Mondal, K., S.B. Bhattacharyya, and A. Mitra. 2014. Improving the quality of tiger shrimp Penaeus monodon through dietary incorporation of algae as a source of natural pigment.
Negre-Sadargues, G.R., H. Castillo, H. Petit, S. Sonces, R.G. Martenez, J.C.G. Milicua, G. Choubert, and J.P. Trilles. 1993. Utilization of synthetic carotenoids by the prawn Penaeus japonicus reared under laboratory conditions. Aquaculture. 110: 151-159.
Okada, S., S.A. Nur-E-Borhan, and K.Y. Yamaguchi. 1994. Carotenoid composition in the exoskeleton of commercial black tiger prawn. Fisheries Science. 60: 213-215.
Paibulkichakul, C., S. Piyatiratitivorakul, P. Sorgeloos, and P. Menasveta. 2008. Improved maturation of ond-reared, black tiger shrimp (Penaeus monodon) using fish oil and astaxanthin feed supplements. Aquaculture. 282: 83-89.
Paripatananont, T., J. Tangtrongpairoj, A. Sailasuta, and N. Chansue. 1999. Effect of astaxanthin on the colouringation of goldfish Carassius auratus. Journal of the World Aquaculture Society. 30: 454-460.
Sun, X., Y. Chang, Y. Ye, Z. Ma, Y. Liang, T. Li, N. Jiang, W. Xing, and L. Luo. 2012. The effect of dietary pigments on the coloration of Japanese ornamental carp (koi, Cyprinus carpio L.). Aquaculture. 342-343: 62-68.
Vernon-Carter, E.J., J.T. Ponce-Palafox, and R. Pedroza-Islas. 1996. Pigmentation of Pacific white shrimp (Penaeus vannamei) using Aztec marigold (Tagetes erecta) extracts as the carotenoid source. Arch Latinoam Nutr. 46: 243-246.
Wade, N.M., A. Budd, S. Irvin, and B.D. Glencross. 2015. The combined effects of diet, environment and genetics on pigmentation in the Giant Tiger Prawn, Penaeus monodon. Aquaculture. 449: 78-86.
Yanar, Y., H. Buyukcapar, M. Yanar, and M. Gocer. 2007. Effect of carotenoids from red pepper and marigold flower on pigmentation, sensory properties and fatty acid composition of rainbow trout. Food Chemistry. 100: 326-330.