การสำรวจและประเมินความรุนแรงโรคราที่สำคัญของยูคาลิปตัส (Eucalyptus spp.) ในระบบการผลิตต้นกล้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการสำรวจและประเมินความรุนแรงโรคราที่สำคัญของต้นกล้ายูคาลิปตัส ในระบบการผลิตภายใต้สภาพเรือนเพาะชำของบริษัทสยามฟอเรสทรี จำกัด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ช่วงเดือนมีนาคม–กันยายน พ.ศ. 2561 จากต้นกล้าจำนวน 7 โคลน (H4, H26, H28, H32, H36, H38 และ P6) ของปีการผลิต ซึ่ง 3 ลักษณะอาการโรคที่พบเสมอ ได้แก่ ใบไหม้ (leaf blight) ใบจุด (leaf spot) และไหม้จากยอด (dieback) เมื่อประเมินความรุนแรงของโรคใบไหม้และใบจุดจากดรรชนีความรุนแรงของโรค (disease severity index, DSI) โรคไหม้จากยอดจากเปอร์เซ็นต์การเป็นโรค (disease incidence, DI) ในทุกเดือนๆละครั้ง พบว่ามี DSI และ DI ต่ำที่สุดในเดือนมีนาคม (9.56, 10.55 และ 1.50% ตามลำดับ) ส่วนอาการใบไหม้และไหม้จากยอดมีค่าเฉลี่ยดังกล่าวมากที่สุดในเดือนกันยายน (20.70 และ 28.39% ตามลำดับ) ขณะที่ DSI ของอาการใบจุดมีค่ามากที่สุดในเดือนสิงหาคม (21.50) สำหรับโคลนที่มีค่าเฉลี่ย DSI และ DI น้อยที่สุดในทุกลักษณะอาการ ได้แก่ โคลน P6 แต่โคลน H32 มีค่าประเมินมากที่สุดในอาการใบไหม้ (18.30) และไหม้จากยอด (22.35%) โดยโคลน H28 อาการใบจุดมีค่ามากที่สุด (19.67) ขณะที่ในการแยกเชื้อราสาเหตุโรคจากตัวอย่างต้นกล้ายูคาลิปตัสนั้น สามารถแยกเชื้อบริสุทธิ์ได้ 61 ไอโซเลต เมื่อนำไปทดสอบความสามารถในการทำให้เกิดโรคภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการ พบว่ามีจำนวน 58 ไอโซเลตเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการโรคกับใบยูคาลิปตัสที่ทดสอบด้วยวิธีการเด็ดใบ (detached leaf) และได้คัดเลือกไอโซเลตเชื้อราที่แสดงอาการรุนแรง 10 อันดับแรก ไปทดสอบความสามารถในการทำให้เกิดโรคกับต้นกล้ายูคาลิปตัสโคลน H4 ในเรือนทดลอง พบว่าเชื้อทุกไอโซเลตก่อให้เกิดโรคบนใบได้ โดยไอโซเลต 39DBH32 ที่ทำให้เกิดแผลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 3.23 ซม.) ส่วนไอโซเลต 37LBH38 ทำให้เกิดแผลที่มีขนาดเล็กที่สุด (เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 0.40 ซม.) สำหรับการบ่งชี้ในระดับสกุล (genus) จากลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อ 58 ไอโซเลตนี้นั้น สามารถบ่งชี้เชื้อราได้ 4 สกุล ได้แก่ Coniella sp., Pestalotiopsis sp., Cylindrocladium sp. และ Curvularia sp.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษฎา โพธิ์เรืองเดช. 2557. โรคของยูคาลิปตัสในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยและการป้องกันกำจัดโรคที่สำคัญ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาโรคพืชวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
กฤษณา พงษ์พานิช จันจิรา อายะวงศ์ วินันทิดา หิมะมาน กิตติมา ด้วงแค และ บารมี สกลรัตน์. 2553. โรคยูคาลิปตัสในประเทศไทย. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ฯ, กรุงเทพมหานคร.
วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์. 2560. ราปฏิปักษ์สำหรับควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี. หจก. คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.
วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ พัฒนา ชมพูวิเศษ รื่นเริง สินน้ำพอง มนัสวี สุริยวนากุล ปุญญิศา ชารีรักษ์ กฤษฎา โพธิ์เรืองเดช และ อารยา ชารีรักษ์. 2556. การทดสอบสารเคมีในการควบคุมเชื้อรา Cylindrocladium sp. สาเหตุโรคใบจุดของยูคาลิปตัส. แก่นเกษตร. 41(ฉบับพิเศษ 1): 543–548.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. ยูคาลิปตัส. แหล่งข้อมูล: http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant/rortor/perennial/euca.pdf. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2561.
สำนักงานส่งเสริมการปลูกป่า กรมป่าไม้. 2556. ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส. แหล่งข้อมูล: http://forestinfo.forest.go.th/pfd/Files/FileEBook/EB5.pdf. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2561.
อัฐภรณ์ พันยา. 2559. โรคของยูคาลิปตัสในระบบการผลิตต้นกล้าและการป้องกันกำจัด. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาโรคพืชวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
Brown, B. N. 2000. Diseases and fungi of the reproductive structure of eucalypts, P. 103–118. In: Keane, P. J., G. A. Kile, F. D. Podger, and B. N. Brown (eds.). Diseases and pathogens of eucalypts. CSIRO Publishing: Collingwood.
Brown, B. N., and F. A. Ferreira. 2000. Disease during propagation of eucalypts, P. 119–152. In: Keane, P. J., G. A. Kile, F. D. Podger, and B. N. Brown (eds.), Diseases and pathogens of eucalypts. CSIRO Publishing: Collingwood.
Lui, G., R. Kennedy, D. L. Greenshields, G. Peng, L. Forseille, G. Selvaroj, and Y. Wei. 2007. Detached and attached Arabidopsis leaf assays reveal distinctive defense responses against hemibiotrophic Colletotrichum spp. Molecular Plant-Microbe Interactions. 20(10): 1308 – 1319.
Old, K., M. J. Wingfield, and Z. Q. Yuan. 2003. A manual of diseases of eucalypts in south–east asia. Center for International Forestry Research. Jakarta.
Suksiri, S., P. Laipasu, K. Soytong, and S. Poeaim. 2018. Isolation and identification of Phytophthora sp. and Pythium sp. from durian orchard in Chumphon province, Thailand. International Journal of Agricultural Technology. 14(3): 389–402.
Wardlaw, T. J., G. A. Kile, and J. C. Dianese. 2000. Diseases of eucalypts associated with viruses, phytoplasmas, bacteria and nematodes, P. 339–352. In: Keane, P. J., G. A. Kile, F. D. Podger, and B. N. Brown (eds.), Diseases and pathogens of eucalypts. CSIRO Publishing: Collingwood.