การประเมินมูลค่าคุณลักษณะกาแฟคั่วบดที่ผลิตเชิงอนุรักษ์บนพื้นที่สูงโดยผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชลทิชา จันทร์แจ่ม
สุวรรณา ประณีตวตกุล
Ed Sarobol

บทคัดย่อ

จากกระแสนิยมดื่มกาแฟที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงเปลี่ยนรูปแบบจากการปลูกกาแฟร่วมกับป่า มาเป็นปลูกกาแฟเชิงเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วบดที่ผลิตเชิงอนุรักษ์บนพื้นที่สูง รวมถึงการวิเคราะห์ความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภค จากตัวอย่างผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครจ�านวน 300 ตัวอย่าง โดยวิธีแบบจ�าลองทางเลือก (Choice Modelling) ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคให้ความส�าคัญกับรูปแบบการผลิตกาแฟ และตรารับรองมาตรฐานความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฉลากระบุระดับการคั่ว และตราสินค้าโครงการหลวง โดยผู้บริโภคมีความพึงพอใจและมีความเต็มใจจ่ายเพิ่มขึ้นส�าหรับการปลูกกาแฟร่วมกับป่า และมีตรารับรองมาตรฐานความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ส�าคัญที่สุดที่ผู้บริโภคมีความเต็มใจจ่าย เพิ่มเท่ากับ 75.40 บาท/200 กรัม ดังนั้นมูลนิธิโครงการหลวงควรจัดสรรเงินส่วนนี้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟบนพื้นที่สูง โดยการเพิ่มราคารับซื้อกาแฟจากเกษตรกรที่ปลูกกาแฟร่วมกับป่าไม้ ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรมาปลูกกาแฟในระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

จุไรรัตน์ ฝอยถาวร และคณะ. 2557. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการย่อยที่ 2 การจัดการธาตุอาหารกาแฟอาราบิก้า. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).
ชนิตา พันธุ์มณี, เริงชัย ตันสุชาติ และเกษม กุณาศรี. 2558. รายงานการศึกษาศักยภาพการแข่งขันของกาแฟอราบิก้าที่ผลิตในระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยกลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตกาแฟอาราบิก้า. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).
ธีระเดช พรหมวงศ์ และคณะ. 2541. ผลกระทบของการปลูกกาแฟต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของเกษตรกรบนพื้นที่สูงในภาคเหนือตอนบน. วารสารเกษตร. 14(3): 255-262.
วชิราภรณ์ ด้วงโสน. 2552. การวิเคราะห์ปัจจัยเกี่ยวกับคุณภาพและความปลอดภัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค, ลำไยในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สมพร อิศวิลานนท์ และคณะ. 2552. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยการศึกษาเศรษฐกิจการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรของโครงการหลวง: การศึกษาสถานภาพการแข่งขันของสินค้าพืชผัก ผลไม้ และกาแฟของมูลนิธิโครงการหลวงภายใต้เขตการค้าเสรี. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).
สรายุทธ แจ่มจิราศัย. 2558. พฤติกรรมการบริโภคและการตัดสินใจซื้อผักสลัดปลอดภัยของประชาชนเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีผักไฮโดรโปนิกส์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สันติ แสงเลิศไสว. 2549. การประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อพืชผักปลอดภัย ตราดอยคำ ในเขตกรุงเทพมหานคร: วิธีแบบจำลองทางเลือก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุวรรณา ชาวบ้านเกาะ. 2545. มูลค่าความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างในผัก: วิธีแบบจำลองทางเลือก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.สิทธิเดช ร้อยกรอง. 2558. การปลูกกาแฟเพื่อลดการเผา. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/0xA751. ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2558.
สิทธิเดช ร้อยกรอง และศิริรัตนาพร หล้าบัววงศ์. 2555. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปกาแฟอาราบิก้า. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).
สุทธิพล แซ่ลี้. 2552. การประเมินมูลค่าคุณลักษณะประจำพันธุ์ข้าวลูกผสมในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2556. ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญที่ขายได้ที่ไร่นา เมษายน2558. แหล่งข้อมูล:http://goo.gl/I3xK6C. ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2558.
โสมสกาว เพชรานนท์. 2553. เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ม, กรุงเทพฯ.
Champ, P. A., K. J. Boyle, and T. C. Brown. 2002. The Economics of Non-Market Good and Resources. Dordecht/Boston/London: Kluwer Academic Publishers.
Glenn, Israel D. 1992. Determining Sample Size. Fact Sheet PEOD-6 University of Florida.
Lancaster, K. J. 1996. A new Approach to Consumer Theory. Journal of Political Economy. 74: 132-156.
National Food Institute. 2555. สถานการณ์ตลาดกาแฟในประเทศไทย อุตสาหกรรมกาแฟ. แหล่งข้อมูล: http://goo.gl/IvoH0m. ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2558.
Ngapo, T. M, J. F. Martin, and E. Dransfield. 2003. Consumer choice suggested price for pork as influenced by its appearance, taste and informa-tion concerning country of origin and organic pig product. Meat science. 28(69): 61.
Orme, B. 2010. Sample Size Issues for Conjoint Analysis Studies, Sawtooth Software Technical Paper, Sequim. Cited In Rose, J. M., and M. J. Bliemer. 2013. Sample size requirements for stated choice experiments. Transportation. 40: 1021-1041.