ผลการเสริมผงเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana L.) ในอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการผลิต องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อ

Main Article Content

จินดา กลิ่นอุบล
ชวลิต ศิริบูรณ์
อินทร์ ศาลางาม
มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี
นิราภรณ์ ชัยวัง
ธนาพร บุญมี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมผงเปลือกมังคุดในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อไก่เนื้อ การทดลองครั้งนี้ใช้ไก่เนื้อพันธุ์ Arbor Acres อายุ 1 วัน แบบคละเพศ จำนวน 128 ตัว แบ่งออกโดยสุ่มเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ให้ไก่ได้รับอาหารทดลองดังนี้ กลุ่มที่ 1 อาหารพื้นฐานเสริมยากันบิด 50 ppm (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 อาหารพื้นฐานเสริมผงเปลือกมังคุดระดับ 1, 3 และ 5% ตามลำดับ ทดลองเป็นเวลา 28 วัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มที่เสริมผงเปลือกมังคุดระดับ 1% มีน้ำหนักตัวเพิ่ม อัตราการเจริญเติบโตต่อตัวต่อวัน และอัตราแลกน้ำหนักดีกว่าการเสริมที่ระดับ 3 และ 5% (P<0.05) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P>0.05) การเสริมผงเปลือกมังคุดทุกระดับ (1-5%) ส่งผลให้น้ำหนักมีชีวิตและปริมาณไขมันในเนื้ออกลดลง ในขณะที่ปริมาณโปรตีนในเนื้ออกมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (P<0.05) การเสริมเปลือกมังคุดที่ระดับ 5% ทำให้ค่าการสูญเสียน้ำจากการเก็บรักษาและค่าแรงตัดผ่านเนื้อสูงกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่เสริมระดับ 1-3% (P<0.05) อย่างไรก็ตามการเสริมผงเปลือกมังคุดไม่ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์ซาก องค์ประกอบของซาก และคุณภาพเนื้อ ดังนั้นการเสริมผงเปลือกมังคุดในอาหารไก่เนื้อระดับ 1% เพิ่มน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อตัวต่อวัน อัตราแลกน้ำหนัก เพิ่มดัชนีประสิทธิภาพการผลิต ปริมาณโปรตีนและปริมาณไขมันในเนื้อส่วนอก

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กัญญาภัค อุตรินทร์. 2553. ผลการเสริมใบฝรั่งและเปลือกมังคุดผงในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซาก และการควบคุมโรคบิดในไก่เนื้อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัยณรงค์ คันธพนิต. 2529. วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์. สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช, กรุงเทพฯ.

นพ ศักดิเศรษฐ์ และ สมพร ณ นคร. 2545. มังคุด (Mangosteen). โรงพิมพ์รำไทย เพรส, กรุงเทพฯ.

นิธิมา ตติยอภิรดี, เชิญพร นาวานุเคราะห์, วรัญญา จตุพรประเสริฐ และกนกวรรณ จารุกาจร. 2561. การหาปริมาณแอลฟาแมงโกสทินในสารสกัดเปลือกมังคุดและสมรรถภาพการต้านออกซิแดนท์ในหลอดทดลองของสารสกัด. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 14(2): 83-93.

นิราภรณ์ ชัยวัง, ณัฐวุฒิ ครุฑไทย, วัชรพงษ์ วัฒนกุล, ทิตา สุนทรวิภาต, จินดา กลิ่นอุบล และธนาพร บุญมี. 2562. ผลของการเสริมใบเมี่ยงต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพซากของไก่เนื้อ. วารสารแก่นเกษตร. 47(2): 335-340.

มณีรัตน์ รัตนผล และนิพนธ์ รัตนผล. 2551. ผลของการเสริมใบฝรั่งและสารสกัดใบฝรั่งต่อสมรรถภาพการผลิตและควบคุมโรคบิดในไก่เนื้อ. น. 234- 242. ใน: ประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกําแพงแสน ครั้งที่ 5. 8-9 ธันวาคม 2551มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, จังหวัดนครปฐม.

มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี, วรางคณา กิจพิพิธ, จิรัฎฐวัฒน์ ศรีอ่อนเลิศ, ศักดา ประจักษ์บุญเจษฎา, ชวลิต ผึ้งปฐมภรณ์, ศราวุธ ม่วงเผือก, เอกกมล กมลลาภวรกุล และ เสาวภา เขียนงาม. 2561. การเสริม Bacillus sp. ผสมหลายชนิดในน้ำดื่มของไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการผลิตลักษณะซาก คุณภาพเนื้อ คอเลสเตอรอลและกรดไขมันในเนื้อ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37(2): 191-201.

มนต์ชัย ดวงจินดา. 2544. การใช้โปรแกรม SAS เพื่อวิเคราะห์งานวิจัยทางสัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.

วิศิษย์ เกตุปัญญาพงศ์. 2550. การใช้สมุนไพรเพื่อลดสารตกค้างอันตรายในเนื้อสัตว์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 2(1): 82-94.

ศรีสุดา สุทธิมั่น. 2549. การเสริมพริกป่นและเปลือกมังคุดป่นในอาหาร ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพซาก และการควบคุมโรคบิดในไก่เนื้อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สัญชัย จตุรสิทธา. 2550. การจัดการเนื้อสัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์มิ่งเมือง, เชียงใหม่.

สัญชัย จตุรสิทธา. 2555. เทคโนโลยีเนื้อสัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์มิ่งเมือง, เชียงใหม่.

อุมาพร แพทย์ศาสตร์ และโอภาส พิมพา. 2560. รายงานวิจัยการเสริมสารสกัดหยาบจากเปลือกมังคุดในอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพเนื้อไก่. สุราษฎร์ธานี : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี.

อุมาพร แพทย์ศาสตร์. 2562. ผลของการเสริมผลมังเคร่ในน้ำดื่มต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต คุณภาพซากและเนื้อของไก่เนื้อ. วารสารแก่นเกษตร. 47(1): 769-774.

อรุษา เชาวนลิขิต และอรัญญา มิ่งเมือง. 2550. ปริมาณแอนโธไซยานินและปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดของมังคุดและน้ำมังคุด. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว. 23(1): 68-78.

AOAC. 1990. Official Methods of Analysis of the Association of Official Analysis Chemists. 15th ed. Washington, D.C.: Association of Official Analytical Chemists, Inc.

Chomnawang, M., S. Surassmo, V. Nukoolkarn, and W. Gritsanapan. 2007. The effects of Garcinia mangostana on inflammation caused by Propionibacterium acnes. Fitoterapia. 78(2): 401-408.

Ele, J.J.G., J.R. Migalbin, E.G. Sepelagio, V.B. Jimenez, and P.G.F. Lacia. 2018. Immune response of broiler chickens fed diets with different levels of mangosteen (Garcinia mangostana Linn.) rind powder. Asia Pacific Journal of Multidisciplinary Research. 6(2): 35-44.

Farhadi, D., and S.M. Hosseini. 2016. Evaluation of growth performance, carcass characteristics, litter quality and foot lesions of broilers reared under high stocking densities. Iranian Journal of Applied Animal Sciences. 6: 187-194.

Hidanah, S., H.S. Warsito, T. Nurhajati, P.W. Lokapirnasari, and A. Malik. 2017. Effects of mangosteen peel (Garcinia mangostana) and ginger rhizome (Curcuma xanthorrhiza) on the performance and cholesterol levels of heat-stressed broiler chickens. Pakistan Journal of Nutrition. 16(1): 28-32.

NRC. 1994. Nutrient Requirements of poultry. 9th ed., National Academy press Washington, D.C.

Park, H., P.A. Seib, and O.K. Chung. 1997. Fortifying bread with a mixture of wheat fiber and psyllium husk fiber plus three antioxidants. Cereal Chemistry. 74(3): 207-211.

Rossell, J.B. 1994. Measurement of Rancidity. In: Rancidity in Foods. J.C Allen. and R.J. Hamilton (eds) Blackie Academic and Professional, London, UK.

Scheffler, T.L., and D.E. Gerrard. 2007. Mechanisms controlling pork quality development: The biochemistry controlling postmortem energy metabolism. Meat Science. 77: 7-16.

Siska F, M. Sinta, and D. Z. Supadmo. 2014. The effect of mangosteen (Garcinia mangostana) pericarp meal as feed additive on growth and carcass production of broiler chicken. Buletin Peternakan. 38(2): 83-89.

Smith, E.R., and G.M. Pesti. 1998. Influence of broiler strain cross and dietary protein on performance of broilers. Poultry Science. 77: 276-281.

Widjastuti, T., Abun, R., Wiradimadja, H. Setiyatwan, and D. Rusmana. 2018. The effect of ration containing mangosteen peel meal (Garcinia mangostana) on final body weight, carcass composition and cholesterol content of Sentul chicken, pp 1-5. In Proceeding of the 3rd International Conference of Integrated Intellectual Community. 28th- 29th April 2018. Hannover, Germany.

Warriss, P.D. 2010. Meat science: An introductory text. 2nd Edition. CABI Publishing, Oxford.