การให้ผลผลิต และคุณภาพไข่ไก่ที่เลี้ยงด้วยอาหารข้นผสมด้วยโปรตีนสกัดจากต้นอัญชัน

Main Article Content

จินตนา สุวรรณมณี
ศุภชัย ศรีธิวงค์
ณัฐวุฒิ ครุฑไทย
นิราภรณ์ ชัยวัง
กุลิสรา มรุปัณฑ์ธร
วัชรพงษ์ วัฒนกูล

บทคัดย่อ

การทดลองมีวัตถุประสงค์ศึกษาผลการผสมสารสกัดจากต้นอัญชันในอาหารไก่ไข่ สารสกัดจากต้นอัญชัน เตรียมโดยนำอัญชันทั้งต้นและใบมาสับบดกับน้ำ คั้นน้ำ และอุ่นที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ได้ตะกอนโปรตีนจับตัวกับไขมันลอยตัวบนผิวน้ำ รวบรวมตะกอนไปอบแห้งได้เป็นสารสกัดจากต้นอัญชัน (Butterfly Pea Plant Extract, BPPE) ซึ่งมีโปรตีน 45.1% และไขมัน 11.5% การทดลองเลี้ยงไก่ไข่โดยผสมในอาหารข้น 0, 0.5, 1.0, และ 1.5% เลี้ยงไก่จำนวน 80 ตัวแบ่งเป็น 4 กลุ่มๆละ 4 ซ้ำ โดยใช้ไก่ 5 ตัวต่อ 1 หน่วยทดลอง ใช้แผนการทดลอง completely randomized design (CRD) ระยะเวลาทดลอง 2 เดือน พบว่า ไก่ทุกกลุ่มกินอาหารไม่แตกต่างกัน คือ 84-93 กรัมต่อตัวต่อวัน มีเปอร์เซ็นต์การไข่ไม่แตกต่างกันคือ 63-74 % มีดัชนีรูปร่างไข่ 76-77 % มีดัชนีคุณภาพภายในไข่ (Haugh unit) 75-84 % (P>0.05) ความเข้มข้นของอัลบูมินวัดจากค่าการทรงตัวของไข่ขาวเมื่อวางบนพื้นราบ พบว่า ค่าการทรงตัวของไข่จากไก่ที่ได้รับอาหารผสม BPPE ที่ระดับ 1.5 % สูงกว่าไข่จากไก่ที่ได้รับอาหารไม่ผสม BPPE (P<0.05) รวมทั้งโปรตีนในไข่ขาวรวมไข่แดงจากไก่ที่ได้รับอาหารผสม BPPE มีค่าสูงกว่าไข่จากกลุ่มได้รับอาหารไม่ผสม BPPE เช่นเดียวกัน  สารสกัดจากต้นอัญชันจึงสามารถใช้ผสมในสูตรอาหารไก่ไข่ได้ถึง 1.5 % และยังสามารถเพิ่มสีของไข่แดงได้ดี


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

คัธรียา มะลิวัลย์ และกานต์ สุขสุแพทย์. 2560. ผลการเสริมฟ้าทะลายโจรในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตไข่และคุณภาพฟองไข่. คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. แหล่งข้อมูล: http://www.lib. ku.ac.th/KUCONF/2559/ KC5302018.pdf. ค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2563.

จินตนา สุวรรณมณี. 2557. การใช้ต้นอันชันสกัดเข้มข้นเป็นอาหารเสริมสำหรับไก่เนื้อ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่.

จินตนา สุวรรณมณี และ ศุภชัย ศรีธิวงค์. 2561. ผลของการเสริมสารสกัดอัญชันในอาหารไก่ไข่. รายงานการประชุมวิชาการ พฤษศาสตร์

พื้นบ้าน ครั้งที่ 2 “พฤษศาสตร์พื้นบ้าน รากฐานการพัฒนา สู่นวัตกรรมและความยั่งยืน”. แหล่งข้อมูล:http://web2.mfu.ac.th/conferences/ebtc2/wp-content/uploads/2018/07/EBTC2-Proceedings.pdf. ค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2563.

เจนณรงค์ คำมงคุณ, เฉลิมพล บุญเจือ, ชูศักดิ์ ประภาสวัสดิ์ และอำนวย เลี้ยวธารากุล. 2557. ผลของพันธุ์ อุณหภูมิ และระยะเวลาการเก็บต่อคุณภาพไข่ไก่. แก่นเกษตร. 42: 223-229.

วิณากร ที่รัก, รัญจวน อิสรรักษ์, ธนศักดิ์ ศรีขวัญ และอภิวัฒน์ ชมเชย. 2560. การใช้ใบกล้วยน้ำว้าในอาหารเลี้ยงไก่ไข่. การประชุม วิชาการระดับชาติ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีวิชาการ 2017 วิจัยจากองค์ความรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” แหล่งข้อมูล: http://dspace. bru. ac.th/xmlui/bitstream/handl. ค้นเมื่อ 26 กันยายน 2563.

ศูนย์ชั่งตวงวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่). 2560. มาตรฐานขนาดของไข่ไก่, แหล่งข้อมูล: http://www.nwmc.go.th/egg.html. ค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2563.

สำนักพัฒนาอาหารสัตว์. 2561 กรมปศุสัตว์. ถั่วอาหารสัตว์. แหล่งข้อมูล: http://nutrition.dld.go.th/nutrition/index.php/using-joomla. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563.

สมคิด พรหมมา. 2550. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาเทคโนโลยีอาหารสัตว์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Adjei, M.B., and F.K. Fianu.1985. The Effect of Cutting Interval on the Yield and Nutritive Value of some Tropical Legumes on the coastal Grassland of Ghana. Tropical Grasslands. 19: 164-171.

AOAC. 1990. Official Methods of Analysis. 15th ed. Washington D.C.: Association of Official Analytical Chemists.

Balakrishnan, B., J. Ayyavoo, P. Sadayan, and A. Abimannan. 2013. Evaluation of Antioxidant Activity of Clitoria ternatea and Alternan therasessilis Plant Extracts Using Model System for Yeast Cells. Australian Journal of Basic and Applied Sciences. 5: 134-138.

Bouyeh, M. 2011. Influence of different levels of lysine,methionine and protein on the performance of laying hens after peak. Journal of Animal and Veterinary Advances. 10(4): 532-537.

National Research Council. 1994. Nutrient Requirements of Poultry. 9thed. Washington, D. C.: National Academy Press.

Sivaprabha, J., S. Supriya, S. Sumathi, P.R. Padma, R. Nirmala devi, and P. Radha. 2008. A study on the levels of nonenzymic antioxidants in the leaves and flowers of Clitoria ternatea. Research Gate. 17: 28-32.

Talek, L.1983. Leaf Protein Extraction from tropical plants. pp. 78-110. In: J.C.Holmes. Proceedings of OTA Workshop Staff on Plants on the potential for extracting protein, medicines, and other useful chemicals.

September, 1983. Congress Office of Technology Assessment. Washington, D.C. USA.

USDA. 2000. Egg- Grading manual. Agricultural handbook number 75. Rev. July 2000.United States Department of Agriculture.Washington, D.C.

Virabalin, R., B. Kositsup, and H. Punnapayak. 1993. Leaf Protein Concentrate from Water Hyacinth. Journal of Aquatic Plant Manage. 31: 207-209.