คุณภาพผักสลัดส่วนรับประทานได้ที่ปลูกในชนิดดินต่างกันภายใต้การใช้วัสดุอินทรีย์ ปรับปรุงดิน

Main Article Content

จุฑามาศ แก้วมโน
พิชญา อินทฤทธิ์
อัจฉรา เพ็งหนู

บทคัดย่อ

สมบัติดินปลูกมีอิทธิพลต่อปริมาณและการดูดใช้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ของพืช โดยเฉพาะดินเนื้อหยาบและ
เนื้อละเอียดมักมีสมบัติทางกายภาพไม่ส่งเสริมต่อการเจริญเติบโตของพืช ส่งผลต่อคุณภาพผลผลิตของพืช จึงต้องมีการปรับปรุงดินก่อนปลูก การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดดินที่ปรับปรุงด้วยวัสดุอินทรีย์ต่อคุณภาพส่วนที่รับประทานได้ของผักสลัด โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 6 ตำรับการทดลอง ปลูกผักสลัดกรีนโอ๊คในชุดดินบ้านทอน ชุดดินอ่าวลึก และชุดดินระโนดที่ปรับปรุงด้วยมูลวัวและมูลไก่ ผลการศึกษา พบว่า ผักสลัดที่ปลูกในดินต่างชนิดกันและปรับปรุงด้วยวัสดุอินทรีย์ต่างกันมีปริมาณฟอสฟอรัสและเหล็กในส่วนที่รับประทานได้แตกต่างกัน แต่มีปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี และไนเทรตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยผักสลัดในชุดดินบ้านทอนและตำรับชุดดินระโนดที่ใช้มูลไก่มีปริมาณฟอสฟอรัสระดับสูง และตำรับชุดดินระโนดที่ใช้มูลไก่มีปริมาณเหล็กต่ำ ผักสลัดในทุกตำรับมีปริมาณโพแทสเซียมระดับสูงยกเว้นตำรับชุดดินบ้านทอนที่ใช้มูลไก่ และมีปริมาณไนเทรตต่ำ และผักสลัดที่ปลูกในดินทุกชนิดมีปริมาณวิตามินซีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่การใช้วัสดุอินทรีย์ต่างชนิดกันมีผลต่อปริมาณวิตามินซีในผักสลัดอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น คุณภาพของผักสลัดที่ปลูกในดินทุกชนิดภายใต้การปรับปรุงด้วยวัสดุอินทรีย์ขึ้นอยู่กับสมบัติของดินปลูกซึ่งมีบทบาทในการควบคุมสมดุลและความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน การเลือกใช้วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินสามารถเพิ่มคุณภาพของผักสลัด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรรณิกา จ้าเสียง. 2555. ปริมาณไนเตรทที่ตกค้างในผักสลัด (Green oak). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

จำเป็น อ่อนทอง, ณัฐพงศ์ เยาว์จุ้ย, และจักรกฤษณ์ พูนภักดี. 2556. คู่มือการวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์. ภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

จำเป็น อ่อนทอง และจักรกฤษณ์ พูนภักดี. 2557. คู่มือการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาธรณีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

พิชญ์สินี เพชรไทย และธรรมศักดิ์ ทองเกตุ. 2560. ผลของความเข้มแสงและระยะเวลารับแสงต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผักกาดหอม. Songklanakarin Journal of Plant Science. 3: 54-59.

มัตติกา พนมธรนิจกุล. 2547. การจัดการดินและน้ำเพื่อระบบการเกษตรที่ยั่งยืน. ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

มุกดา สุขสวัสดิ์. 2544. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. สำนักพิมพ์โอเดียนวสโตร์, กรุงเทพฯ.

ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์, และชวลิต ฮงประยูร. 2554. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2558. ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

รฐนนท์ เจริญชาศรี. 2549. ลักษณะรอยพิมพ์ประจุของดินออกซิซอลส์ที่มีสีแดงในประเทศไทย.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วารินทร์ ใจวิเสน และดนัย บุญยเกียรติ. 2551. คุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมพันธุ์กรีนโอ๊คลีฟที่ปลูกในระบบ
ไฮโดรโพนิกส์. วารสารเกษตร. 24: 51-57.

อรประภา อนุกลูประเสริฐ และภาณุมาศ ฤทธิไชย. 2558. ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการให้ผลผลิตและคุณภาพของผักกาดหอม. Thai Journal of Science and Technology. 1: 81-94.

อัจฉรา เพ็งหนู, จุฑามาศ แก้วมโน, สิริรัตน์ เกียรติปฐมชัย, กลอยใจ สำเร็จวาณิชย์ และพันธทิพย์ จุลวรรณโณ. 2559. การผลิตผักไฮโดรโพนิกส์ปลอดภัยโดยชีววิธี. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพ.

อัญชลี สุทธิประการ. 2553. แร่ในอนุภาคขนาดดินเหนียวของดินเขตร้อน. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เอิบ เขียวรื่นรมณ์. 2533. ดินของประเทศไทย: ลักษณะ การแจกกระจาย และการใช้. ภาควิชาปฐพีวิทยาคณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Asami, D. K., Y. J. Hong, D. M. Barrett, and A. E. Mitchell. 2003. Comparison of the total phenolic and ascorbic acid content of freeze-dried and air-dried marionberry, strawberry, and corn grown using conventional, organic, and sustainable agricultural practices. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 51: 1237-1241.

Bandyopadhyay, K. K., A. K. Misra, P. K. Ghosh, and K. M. Hati. 2010. Effect of integrated use of farmyard manure and chemical fertilizers on soil physical properties and productivity of soybean. Soil and Tillage research. 110: 115-125.

Baslam, M., F. Morales, I. Garmendia, and N. Goicoechea. 2013. Nutrient quality of outer and inner leaves of green and red pigmented lettuces (Lactuca sativa L.) consumed as salads. Scientia Horticulturae. 151: 103-111.

BLOM-ZANDSTRA, M. A. R. G. A. R. E. T. H. A. 1989. Nitrate accumulation in vegetables and its relationship to quality. Annals of Applied Biology. 115: 553-561.

Brady, N.C. and R.R. Weil. 2008. The Nature and Properties of Soils. Pearson Prentice Hall, New Jersey.
Cataldo, D.A., M. Haroon, L.E. Schrader, and V.L. Youngs. 1975. Rapid Colorimetric determination of nitrate in plant tissue by nitration of salicylic acid. Commun Soil Science and Plant Analysis. 6: 71-80.

Chen, M., S. Mao, and Y. Liu. 2014. Big data: A survey. Mobile networks and applications. 19: 171-209.

Cruz, F. J. R., R. de Mello Prado., G. Felisberto, Á. S. Santos, and R. F. Barreto. 2019. Potassium nutrition in fruits and vegetables and food safety through hydroponic system. P.23-44. In: M. Asaduzzaman and T. Asao. Improvement of Quality in Fruits and Vegetables Through Hydroponic Nutrient Management. IntechOpen, Croatia.

European Commission Regulation 1881/2006. 2006. Setting maximum levels for certain contaminants in foodstuffs: Official Journal of the European Union. Available: https://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/ LexUriServ.do?uri=OJ:L:2006:364:0005:0024:EN:PDF. Accessed 6 June 2020.

Fageria, N.K. 2001. Nutrient interaction in crop plant. Journal of Plant Nutrition. 24: 1269-1290.

Fu, Y., H. Li, J. Yu, H. Liu, Z. Cao, N. S. Manukovsky, and H. Liu. 2017. Interaction effects of light intensity and nitrogen concentration on growth, photosynthetic characteristics and quality of lettuce (Lactuca sativa L.Var. youmaicai). Scientia Horticulturae. 214: 51-57.

Gorenjak, A.H., and A. Cencic. 2012. Nitrate in vegetables and their impact on human health: A review. Faculty of Agriculture and Life Sciences. University of Maribor. Pivola 10. 2311 Hoce. Slovenia. Acta Alimentaria. 42: 158-172.

Hazelton, P.A., and B.W. Murphy. 2007. Interpreting Soil Test Results: What do all the number mean?. CSIRO PUBLISHING, Australia.

Kim, M. J., Y. Moon, J. C. Tou, B. Mou, and N. L. Waterland. 2016. Nutritional value, bioactive compounds and health benefits of lettuce (Lactuca sativa L.). Journal of Food Composition and Analysis. 49: 19-34.

Kipkosgei, L. K., L. S. M. Akundabweni, and M. J. Hutchinson. 2003. The effect of farmyard manure and nitrogen fertilizer on vegetative growth, leaf yield and quality attributes of Solanum villosum (Black nightshade) in Keiyo district, rift valley. African Crop Science Conference Proceedings. 6: 514-518.

Klute, A. 1986. Methods of Soil Analysis: Part 1 Physical and Mineralogical Methods. American Society of Agronomy, Inc., Wisconsin.

Koudela, M., and K. Petrikova. 2008. Nutrients content and yield in selected cultivars of leaf lettuce (Lactuca sativa L. var. crispa). Horticultural Science. 35: 99-106.

Lakshanasomya N. 1998. Determination on vitamin C in some kinds of food by HPLC. Bulletin of the Department of Midical Sciences. 40: 347-357.

Lal, R., and M. K. Shukla. 2004. Principles of Soil Physics. P.22-23. Marcel Dekker. Inc, New York.

Mylavarapu, R. S., and G. M. Zinati. 2009. Improvement of soil properties using compost for optimum parsley production in sandy soils. Scientia horticulturae. 120: 426-430.

Pérez-López, U., J. Miranda-Apodaca, M. Lacuesta, A. Mena-Petite, and A. Muñoz-Rueda. 2015. Growth and nutritional quality improvement in two differently pigmented lettuce cultivars grown under elevated CO2 and/or salinity. Scientia Horticulturae. 195: 56-66.

Riga, P., L. Benedicto, A. Gil-Izquierdo, J. Collado-Gonzalez, F. Ferreres, and S. Medina. 2019. Diffuse light affects the contents of vitamin C, phenolic compounds and free amino acids in lettuce plants. Food Chemistry. 272: 227-234.

Santamaria, P. 2006. Review-Nitrate in vegetables: toxicity, content, intake and EC regulation. Journal of the Science of Food and Agriculture. 86: 10-17.

Shinohara, Y., and Y. Suzuki. 1988. Quality improvement of hydroponically grown leaf vegetables. In Symposium on High Technology in Protected Cultivation. 230: 279-286.

Surat, H., P. Watcharapon, N. Warangkana, K. Tanyaporn, and P. Tippawan. 2014. Determination of nitrate in the edible part of vegetables from markets around Chiang Mai City, Northern Thailand by using high performance liquid chromatography. Asian Journal of Agricultural Research. 8: 204-210.

Tani, A., S. Shina, K. Nakashima, and M. Hayashi. 2014. Improvement in lettuce growth by light diffusion under solar panels. Journal of Agricultural Meteorology. 70: 139-149.

Tawornpruek, S., I. Kheoruenromne, A. Suddhiprakarn, and R. J. Gilkes. 2006. Properties of red Oxisols on calcareous sedimentary rocks in Thailand. Geoderma. 136: 477-493.

Urbano, V. R., T. G. Mendonça, R. G. Bastos, and C. F. Souza. 2017. Effects of treated wastewater irrigation on soil properties and lettuce yield. Agricultural water management. 181: 108-115.

USDA. 2015. National Nutrient Database for Standard Reference Release 28. USDA, Washington D.C.

USDA. 2016. National Nutrient Database for Standard Reference Release 28. USDA, Washington D.C.

Voogt, W. 2002. Potassium management of vegetables under intensive growth conditions: Potassium for Sustainable Crop Production. Available: https://www.ipipotash.org/uploads/udocs/ Potassium%20Management%20of%20Vegetables.pdf. Accessed 8 September 2020.