การตอบสนองของมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 ต่ออัตราปุ๋ยเคมีในชุดดินยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทำการศึกษาผลกํารตอบสนองของมันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80 ต่ออัตราปุ๋ยเคมีในชุดดินยโสธร (Typic Paleustult) จำนวน 7 ตำรับการทดลองที่มีอัตราของ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมแตกต่างกันโดยทำการใส่ปุ๋ยเมื่อมันสำปะหลังอายุ 2 เดือน และเก็บเกี่ยวผลผลิตมันสำปะหลังที่อายุ 10 เดือนพร้อมเก็บตัวอย่างดินชั้นดินบน ผลการศึกษํา พบว่า การเจริญเติบโตและผลผลิตมันสำปะหลังตอบสนองต่ออัตราปุ๋ยเคมีอย่ํางชัดเจนยกเว้นการสะสมแป้ง การใส่ปุ๋ยเคมีเรโช 3:1:3 อัตรํา 12-4-12 กก. N-P2O5-K2O/ไร่ ให้ผลผลิตหัวมันสำปะหลัง ผลผลิตแป้ง และน้ำหนักชีวมวลส่วนเหนือดินสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่าเท่ากับ 4.64, 1.31 และ 1.70 ตัน/ไร่ ตามลำดับ แต่เมื่อใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เพิ่มเป็นสองเท่า (อัตรํา 24-8-24 กก. N-P2O5-K2O/ไร่) ส่งผลให้ผลผลิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจนไม่แตกต่างจากตำรับควบคุม เช่นเดียวกันกับในกรณีของเรโช 1:1:1 และ 2:1:2 ที่การใส่ในอัตราต่ำ (8-8-8 และ 8-4-8 กก. N-P2O5-K2O/ไร่) ให้ผลผลิตสูงกว่ํากํารใส่ในอัตรําสูง (16-16-16 และ 16-8-16 กก.N-P2O5-K2O/ไร่) อย่ํางมีนัยสำคัญทํางสถิติ ควํามเข้มข้นของโพแทสเซียมในส่วนหัวมันสำปะหลังมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นกับผลผลิตสูงที่สุด (r = 0.61**) การใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มปริมาณการสะสมและการดูดใช้ธาตุอาหารหลักของมันสำปะหลังเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่ปุ๋ย แต่การใส่ปุ๋ยเคมีในสัดส่วนที่มีไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นกลับมีผลให้ปริมาณการดูดใช้ธาตุอาหารหลักลดลง สมบัติดินบนหลังจากปลูกมันสำปะหลังไป 1 ฤดูกาล พบว่า ปุ๋ยเคมีอัตราต่างๆ ไม่มีผลต่อพีเอช แต่การใส่ปุ๋ยเคมีส่งผลให้ปริมาณไนโตรเจนรวม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ที่เป็นประโยชน์หลงเหลือในดินสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยเคมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการเกษตร. 2548. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
เจียมใจ ศรชัยยืน, กิตตินันท์ วรอนุวัฒนกุล และชวลิศ นวลโคกสูง. 2547. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมันสำปะหลังรายพันธุ์. เอกสารวิชาการเลขที่ 07/09/47. ส่วนวางแผนการใช้ที่ดินที่ 1 สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ชาญ ถิรพร และ โชติ สิทธิบุศย์. 2537. ดินและการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพกับมันสำปะหลัง, น.128-141. ใน: เอกสารวิชาการมันสำปะหลัง. ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง, สถาบันวิจัยพืชไร่, กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ระยอง.
มุกดา สุขสวัสดิ์. 2544. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. คณะพืชศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพิษณุโลก, พิษณุโลก.
มูลนิธิพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย. 2552. ดินสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง. แหล่งที่มา: http://goo.gl/KOvdKW. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2558.
สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย. 2555.การสำรวจภาวะการผลิตและการค้ามันสำปะหลัง. แหล่งที่มา: http://goo.gl/36De3E. ค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2558.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2555. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2554. แหล่งที่มา: http://goo.gl/zzqaoP. ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2558.
Anusontpornperm, S., S. Nortcliff, and I. Kheoruenromne. 2005. Hardpan formation of some coarse- textured upland soils in Thailand. Paper Presented at Management of Tropical Sandy Soils from Sustainable Agriculture, November 27-December 2, 2005. Khon Kaen, Thailand.
Brady N.C., and R.R. Weil. 2008. The Nature and Properties of Soils. 14 ed. Pearson-Prentice Hall, Upper Saddle River, NJ.Didier, P., and A. Mabrouk El-Sharkawy. 1993. Cassava varietal response to phosphorus fertilization. I. Yield, biomass and gas exchange. Field Crops Research. 35: 1-11.
Howeler R.H., D.G. Edwards, and C.J. Asher. 1982. Micronutrient deficiencies and toxicities of cassava plants grown in nutrient solution: I. Critical tissue concentrations. J. Plant Nutri. 5: 1059-1076.
Johnson, C.M. and A. Ulrich. 1959. Analytical methods for use in plant analysis. Calif. Agri. Exp. Stat. Bull. 767: 25-78.
Land Classification Division and FAO Project Staff. 1973. Soil Interpretation Handbook for Thailand. Dept. of Land Development, Ministry of Agri. and Coop., Bangkok.
Murphy, J., and J.P. Riley. 1962. A modified single solution method for determination of phosphate in natural waters. Anal. Chim. Acta. 27: 31-36.
National Root Crops Research Institute. 1990. NRCRI Annual Report 1991.NRCRI, Umudike, Nigeria.
National Soil Survey Center. 1996. Soil Survey Laboratory Methods Manual. Soil Survey Investigations Report No. 42, Version 3.0. Natural Conservation Service, USDA.