การจัดการธาตุไนโตรเจนเพื่อการผลิตข้าวหอมนิลในชุดดินแม่ทะ

Main Article Content

จักรชัยวัฒน์ กาวีวงศ์

บทคัดย่อ

ปุ๋ยไนโตรเจนเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตข้าว การจัดการให้เหมาะสมกับชนิดของดินและสภาพพื้นที่สามารถยกระดับ ผลผลิตให้เป็นไปตามศักยภาพของสายพันธุ์ และช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้อย่างยั่งยืน การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราของปุ๋ยไนโตรเจน (46-0-0) ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิต รวมถึงผลตอบแทนหลังหักต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีของข้าวหอมนิลที่ปลูกในชุดดินแม่ทะ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 7 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 8 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีควบคุม (Control) กรรมวิธีที่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 0 (N1), 4.5 (N2), 9 (N3), 18 (N4), 24 (N5) และ 36 (N6) กก. N/ ไร่ ผลการศึกษาพบว่าปุ๋ยไนโตรเจนมีผลทำให้การเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิต ผลผลิต และผลตอบแทนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) โดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในช่วงอัตรา 9-18 กก. N/ไร่ ให้จำนวนต้นต่อกอ (17.83 ต้น) ความสูง (91.52 ซม.) จำนวนรวงต่อกอ (14.50 รวง) จำนวนเมล็ดต่อรวง (138.50 เมล็ด) เปอร์เซ็นต์เมล็ดดี (88.80%) ผลผลิต (597.97 กก./ไร่) และผลตอบแทนเฉลี่ย (6,237.95 บาท/ไร่) สูงที่สุด อย่างไรก็ตามข้าวตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่อัตรา 13.18 กก./ไร่ ซึ่งจะให้ผลผลิตและผลตอบแทนเฉลี่ยไร่ละ 583.63 กก. และ 6,189.09 บาท ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 18 กก. N/ไร่ ดังนั้นจากผลการทดลองที่ได้นี้สามารถให้คำแนะนำอัตราปุ๋ยไนโตรเจนกับข้าวหอมนิลที่ปลูกในชุดดินแม่ทะได้ว่าควรใส่ให้ในช่วงไม่เกิน 13-18 กก. N/ไร่ เมื่อวิเคราะห์ดินก่อนปลูกได้ว่ามีปริมาณของธาตุไนโตรเจนต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กมลชนก นันต๊ะจันทร์, เพ็ญนภา จักรสมศักดิ์, นันทิยา พนมจันทร์ และชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. 2559. ผลของการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตและความเข้มข้นธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าวพันธุ์พื้นเมือง. แก่นเกษตร. 44(3) : 391-398

กรมพัฒนาที่ดิน, 2548. รายงานการจัดการทรัพยากรดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจตามกลุ่มชุดดิน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. คู่มือการพัฒนาที่ดินสำหรับหมอดินอาสาและเกษตรกร. เอกสารวิชาการและเผยแพร่. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2561. ข้าวหอมนิล. รายงานข้อมูลภาวการณ์ผลิตพืชระดับตำบล. แหล่งข้อมูล: http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant/rortor/rice/rice1/rice185.pdf, สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548, ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และประทีป วีระพัฒนนิรันดร์. 2558. ธรรมชาติของดินและปุ๋ย. คู่มือสำหรับการเกษตรยุคใหม่,กรุงเทพฯ.

ธนกฤต เขียวอร่าม, นันทวัฒน์ ศรีอำไพ, อำพล แพบุตร, อุไร กาลปักษ์ และรุ่งนภา อังคุณี . 2555. การศึกษาปัจจัยและแนวทางการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ในการทำนาในพื้นที่ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร,เพชรบุรี.

นันทนา ชื่นอิ่ม, วิวัฒน์ อิงคะประดิษฐ์, สมชาย กรีฑาภิรมย์ และนุษรา สินบัวทอง. 2553. การใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวตามค่าวิเคราะห์ดิน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

นิตยา รื่นสุข, ประนอม มงคลบรรจง และวาสนา อินแถลง. 2551. การจัดการเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตข้าวลูกผสมสายพันธุ์ PTT06001H. น. 74-90. ใน: ประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2551, 8-10 เมษายน 2551. โรงแรมชลจันทร์ รีสอร์ท พัทยา จ.ชลบุรี.

มณเฑียร จินดา, สมศักดิ์ เหลืองศิโรรัตน์ และเสน่ห์ ฤกษ์วีรี. 2542. อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่มีต่อสมบัติของดินและผลผลิตข้าวในดินนาชุดนครปฐม. รายงานผลการค้นคว้าวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาวประจำ ปี 2536- 2539. กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว. กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. หน้า 72-89.

มุกดา สุขสวัสดิ์. 2544. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ.

ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และ ชวลิต ฮงประยูร. 2554. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วัสสนัย วรรธนัจฉริยา, เริงชัย ตันสุชาติ และเรนัส เสริมบุญสร้าง. 2560. การเพิ่มศักยภาพทางการตลาดและการขยายตลาดของข้าวเฉดสี. บทสรุปงานวิจัยเพื่อเผยแพร่. แหล่งข้อมูล: http://www.thai-explore.net/file_upload/ submitter/file_doc/72d96fae494a81cc5c87e83cbd0fa515.pdf, สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2562.

ศุภธิดา อ่ำทอง. 2558. ดินปลูกข้าวและการจัดการ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.

สถาบันวิจัยข้าว. 2547. คําแนะนําการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวตามค่าวิเคราะห์ดิน. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2562. สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพ ฯ.

สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน. 2557. ลักษณะและสมบัติของชุดดินหลักในภาคเหนือ. แหล่งข้อมูล: http://www.ldd.go.th/thaisoils_museum/knownlg/series_ n2557.htm, สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม, 2562.

อภิชาติ วรรณวิจิตร. 2544. ข้าวเพื่อสุขชีวิตเจ้าหอมนิล. แหล่งข้อมูล: https://www.ku.ac.th/e-magazine/april44/ agri/rice1.html, 20 มีนาคม 2562.

อารีรัตน์ น้องสินธุ์. 2542. อิทธิพลของระดับปุ๋ยไนโตรเจนต่อการสะสมและการถ่ายเทไนโตรเจนในข้าว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชไร่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2556. ผลของการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีไนโตรเจนที่มีต่อผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ธาตุไนโตรเจนของข้าว. วารสารวิชาการเกษตร. 31(3), 270-281

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2557. การจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อการเจริญเติบโตผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจนของข้าวที่ปลูกในชุดดินสรรพยา. วารสารเกษตร. 30(2): 133-140.

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2559. ผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ต่อผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ธาตุไนโตรเจนจากปุ๋ยของข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี1 ที่ปลูกในชุดดินวัฒนา. แก่นเกษตร. 44(3): 383- 390.

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2561. การตอบสนองของข้้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ที่ปลูกในชุดดินวัฒนาภายใต้การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับการจัดการปุ๋ยเคมีแบบเฉพาะพื้นที่. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 5(1); 38-43.

AOAC. 2000. Official method of analysis of AOAC international: The Association of Official Analytical Chemists, 17th. Washington DC. USA.

Attanandana, T., P. Verapattananirund and R.S. Yost. 2005. Capacity building of the farmers to improve soil resources and economic conditions in Thailand. In: Paper presented at the 20th International Symposium of RRIAP on Prospects for Food Production, Rural Communities and Bio-resources under Globalization 2005, December 2. Nihon University, Shonan Campus, Kanagawa, Japan.

Blake, G.R. and K.H. Hartge. 1986. Bulk density, In: Methods of Soil Analysis, Part 1: Physical and Mineralogical Methods. P. 363-375. A Klute, SSSA Book Series 5, Madison Wisconsin, USA.

Bray, R.H. and L.T. Kurtz. 1945. Determination of total, organic and available forms of phosphorus in soils. Soil Sci. 59: 39-45.

Day, P.R. 1965. Particle fractionation and particle size analysis. In: C.A. Black ed. Methods of Soil Analysis. Part I. pp.545-567.: Amer. Soc. of Agron. Inc., Madison, Wisconsin.

Department of Agricultural Extension. 2017. Hom-nin Rice (Sub-district crop production report). Available: http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant/rortor/rice/rice1/rice185.pdf, April 12, 2019.

Dobermann, A. and T. Fairhurst. 2000. Rice: Nutrient Disorder and Nutrient Management. Potash and Phosphate Institute of Canada.

Fageria, N.K. 2007. Yield physiology of rice. Journal of plant nutrition. 30: 843-879.

Gee, G.W. and J.W. Bauder. 1986. Particle-size analysis. P. 383-411. In : A. Klute, ed. Methods of Soil Analysis, Part I. Physical and Mineralogical Methods. Agronomy, No. 9. Amer. Soc. Agron. Inc., Madison, Wisconsin.

Gewaily, E.E., A.M. Ghoneim, M.M.A. Osman. 2018. Effect of nitrogen levels on growth, yield and nitrogen use efficiency of some newly released Egyptian rice genotypes. Open agriculture journal. 3: 310-318.

Guan G, S.X. Tu, J.C. Yang and L. Yang. 2011. A field study on effects of nitrogen fertilization modes on nutrient uptake, crop yield and soil biological properties in rice wheat rotation system. Agricultural Sciences.10: 1254-1261.

Hirzel J., A. Pedreros and K. Cordero. 2011. Effect of nitrogen rates and split nitrogen fertilization on grain yield and its components in flooded rice. Chilean journal of agricultural research. 71(3); 437-444.

Horneck D.A., D.M. Sullivan, J.S. Owen and J.M. Hart. 2011. Soil Test Interpretation Guide. Available: http://extension.oregonstate.edu/sorec/sites/default/files/soil_test_interpretation ec1478.pdf. April 5, 2019

Jackson, M. L. 1958. Soluble Salt Analysis for Soils and Water. Soil Chemical Analysis. Prentice Hall, Inc. Englewood Cliffs, N.J. 251 p.

Jing, Q., B.A.M. Bouman, H. Hengsdijk, H.V. Keulen and W.X. Cao. 2007. Exploring options to combine high yields with high nitrogen use efficiencies in irrigated rice in China. European Journal of Agronomy. 26: 166-177.

Nelson, D.W. and L.E. Sommers. 1996. Total carbon, organic carbon, and organic matter, pp. 961-1010. In: D.L. Sparks, A.L. Page, P.A. Helmke, R.H. Loeppert, P.N. Soltanpour, M.A. Tabatabai, C.T. Johnston and M.E. Sumner, eds. Methods of Soil Analysis, Part 3. Chemical Methods. Agronomy No. 5. SSSA Book Series. Madison, Wisconsin.

Office of Agriculture Economics. 2018. The monthly average retail prices of chemical fertilizers in Thailand. Available: http://oldweb.oae.go.th/economicdata/retailpes.html, April 12, 2019.

Sheng-gang, P., H. Sheng-qi, Z. Jing, W. Jing-ping, C. Cou-gui, C. Ming-li, Z. Ming1 and T. Xiang-ru. 2012. Effects of N management on yield and N uptake of rice in central China. Journal of Integrative Agriculture. 11(12): 1993-2000.

Tel, D.A. and M. Hagatey. 1984. Methodology in Soil Chemical Analyses, pp. 119-138. In: Soil and Plant analyses. Study guide for Agricultural laboratory directors and technologist working in tropical regions. IITA, Nigeria.