การศึกษาปัจจัยการเจริญเติบโตของต้นยางนาโดยประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมในการปลูก

Main Article Content

เพ็ญประภา เพชระบูรณิน
คมคิด มูลเพีย

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยการเจริญเติบโตของต้นยางนาโดยประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกต้นยางนา ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ ครอบคลุมพื้นที่ 19.30 ล้านไร่ โดยแบ่งการศึกษาเป็นขั้นตอนแรก การนำปัจจัยสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน ปัจจัยสมบัติทางเคมีของดิน ปัจจัยภูมิอากาศด้านปริมาณน้ำฝน และปัจจัยด้านสภาพภูมิประเทศ ได้แก่ ระดับความสูง มาวิเคราะห์แบบซ้อนทับด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยใช้โปรแกรม ArcGIS ผลการศึกษาพบว่ามีพื้นที่ 4.09 ล้านไร่ อยู่ในแผนที่ระดับชั้นความเหมาะสมมาก พื้นที่ 4.24 ล้านไร่ อยู่ในแผนที่ระดับชั้นเหมาะสมปานกลาง พื้นที่ 9.74 ล้านไร่ อยู่ในแผนที่ระดับชั้นเหมาะสมน้อย และพื้นที่ 1.23 ล้านไร่ อยู่ในแผนที่ระดับชั้นไม่เหมาะสม ขั้นตอนที่สอง ทำการสุ่มสำรวจและเก็บข้อมูลไม้ยางนาที่มีอายุ 2 ปี โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 9 แปลง พบแปลงที่อยู่ในแผนที่ที่มีความเหมาะสมมาก 1 แปลง ความเหมาะสมปานกลาง 6 แปลง และมีความเหมาะสมน้อย 2 แปลงโดย มีค่าเฉลี่ยเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นไม้ที่ระดับสูงเพียงอกเท่ากับ 2.43 2.14 และ1.94  เซนติเมตร ตามลำดับ  นอกจากนี้พบว่า ต้นไม้มีความสูงเฉลี่ยเท่ากับ 2.92 2.59 และ2.48 เมตร ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยมวลชีวภาพเหนือพื้นดินเท่ากับ 1.52 1.06 และ 0.84 กิโลกรัม ตามลำดับ จากการศึกษาปัจจัยการเจริญเติบโตทั้ง 4 ปัจจัย เปรียบเทียบกับข้อมูลจากภาคสนามมีความสอดคล้องกันสามารถนำปัจจัยทั้ง 4 มาใช้กำหนดพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยางนาสร้างมวลชีวภาพซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน จึงเป็นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและเป็นการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2553. โครงการศึกษาลักษณะของพรรณไม้ ปริมาณการดูดซับก๊าซเรือนกระจกและขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้, กรุงเทพมหานคร.

นาถธิดา. 2559. ยางนา พืชอนุรักษ์ อพ.สธ., โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วนานันทอุทยาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2559. ยางนา. แหล่งข้อมูล: http://office.csc.ku.ac.th/woodland/index.php/2013-11-18-06-36-8/134-2014-02-17-07-32-25. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2561.

สำนักบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 9. 2546. คู่มือการปลูกยางนาในท้องที่รับผิดชอบสำนักบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 9 จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด. สำนักบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 9 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, อุบลราชธานี.

อุทิศ กุฏอินทร์. 2542. นิเวศวิทยาพื้นฐานเพื่อการป่าไม้. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เพ็ญประภา เพชระบูรณิน และคณะ. 2563. การประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินและศึกษาอิทธิพลของเรือน

ยอดของต้นยางนา ภายในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช สวนสัตว์อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี, วารสารวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Akihisa T, H. Tokuda, M. Ukiya, T. Suzuki, F. Enjo, K. Koike, T. Nikaido, and H. Nishino. 2004. 3-Epicabraleahydroxylactone and Other Triterpenoids from Camellia Oil and Their Inhibitory Effects on Epstein-Barr Virus Activation. Chemical and Pharmaceutical Bulletin. 52: 153-156.

IPCC. 2006. Greenhouse Gas Inventory Reference Manual. Cambridge University Press, Cambridge.

Joshi K. 2003. Leaf flavonoid patterns in Dipterocarpus and Hopea (Dipterocarpaceae. Botanical Journal of the Linnean Society. 143: 43-46.