ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น ประชากรศึกษา คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนรับไข่ไหม ปี 2556 จำนวน 517 ราย นำมาสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จึงได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 226 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ในช่วงเดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน 2557 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงไหมของเกษตรกรในระดับมาก คือ 1) ปัจจัยด้านสังคม ได้แก่ ความสนใจของตนเอง เลี้ยงสืบต่อจากญาติพี่น้อง ครอบครัว และบรรพบุรุษ และการเป็นสมาชิกกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงไหม 2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ แรงงานที่เลี้ยงไหมในครัวเรือน ต้นทุนในการผลิตไหม รายได้ของเกษตรกร ผลกำไรที่ได้จากการเลี้ยงไหม และความต้องการรายได้เสริม 3) ปัจจัยด้านกายภาพ ได้แก่ สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหม ขนาดพื้นที่โรงเลี้ยงไหม ทำเลที่ตั้งโรงเลี้ยงไหม มีแหล่งน้ำที่เพียงพอในการปลูกหม่อน และวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงไหมที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น 4) ปัจจัยด้านชีวภาพ ได้แก่ การเลี้ยงหลายรุ่นต่อปี มีพันธุ์ไหมที่ต้องการเลี้ยง และพันธุ์ไหมมีความต้านทานโรคและศัตรู 5) ปัจจัยด้านการผลิต ได้แก่ มีปัจจัยที่เพียงพอต่อการผลิตไหม ขั้นตอนในการเลี้ยงไหม การดูแลรักษาและป้องกันโรคไหม การเก็บเกี่ยวผลผลิตไหม และระยะเวลาในการเลี้ยงไหม 6) ปัจจัยด้านการตลาด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของราคาผลผลิตไหม แหล่งจำหน่ายผลผลิตไหม และความต้องการทางการตลาด และ 7) ปัจจัยด้านการส่งเสริม ได้แก่ การได้รับความรู้เรื่องไหม การได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิตไหม การได้รับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ การฝึกอบรมเรื่องไหม และการเยี่ยมเยือนของเจ้าหน้าที่ และผลการเปรียบเทียบ พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมที่มีอายุ แรงงานในครัวเรือน พื้นที่ถือครอง และประสบการณ์การเลี้ยงไหมแตกต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจแตกต่างกันในบางประเด็น แต่เกษตรกรที่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องไหม และความต่อเนื่องในการเลี้ยงไหมแตกต่างกัน มีปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจไม่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิราลักษณ์ ปรีดี. 2546. การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มผู้เลี้ยงไหมในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เฉลิมโรจน์ ชัยสิทธิพัฒนา และ เพียรศักดิ์ ภักดี. 2554. การจัดการธุรกิจผ้าไหมของกลุ่มทอผ้าบ้านหนองหญ้าปล้อง และกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านหัวฝาย จังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 39(ฉบับพิเศษ 1): 483-487.
เมธา ถนอมพันธุ์. 2547. การตัดสินใจปลูกข้าวไร่ของเกษตรกรในจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขอนแก่น. 2555ก. ข้อมูลสภาพทั่วไปในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สำนักงาน, ขอนแก่น. (เอกสารสำเนา).
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขอนแก่น. 2556ข. ทะเบียนรายชื่อเกษตรกรผู้รับไข่ไหม: สำนักงาน. (เอกสารสำเนา).สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม. 2555. สืบสานภูมิปัญญาไหมไทย. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
Conbach, L.J. 1970. Psychological Test. 2nded. New York. Harper & Row Publishers, Inc. อ้างถึงใน: สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. 2537. สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์: สถิติ & SPSS for Windows. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
Yamane, T. 1973. Statistics an Introduction Analysis. 3rded. Harper & Row Publishers, Inc., New York. อ้างถึงใน: สำเริง จันทรสุวรรณ และ สุวรรณ บัวทวน. 2537. สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์: สถิติ & SPSS for Windows. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.