ความหลากหลายและการแพร่กระจายของตัวอ่อนแมลงปอในอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน

Main Article Content

สมศักดิ์ ระยัน
บุญทิวา ชาติชำนิ
อมรรัตน์ รังสิวิวัฒน์
โยธิน ปาระพิมพ์
สุกัญญา คำหล้า

บทคัดย่อ

การศึกษาความหลากหลายและการแพร่กระจายของตัวอ่อนแมลงปอในอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร โดยสุ่มเก็บตัวอย่างจำนวน 6 สถานี ระหว่างเดือนกันยายน 2557 ถึง เดือนสิงหาคม 2558 จำนวน 4 ครั้ง พบตัวอ่อนแมลงปอทั้งหมด 159 ตัว จำแนกได้ 3 อันดับย่อย 8 วงศ์ โดยพบตัวอ่อนแมลงปอวงศ์ Libellulidae มีการแพร่กระจายในอ่างเก็บน้ำมากที่สุด สามารถพบได้ทุกช่วงเวลาและทุกสถานี ร้อยละความถี่ของการพบแต่ละวงศ์เทียบกับจำนวนครั้งที่ทำการสำรวจทั้งหมด (%F) พบวงศ์ Libellulidae มีค่าสูงที่สุด (50.00) รองลงมาเป็นวงศ์ Gomphidae (41.67) และต่ำที่สุดวงศ์ Coenagrionidae และ Amphiterygidae (8.33) การทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม พบว่า ดัชนีความหลากชนิดและดัชนีความหลากหลายแต่ละสถานีและช่วงเวลาไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) ดัชนีความหลากชนิดแต่ละสถานีเฉลี่ยมีเท่ากับ 0.41±0.18 ดัชนีความหลากหลายแต่ละสถานีเฉลี่ยเท่ากับ 0.18±0.10 ส่วนดัชนีความหลากชนิดแต่ละช่วงเวลาของตัวอ่อนแมลงปอมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.45±0.14 และดัชนีความหลากหลายแต่ละช่วงเวลามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.14±0.23 องค์ประกอบหลักของการแพร่กระจายของตัวอ่อนแมลงปอแต่ละพื้นที่และช่วงเวลา พบว่า ตัวอ่อนกลุ่มแมลงปอเข็มในวงศ์ Protoneuridae Amphiterygidae และ Chlorcyphidae มีการแพร่กระจายบริเวณเขตตอนล่างของอ่างเก็บน้ำในช่วงเวลาปรับเปลี่ยนฤดูฝนเป็นแล้ง (T1) ตัวอ่อนแมลงปอเข็มในวงศ์ Coenagrionidae มีการแพร่กระจายบริเวณเขตตอนล่างของอ่างเก็บน้ำ ในช่วงเวลาปรับเปลี่ยนฤดูแล้งเป็นฤดูฝน (T3) ในขณะที่ตัวอ่อนแมลงปอบ้านในวงศ์ Libellulidae มีการแพร่กระจายบริเวณตอนกลางของอ่างเก็บน้ำ ในช่วงเวลาปรับเปลี่ยนฤดูแล้งเป็นฤดูฝน (T3)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กิตติยาภรณ์ บัวเพ็ชร์. 2545. วัฎจักรชีวิตและการใช้ทรัพยากรร่วมของตัวอ่อนแมลงปอในบริเวณทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์. วาริชศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์, ศิริลักษณ์ วลัญช์เพียร และสันธิวัฒน์ พิทักษ์พล. 2556. ความหลากหลายของแมลงน้ำในแม่น้ำอิง. วารสารแก่นเกษตร. 41(ฉบับพิเศษ 1): 142-148.
กุลธิดา แก่นแก้ว และชุติมา หาญจวณิช. 2555. แมลงปอจากห้วยหนองหิ้ง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ. 487-495. ใน: การประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ครั้งที่ 13.
จีรนันท์ รัตนบุญทา และ นฤมล แสงประดับ. 2553. ความหลากชนิดและการกระจายตัวของตัวอ่อนแลงปอในแม่น้ำพอง. วารสารวิจัย มข. (บศ.). 10(3): 1-6.
แตงอ่อน พรหมมิ. 2554. ความหลากหลายทางชีวภาพและโครงสร้างชุมชนของแมลงน้ำในบ่อน้ำจืดที่มีน้ำขังตลอดเวลา. วารสาร Verridian E-Journal SU. 4(1): 917-930.
นัสรียา หมีนหวัง, อำพล พยัคฆา และแตงอ่อน พรหมมิ. 2555. การประยุกต์ใช้ดัชนีชีวภาพประเมินคุณภาพน้ำในลำห้วยแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิจัย มสด. 5(2): 113-123.
ปราณีต งามเสน่ห์. 2554. การติดตามตรวจสอบและตัวชี้วัดคุณภาพน้ำทางชีววิทยาของระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด. คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี. 208 หน้า.
พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2541. แมลงปอของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท บี พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด, กรุงเทพฯ.
สมควร ไข่แก้ว. 2553. การประเมินคุณภาพน้ำกับความหลากชนิดของแมลงน้ำในบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/aSrc0C. ค้นเมื่อ 11 กันยายน 2558.
สมศักดิ์ ระยัน, บุญทิวา ชาติชำนิ และอมรรัตน์ รังสิวิวัฒน์. 2558. ความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำบางประการและความชุกชุมของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่บริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำอูน จังหวัดสกลนคร. แก่นเกษตร. 43(ฉบับพิเศษ 1): 595-602.
สุทธิ มลิทอง. 2549. ความหลากหลายและการกระจายตัวของแมลงปอชนิดต่างๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. โครงงานวิจัย. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Abel, P. D. 1989. Water Pollution Biology. Ellis Horwood, Chichester, England.
Asahina, S. 1993. A List of Odonata from Thailand (Parts I-XXI). Bosco Offset, Bangkok.
Bried, J.T., and G.N. Ervin. 2005. Distribution of Adult Odonata among Localized Wetlands in East-central Mississippi. Southeastern Naturalist. 4(4): 731-744.
Carle, F.L. 1979. Environmental monitoring potential of the odonata, anisoptera of Virginia, United States. Odonatologica. 8: 319-323.
Clarke, K.R. and R.M. Warwick. 1994. Change in Marine Communities; an approach to statistical analysis and interpretation. Plymouth, Plymouth Marine Laboratory. 144 p.
Dudgeon, D. 1999. Tropical Asian Stream: Zoobenthods, Ecology and Conservation. Hongkong, Hongkong University Press.
Foster, S.E., and D.A. Soluk. 2004. Evaluating exuvia collection as a management tool for the federally endangered Hine’s emerald dragonfly, Somatochlora hineana Williamson (Odonata: Cordulidae). Biological Conservation. 118: 15-20.
Google maps. 2016. Available: https://www.google.co.th/maps/. Accessed Jan. 10, 2016.Hamalainen, M., and A. Pinratana. 1999. Atlas of the Dragonflies of Thailand: Distribution Map by Province. Chok Chai Creation Printing Group Co.,Ltd., Bangkok.
Hawking, J., and G. Theischinger. 1999. Dragonfly Larvae (Odonata): A Guide to the Identification of Larvae Australian Families and Ecology of Larvae from New South Wales. Cooperative Research Centre for Freshwater Ecology and Australian water Technologies Pty Ltd., New South Wales.
Lewis, O.T., and S. Gripenberg. 2008. Insect seed predators and environmental change. Journal of Applied Ecology. 45(6): 1593-1599.
Morse. C.L., Y. Lianfang, and T. Lixin. 1994. Aquatic Insects of China Useful for Monitoring Water Quality. Hohai University Press, China.
Needham, J.G., M.J. Westfall, and M.L. May. 2000. Dragonflies of North America. Scientific Publishers, Gainesville.
Sangpradub, N., and B. Boonsoong. 2006. Identification of Freshwater Invertebrate of the Mekong River and its Tributaries. Mekong River Commission, Vientiane.
R Development Core Team. 2009. R: A language and environment for statistical computing. R Foundation for Statistical Computing, Vienna, Austria.
Richards, C., G.H. Host, and A.W. Arthur. 1993. Identification of Predominant Environmental Factors Structuring Stream Macroinvertebrate Communities Within a Large Agricultural Catchment. Freshwater Biology. 29: 285-294.
Robert, W. P. 1953. Fresh Water Invertebrate of The United States. Library of Congress Catalog Card Number 52-12522.
Wudneh, T. 1998. Biology and management of fish stocks in Bahir Dar Gulf, Lake Tana, Ethiopia. Doctor’s Thesis. Wageningen University, Wageningen. 144 p.