ฤดูปลูกและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการผลิตข้าวพันธุ์ กข71 ในชุดดินบางน้ำเปรี้ยว

Main Article Content

ฐปรัฏฐ์ สีลอยอุ่นแก้ว
ณัฐศักดิ์ กฤติกาเมษ
แสงทิวา สุริยงค์
นพดารา ฟักประเสริฐ

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาฤดูกาลและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ข้าว กข71 ที่ปลูกในชุดดินบางน้ำเปรี้ยว ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ในช่วงฤดูนาปรัง (เดือนธันวาคม 2559 ถึงมีนาคม 2560) และฤดูนาปี (เดือนพฤษภาคม ถึงสิงหาคม 2560) วางแผนการทดลองแบบสปลิทพลอทแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค (Split plot in RCB) 3 ซ้ำ ประกอบด้วยปัจจัยหลักเป็นฤดูปลูก (นาปีและนาปรัง) และปัจจัยรองเป็นอัตราปุ๋ยจำนวน 7 กรรมวิธี ได้แก่ (1) 6-6-6; (2) 12-6-6; (3) 18-6-0; (4) 18-6-6; (5) 18-9-0 (6) 18-9-6; (7) 24-6-6 ผลการทดลองพบว่า ฤดูปลูกและอัตราปุ๋ยมีผลต่อความสูงของข้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ไม่มีผลต่อจำนวนหน่อ สูตรปุ๋ย 6-6-6 ทำให้ข้าวอายุ 45 วันมีค่าเฉลี่ยความสูงน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามปฏิสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองปัจจัยไม่มีผลต่อการความสูงและการแตกหน่อของข้าวในช่วงอายุ 15 และ 30 วัน แต่มีผลต่อข้าวอายุ 45 วันอย่างมีนัยสำคัญ ข้าวนาปรังที่ปลูกในปุ๋ยสูตร 6-6-6 มีจำนวนการเกิดหน่อต่ำกว่าอัตราอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญในขณะที่นาปีไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าฤดูปลูกมีผลต่อความยาวรวง เมล็ดต่อรวง และผลผลิตเมล็ดอย่างมีนัยสำคัญ โดยนาปีให้ผลผลิตเฉลี่ย 807.3 ซึ่งสูงกว่านาปรังที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 487 กิโลกรัม/ไร่ การใส่ปุ๋ยสูตร 18-9-6 ให้ผลผลิตข้าวนาปรังสูงสุด 542 กิโลกรัม/ไร่ และการใส่ปุ๋ยสูตร 18-9-0 ให้ผลผลิตข้าวนาปีสูงสุด 888 กิโลกรัม/ไร่

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมการข้าว. 2561. องค์ความรู้เรื่องข้าว. เอกสารวิชาการ กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กรุงเทพฯ.

กรมอุตุนิยมวิทยา. 2559. เอกสารวิชาการอุตุนิยมวิทยาน่ารู้เพื่อการเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา โดย ปรเมศร์ อมาตยกุล และเทวินทร์ โจมทา. ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา, กรุงเทพฯ.

กองปฐพีวิทยา 2543 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว รวบรวมและเรียบเรียงโดย นายประเสริฐ สองเมือง กลุ่มงานวิจัยความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยข้าวและธัญพืชเมืองหนาว กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ชวนชม ดีรัศมี อัจฉราพร ณ ลําปาง เนินพลับ วิไล ปาละวิสุทธิ์ วรรณกรณ์ อินทรสถิตย์ สุพัตราสุวรรณธาดา สอาง ไชยรินทร์ ดวงอร อริยพฤกษ์ ภมร ปัตตาวะตัง เจตน์ คชฤกษ์ พรสุรี กาญจนา ควพร พุ่มเชย เบญจวรรณ พลโคตร เปรมกมลมูลนิลตา สุมาลี สังข์เปรม สุรเดช ปาละวิสุทธิ์ ปัญญา ร่มเย็น มุ่งมาตร วังกะ ดวงกมล บุญช่วย ชัยรัตน์ จันทร์หนู ดวงพร วิธูรจิตต์ นริศรา จํารูญวงษ์ จัตุรงค์ พิพัฒน์ พิริยานนท์ นัยกร สงวนแก้ว วิภาวดี ชํานาญ พีระพล รัตนะ กุลชนา เกศสุวรรณ์ อังคณา กันทาจันทร์ สมใจ สาลีโท สุนิยม ตาปราบ วันทนา ศรีรัตนศักดิ์ วิชชุดา รัตนากาญจน์ และรัศมี ฐิติเกียรติพงศ์. 2561. ข้าวเจ้าพันธุ์ กข71 . วารสารวิชาการข้าว. 9(2): 5-24.

ฐปรัฏฐ์ สีลอยอุ่นแก้ว และอำพล กิมิเส. 2561. สมบัติดินและการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ปลูกข้าวชั้นพันธุ์คัดและพันธุ์หลัก ศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 30 : 17-26.

ณัฐสิมา โทขันธ์ ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย และอัจฉราพร สมภาร. 2560. การใช้น้ำเสียชุมชนเพื่อการเพาะปลูกข้าวเจ้าพันธุ์ กข31 (ปทุมธานี 80). วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 35 : 58-68

บุญหงส์ จงคิด ลือชัย อารยะรังสฤษฎิ์ และสถาพร จันทร์บัวทอง. 2547. ผลของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวสุพรรณบุรี 1. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 12 : 41-45

ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท. 2562. กข71. เอกสารวิชาการ ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท กองวิจัยและพัฒนาข้าว, กรมการข้าว. ชัยนาท.

สาระ สวัสดิ์โยธิน. 2552. ผลของปุ๋ยหินฟอสเฟสและปูนโดโลไมต์ต่อผลผลิตข้าวที่ปลูกในชุดดินร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. 2 : 57-67

สิริพร พูลเต็ม, สุมิตตา แสนจำหน่าย, คนึงนิจ เจียวพ่วง, นงภัทร ไชยชนะ และ ทิวา พาโคกทม. 2560. ผลของอัตราและชนิดปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวจาปอนิกา. แก่นเกษตร. 45(ฉบับพิเศษ 1): 176-181.

สุชาติ จิรพรเจริญ. 2546. เทคโนโลยีการผลิตและการใช้ปุ๋ยเพื่อการเกษตร. ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุชาวดี นาคะทัต 2555 การเก็บข้อมูลองค์ประกอบผลผลิต. เอกสารประกอบการฝึกอบรม ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี วันที่ 25-29 มิถุนายน 2555.

โสฬส แซ่ลิ้ม. 2559. อินทรียวัตถุและการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. กลุ่มวิจัยและพัฒนาการจัดการอินทรียวัตถุ กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน.

อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ สมชาย กรีฑาภิรมย์ สภาพ บูรณากาญจน์ วารุณี วารัญญานนท์ พัชรี ตั้งตระกูล ศิริชัย สมบูรณ์พงษ์ ทรงศักดิ์ รัฐปัตย์ สัมพันธ์ รัตนสุภา ปัญญา ร่มเย็น ทรงชัย วัฒนพายัพกุล กรรณิกา นากลาง สว่าง โรจนกุศล และพิทักษ์ พรอุไรสนิท. 2539. ผลของปุ๋ยไนโตรเจนต่อคุณภาพของเมล็ดข้าวขาวดอกมะลิ 105. วารสารเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ. 30: 458-474.

อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์. 2559. ผลของการจัดการปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินต่อผลผลิตและประสิทธิภาพการใช้ธาตุไนโตรเจนจากปุ๋ยของข้าวสุพรรณบุรี 1 ที่ปลูกในชุดดินวัฒนา. แก่นเกษตร. 44: 383-390.

เอิบ เขียวรื่นรมย์. 2547. คู่มือปฏิบัติการ การสำรวจดิน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

Davood, E. A., E. Anoosh, and H. Alireza. 2011. Evaluation of sink and source relationship in different rice (Oryza sativa L.) cultivars. Advances in Environmental Biology. 5: 912-919.

Kondo, M., and T. Okamura. 1931. The relationship between water temperature and growth of rice plant II. Agriculture and Horticulture. 6: 517-530.

Osada, A., H. Takahashi, S. Dhammanuvong, V. Sasiprapa, and S. Gunthararom. 1973. Seasonal changes in growth pattern of tropical rice. I. Environmental factors affecting plant height, tillering and leaf area. Japanese Journal of Crop Science. 42: 343-350.

Wang, F., F. M. Cheng, and G.P. Zhang. 2007. Difference in grain yield and quality among tillers in rice genotypes differing in tillering capacity. Rice Science. 14: 135–140.

Wang, Y., J. Lu, T. Ren, S. Hussain, C. Guo, S. Wang, R. Cong, and X. Li. 2017. Effects of nitrogen and tiller type on grain yield and physiological responses in rice. AoB PLANTS. 9: 1-17.

Zhang, Y., C. Yu, J. Lin, J. Liu, B. Liu, J. Wang, A. Huang, H. Li, and T. Zhao. 2017. OsMPH1 regulates plant height and improves grain yield in rice. PloS one. 12: 1-18.

Zhao, B. H., P. Wang, H. Zhang, Q. Zhu, and J. Yang. 2006. Source-sink and grain filling characteristics of two line hybrid rice yangliangyou 6. Rice Science. 13: 34-42.