การใช้กล้วยหอมทองสุกในสูตรอาหารเลี้ยงปลานิล

Main Article Content

ธนากร เหมะสถล
ดวงใจ พิสุทธิ์ธาราชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาการใช้กล้วยหอมทองในสูตรอาหารเลี้ยงปลานิลโดยแบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 4 ซ้ำ ประกอบด้วยอาหารที่ผสมกล้วย 4 ระดับ คือ 0 (ชุดควบคุม), 10, 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยการทดลองนี้จะทำการเลี้ยงปลานิลอายุ 60 วันในกระชัง จำนวน 100 ตัว/กระชัง นาน 4 เดือน ผลการทดลองพบว่า ปลานิลมีอัตราการเจริญเติบโตและ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมกล้วยที่ 10 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 364.41 กรัม และค่าอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อดีที่สุด เท่ากับ 1.12 สำหรับอัตราการรอดตาย พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) โดยชุดควบคุมมีอัตราการรอดตายสูงที่สุด เท่ากับ 85 เปอร์เซ็นต์

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ฉลาด นนทรี. 2546. การใช้กล้วยน้ำว้าดิบเป็นสารเหนียวในอาหารเม็ดจมน้ำสำหรับเลี้ยงปลาช่อน. ปัญหาพิเศษ. สถาบันราชภัฎเพชรบุรี, เพชรบุรี.
โชคชัย เหลืองธุวปราณีต. 2554. หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. สำนักพิมพ์โฟร์เพช, กรุงเทพฯ.
ภุมริน นิลแช่ม. 2547. การใช้กล้วยน้ำว้าดิบเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตในอาหารปลานิล. วิทยานิพนธ์ สาขาวิทยาศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. สถาบันราชภัฎวไลลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.
ยม กลิ่นสุมาลย์. 2545. การจัดการการเลี้ยงปลานิลในกระชังบริเวณอ่างเก็บน้ำาลำปะทาว อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
เยาวภา ไหวพริบ, จิราพร รุ่งเลิศเกรียงไกร, นันทิภา พันธุ์สวัสดิ์ และนนทวิทย์ อารีย์ชน. 2556. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. การวิจัยเชิงสังเคราะห์เกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสินค้าปลานิลตลอดห่วงโซ่เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยอาหาร.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), กรุงเทพฯ.
วรรณภา เสนาดี, อทิพัฒน์ บุญเพิ่มราศี, วรกัญญา อักษรเนียม และดวงใจ เข็มแดง. 2551. กล้วย. ผลไม้คุณค่าของทุกคน. เคหเกษตร. 32: 70-106.
สุภาพร สุกสีเหลือง. 2552. การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เทคนิคและวิธีดำเนินการ. บริษัทพิมพ์ดี จำกัด, กรุงเทพฯ.
สุนีรัตน์ เรืองสมบูรณ์, ศักดิ์ชัย ชูโชติ และปวีณา ทวีกิจการ. 2553. การเจริญเติบโตของปลานิลแดง (Oreochromis niloticus x O. mossambicus) ที่เลี้ยงด้วยอาหารผสม Spirulina platensis แห้ง. วิจัยเทคโนโลยีการประมง. 1: 51-60
อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล, พิสมัย สมสืบ, นุชนรี ทองศรี และสาวิตรี วงศ์สุวรรณ. 2548. อาหารและการผลิตอาหารสัตว์น้ำ. กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.อภิชาติ ศรีสะอาด และจันทรา อู่สุวรรณ. 2556. คู่มือการเพาะปลูกกล้วยเศรษฐกิจเงินล้าน. สำนักพิมพ์ บริษัทนาคาอินเตอร์มีเดีย จำกัด, สมุทรสาคร.
อภิวัฒน์ คำสิงห์. 2554. ประมวล-พะเยาว์ รุ่งทอง เกษตรกรชัยนาท ใช้กล้วยน้ำว้าเลี้ยงปลาลดต้นทุน. เทคโนโลยีชาวบ้าน. 497: 100-101.
อุธร ฤทธิลึก. 2553. การจัดการคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาเขตร้อน. สำนักพิมพ์โอเอส พริ้นติ้งเฮ้าส์, กรุงเทพฯ.
Mirea, C., V. Cristea, I. R. Grecu, and L. Dediu. 2013. Influence of different water temperature on intensivegrowth performance of Nile tilapia (Oreochromis niloticus, Linnaeus,1758) in arecirculating aquaculture system. Lucrari stinitifice-Seria Zootehnie J. 60: 227-231.