ผลของระบบอนุรักษ์ดินและน้ำต่อผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการเปลี่ยนแปลงสมบัติดินในพื้นที่ดอน

Main Article Content

จุฑารัตน์ มนูญโย
ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย
ชัยสิทธิ์ ทองจู
ศุภชัย อำคา

บทคัดย่อ

ศึกษาผลของระบบอนุรักษ์ดินและน้ำต่อผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการเปลี่ยนแปลงสมบัติดิน ในพื้นที่แปลงเกษตรกรบ้านซับลังกา ตำบลเกาะรัง อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) จำนวน 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ดังนี้ 1) ไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้ำ (IF) 2) ปลูกถั่วเขียว (IF+MB) 3) ปลูกแถบหญ้าแฝก (IF+VG) 4) ปลูกแถบหญ้าแฝกที่มีการใส่ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซา (IF+VG+AMF) 5) ปลูกถั่วเขียวร่วมกับแถบหญ้าแฝก (IF+MB+VG) และ 6) ปลูกถั่วเขียวร่วมกับแถบหญ้าแฝกที่มีการใส่ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซา (IF+MB+VG+AMF) ทุกตำรับการทดลองปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ผลการทดลองพบว่า การปลูกถั่วเขียวและแถบหญ้าแฝกที่มีการใส่ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซามีผลให้พืชดูดใช้ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในเมล็ด ลำต้น ใบ เปลือก และซัง ได้มากที่สุด การปลูกถั่วเขียวร่วมและแถบหญ้าแฝกที่มีการใส่ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซามีแนวโน้มให้ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิตสูงสุด (น้ำหนักฝักปอกเปลือก 667.20 กก./ไร่น้ำหนักฝักทั้งเปลือก 750.90 กก./ไร่ น้ำหนักเปลือก 83.70 กก./ไร่ น้ำหนักซัง 89.90 กก./ไร่ และน้ำหนักเมล็ด 577.30 กก./ไร่) นอกจากนี้ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้มาตรการอนุรักษ์ดินมีผลให้ความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ของดิน ปริมาณอินทรียวัตถุและความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชของดินหลังปลูกสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาต้นทุน พบว่า การปลูกถั่วเขียวและแถบหญ้าแฝกให้ผลตอบแทนสูงที่สุด (3,333.58 บาท/ไร่) ขณะที่กรรมวิธีที่ไม่มีการอนุรักษ์ดินให้ผลตอบแทนต่ำที่สุด (2,199.28 บาท/ไร่)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมวิชาการเกษตร. 2553. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กลุ่มอนุรักษ์ดินและน้ำ. 2544. นิยามและทางเลือกมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ. กองอนุรักษ์ดินและน้ำ. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2560. ภูมิอากาศจังหวัดลพบุรี. สถานีอุตุนิยมวิทยาลพบุรี(บัวชุม). ลพบุรี.

จักรดุลย์ ศรีนนท์ และ วิรัชชัย น้อยเอี่ยม. 2557. การประเมินการสูญเสียดินบนพื้นที่ปลูกข้าวไร่ ด้วยสมการการสูญเสียดินสากล อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ชื่นจิตร แก้วกัญญา, อดิสร ยุบลวัฒน์, เอกราช มุกธวัตร, สุนิสา ผลผลฤทธิ์ และ อรทัย ยนต์พิมพ์. 2561. อิทธิพลของการปลูกพืชแซมต่อประสิทธิภาพของข้าวโพดและถั่วพุ่มที่ปลูกบนดินลูกรัง. แก่นเกษตร. 46: 405-411.

ธวัชชัย ณ นคร และประทีป วีระพัฒนนิรันทร์. 2536. การจัดการและอนุรักษ์ดินและน้ำในระดับไร่นา. น. 102-116. รายงานวิจัยประจำปี. กรมวิชาการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์. 2556. บทบาทของราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาต่อพืช ดิน และสิ่งแวดล้อม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2: 91-101.

ภัทรา ประเสริฐสมบัติ, ศุภิฌา ธนะจิตต์, สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม, และเอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2554. ผลของการไถพรวนต่อสมบัติดิน และผลผลิตข้าวโพดที่ปลูกบนดินชุดดินวาริน. แก่นเกษตร. 39: 13-24.

ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา, ชัยสิทธิ์ ทองจู และ แสงดาว เขาแก้ว. 2559. มลพิษทางดิน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สยุมภู เพ็ชรมาก, เสาวนุช ถาวรพฤกษ์ และ ณัฐพล จิตมาตย์. 2557. ผลของการปลูกพืชเชิงเดี่ยวต่อการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพดินในพื้นที่ลาดชันในแปลงทดลองโดยใช้ดัชนีผลิตภาพดินดัดแปลง (MPI). วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 32: 18 –26.

สุจิตตรา พูนสวัสดิ์. 2560. เอกสารวิชาการ เรื่อง “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์”. สำนักกรรมาธิการ 1 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2560. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2561. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร ปัจจัยการผลิต. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/view/1/ปัจจัยการผลิต/TH-TH. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2562

สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน. 2548. มหัศจรรย์พันธุ์ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ.

สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน. 2541. ความรู้เรื่องหญ้าแฝก. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ.

อรพรรณ ณ บางช้างและอิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์. 2551. โครงการการศึกษามาตรการทางสังคมในการจัดการปัญหาดินเสื่อมคุณภาพอย่างยั่งยืน 2551. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Ekasingh, B., P. Gypmantasiri, K. Thong-ngam and P. Grudloyma. 2004. Maize in Thailand: Production Systems, Constraints, and Research Priorities. Mexico, D.F.: CIMMYT.

Blake, G.R. and K.H. Hartge. 1986. Bulk density, pp. 363-382. In: A. Klute, ed. Methods of Soil Analysis, Part 1: Physical and Mineralogical Prop-erties. Agronomy, No. 9. Amer. Soc. of Agro. Inc., Madison, Wisconsin.

Bray, R.A. and L.T. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soil. Soil Sci. Soc. Am. J. 59: 39-45.

Cassel, D.K. and D.R. Nielsen. 1986. Field capacity and available water capacity, pp. 901-926. In: A. Klute, ed. Methods of Soil Analysis, Part 1: Physical and Mineralogical Method. Agronomy, No. 9. Amer. Soc. of Agro. Inc., Madison, Wisconsin.

Chapman, H.D. 1965. Cation Exchange Capacity. pp. 891-901. In: C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis, Part 2: Chemical and Microbio-logical Properties. Agronomy, No. 9. Amer. Soc. of Agro. Inc., Madison, Wisconsin.

Day, P.R. 1965. Particle fraction and particle size analysis, pp. 546-566. In: C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis, Part I. Agronomy No. 9. Amer. Soc. of Agron. Inc., Madison, Wisconsin.

Jackson, M.L. 1965. Soil Chemical Analysis - Advanced Course. Department of Soils, University of Wisconsin, Wisconsin.

Johnson, C.M. and A. Ulrich. 1959. Analytical methods for use in plant analysis. Calif. Agri. Exp. Stat. Bull. 767: 25-78.

Kilmer, V.J. and L.T. Alexander. 1949. Method of making mechanical analysis of soils. Soil Sci. Soc. Am. J. 68: 15-24.

Klute, A. 1965. Laboratory measurement of hydraulic conductivity of saturated soils, pp. 210- 220. In: C.A. Black, ed. Methods of Soil Analysis, Part l. Physical and Mineralogical Properties. Agronomy, No. 9. Amer. Soc. Agron. Inc., Madison, Wisconsin, USA.

Lima, P.L.T., M.L.N. Silva, N. Curi, and J. Quinton. 2014. Soil loss by water erosion in areas under maize and jack beans inter-cropped and monocultures. Ciênc. Agrotec. 38: 129-139.

National Soil Survey Center. 1996. Soil survey laboratory methods manual. Soil Survey Investigation Report No. 42, Version 3.0, Nat-ural Resource Conservation Service, USDA, Wisconsin.

Pratt, P.E. 1965. Potassium. pp. 1023-1031. In: C.A. Black, ed. Method of Soil Analysis, Part II: Chemical and Microbiological Prop-erties, Agronomy, No. 9. Amer. Soc. Agro. Inc., Madison, Wisconsin.

Rhoades, J.D. 1996. Salinity: Electrical conductivity and total dissolved solids, pp. 417-435. In: R.L. Sparks, ed. Methods of Soil Analysis, Part 3. Chemical Methods, Amer. Soc. Agro. Inc., Madison, Wisconsin.

Smith, S.E. and D.J. Read.1997. Mycorrhizal Symbiosis. 2nd ed., Academic Press, London.

Takim, F.O. 2012. Advantages of maize-cowpea intercropping over sole cropping through competition indices. J. of Agriculture and Biodiversity Research. 1: 53-58.

Tarawali, G. and E.T. Pamo.1992. A case for on-farm trials of fodder banks on the Adamawa Plateau in Cameroon. Exp. Agri. 28: 229-235.

Walkley, A. and C.A. Black. 1934. An examination of Degtijreff method for determining soil organic matter and proposed modifica-tion of the chromic acid titration method. Soil Sci. Soc.Am. J. 37: 29-35.