ผลของอุณหภูมิและระยะเวลาเก็บรักษาต่อคุณภาพ ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ และความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระในไมโครกรีนผักขี้หูด (Raphanus sativus var. caudatus Alef)
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผักขี้หูดเป็นผักพื้นเมืองที่มีศักยภาพในการผลิตเป็นไมโครกรีน เนื่องจากอุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระสูง อย่างไรก็ตาม ไมโครกรีนมีอายุการเก็บรักษาสั้นและสูญเสียน้ำหนักอย่างรวดเร็วเมื่อเก็บรักษาในสภาพที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิและระยะเวลาในการเก็บรักษาต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิคทั้งหมด ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระในไมโครกรีนผักขี้หูด โดยวางแผนการทดลองแบบ 3 x 4 factorial in CRD จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ 1) อุณหภูมิในการเก็บรักษา ได้แก่ อุณหภูมิ 5 และ 10 ºC เปรียบเทียบกับอุณหภูมิห้อง (25±2 ºC) และ 2) ระยะเวลาการเก็บรักษา ได้แก่ 0 4 8 และ 12 วัน พบว่า การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 ºC ไมโครกรีน ผักขี้หูดมีการสูญเสียน้ำหนัก ปริมาณสารประกอบฟีนอลิคทั้งหมด ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS น้อยที่สุด ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระดังกล่าวสูญเสียเพิ่มขึ้นเมื่อระยะเวลาในการเก็บรักษานานขึ้น นอกจากนี้ การเก็บรักษาไมโครกรีนผักขี้หูดที่อุณหภูมิ 5 ºC เป็นระยะเวลา 4 วัน มีน้ำหนัก ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ และความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระไม่แตกต่างจากวันแรกของการเก็บรักษา ดังนั้น การเก็บรักษาไมโครกรีนผักขี้หูดที่อุณหภูมิต่ำเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการคงคุณภาพและปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ
Article Details
References
กรรณิกา บุญพาธรรม และดนุพล เกษไธสง. 2560. การประเมินผลผลิตและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในผักไมโครกรีน 13 ชนิด. แก่นเกษตร. 45(ฉบับพิเศษ): 368-373.
นครินทร์ บุญมี และเกียรติรัตน์ คุณารัตนพฤกษ์. 2556. ความมั่นคงทางด้านอาหารของเด็กวัยก่อนเรียนและครัวเรือนของเด็กวัยก่อนเรียนในเขตพื้นที่การปกครองแบบพิเศษ (โคกนาคอง) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข. 13: 111-121.
ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และวรางคณา อุดมทรัพย์. 2560. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 28: 122-128.
พลกฤษณ์ มณีวระ. 2552. การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมของสารต้านอนุมูลอิสระในผักระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่
พรชัย หาระโคตร, วาสนา หวายพิมาย, เยาวพา จิระเกียรติกุล, และภาณุมาศ ฤทธิไชย. 2561.ปริมาณแคโรทีนอยด์ซัลโฟราเฟน สารต้านอนุมูลอิสระและความสามารถในการต้านออกซิเดชันของไมโครกรีนผักพื้นเมืองวงศ์กะหล่ำ. ว. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 5: 108-117.
รัชฎาพร อุ่นศิวิไลย์, จิราวรรณ อุ่นเมตตาอาร, และจิตรา สิงห์ทอง. 2554. รายงานวิจัยเรื่อง ฤทธิ์ทางชีวภาพและคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของสารสกัดย่านาง เครือหมาน้อย และรางจืด. สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
รัตนสุดา ชลธาตุ. 2558. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแนวทางการแก้ไขปัญหา. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18: 416-431.
อัญจนา จันทร์ปะทิว, ยุพา มิตรมังกร, และนาตยา มนตรี. 2560. ผลของความร้อนและการเก็บรักษาต่อปริมาณแอนโทไซยานินในผักสีม่วงบางชนิด. แก่นเกษตร. 45(ฉบับพิเศษ): 1278-1282.
Baenas, N., I. Gómez-Jodar, D. Moreno, C. García-Vigueraa, and P.M. Periago. 2017. Broccoli and radish sprouts are safe and rich in bioactive phytochemicals. Postharvest Biol. Technol. 127: 60-67.
Barros, L., M.J. Ferreira, B. Queiros, I.C.F.R. Ferreira, and P. Baptista. 2007. Total phenols, ascorbic acid, β-carotene and lycopene in Portuguese wild edible mushrooms and their antioxidant activities. Food Chem. 103: 413-419.
Berba, K.J., and M.E. Uchanski. 2012. Post-harvest physiology of microgreens, J. Young Investig. 24: 1-5.
Chandra, D., J.G. Kim, and Y.P. Kim. 2012. Changes in microbial population and quality of microgreens treated with different sanitizers and packaging films. Hort. Environ. Biotechnol. 53: 32-40.
Dayarathna, P.G.N.N., J.W. Damunupola, and N.S. Gama-Arachchige. 2018. Optimum storage temperature for mustard microgreens to maintain high postharvest quality and sensory attributes. p. 135. Wayamba University International Conference 24-25 August 2018. Wayamba University, Sri Lanka.
Fahey, J.W., Y. Zhang, and P. Talalay. 1997. Broccoli sprouts: An exceptionally rich source of inducers of enzymes that protect against chemical carcinogens. Proc. Natl. Acad. Sci. 94: 10367-10372.
Galani, J.H.Y., J.S. Patel, N.J. Patel, and J.G. Talati. 2017a. Storage of fruits and vegetables in refrigerator increases their phenolic acids but decreases the total phenolics, anthocyanins and vitamin C with subsequent loss of their antioxidant capacity. MDPI. 6: 1-19.
Galani, Y.J.H., M.P. Mankad, A.K. Shah, N.J. Patel, R.R. Acharya, and J.G. Talati. 2017b. Effect of storage temperature on vitamin C, total phenolics, UPLC phenolic acids profile and antioxidant capacity of eleven potatoes (Solanum tuberosum L.) varieties. Hortic. Plant J. 3: 73–89.
Harakotr, B., B. Suriharn, R. Tangwongchai, M.P. Scott, and K. Lertrat. 2014. Anthocyanins and antioxidant activity in coloured waxy corn at different maturation stages. J. Funct. Foods. 9: 109-118.
Kevers, C., M. Falkowski, J. Tabart, J.O. Defrigne, J. Dommes, and J. Pincemail. 2007. Evolution of antioxidant capacity during storage of selected fruits and vegetables. J. Agric. Food Chem. 55: 8596-8603.
Kubola, J., S. Siriamornpun, and N. Meeso. 2011. Phytochemicals, vitamin C and sugar content of Thai wild fruits. J. Agric. Food Chem. 126: 972–981.
Murakami, M., T. Yamaguchi, H. Takamura, and T. Matoba. 2003. Effects of ascorbic acid and tocopherol on antioxidant activity of polyphenolic compounds. Food Chem. Toxicol. 68: 1622–1625.
Xiao, Z., G.E. Lester, Y. Luo, and Q. Wang. 2012. Assessment of vitamin and carotenoid concentrations of emerging food products: edible microgreens. J. Agric. Food Chem. 60: 7644-7651.