การประเมินสายพันธุ์ก้าวหน้าข้าวก่ำไม่ไวต่อช่วงแสงรุ่นที่ 7 และ 8 ระหว่างข้าวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดและพันธุ์ปทุมธานี 1

Main Article Content

ชยานนท์ วงศ์พุฒิ
ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย
ต่อนภา ผุสดี
ศันสนีย์ จำจด

บทคัดย่อ

ข้าวเหนียวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดเป็นข้าวก่ำที่คัดเลือกจากพันธุ์พื้นเมืองในภาคเหนือ มีแอนโทไซยานินสูง มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ แต่มีข้อเสียคือผลผลิตต่ำ และปลูกได้เพียงปีละครั้ง เพื่อแก้ไขข้อเสียดังกล่าวและเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค กลุ่มวิจัยปรับปรุงพันธุ์ สาขาวิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ผสมพันธุ์และคัดเลือกลูกผสมระหว่างข้าวเหนียวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดและพันธุ์ปทุมธานี 1 ไว้และในส่วนของงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยต่อเนื่องโดยเป็นการประเมินและเปรียบเทียบสายพันธุ์ก้าวหน้าในลูกผสมรุ่นที่ 7 และ 8 เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำ และให้ผลผลิตสูง ได้ทั้งหมด 5 สายพันธุ์ คือ NGP 1-5 ซึ่งมีลักษณะแผ่นใบและกาบใบสีเขียว หูใบและปล้องสีขาว เปลือกเมล็ดสีฟาง เป็นข้าวเจ้าเหมือนพันธุ์พ่อคือปทุมธานี 1 แต่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดำเหมือนพันธุ์แม่คือก่ำดอยสะเก็ด นำมาปลูกประเมินในแปลงทดลองในรุ่นที่ 7 ในฤดูนาปี ปี 2559 และรุ่นที่ 8 ในฤดูนาปรัง ปี 2560 พบว่าในแต่ละฤดูมีอายุออกดอกระหว่าง 114-120 วัน และ 122-126 วัน มีความสูงต้นอยู่ระหว่าง 54-80 และ 76-122 ซม. ให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 591-751 และ 586-851 กก./ไร่ มีปริมาณแอนโทไซยานินระหว่าง 3.7-36.3 และ 10.2-36.3 มก./100 ก. ตามลำดับ สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ก้าวหน้าที่ตรงตามความต้องการที่มีผลผลิตและปริมาณแอนโทไซยานินในเมล็ดสูงได้ 2 สายพันธุ์คือ NGP3 และ NGP1 ให้ผลผลิต 663 กก./ไร่ และ 751 กก./ไร่ ในฤดูนาปี ปี 2559 และ 580 กก./ไร่ และ 850 กก./ไร่ ในฤดูนาปรัง ปี 2560 ตามลำดับ มีแอนโทไซยานิน 35.8 มก./100 ก. และ 36.3 มก./100 ก. ตามลำดับในทั้งสองฤดู ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ดในฤดูนาปี ที่มีค่า 31.1 มก./100 ก. มีปริมาณ อมิโลสระดับใกล้เคียงกับพันธุ์พ่อปทุมธานี 1 โดยทั้งสองสายพันธุ์จะได้ขยายพันธุ์และปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกรในรุ่นหลังๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ดำเนิน กาละดี และศันสนีย์ จำจด. 2543. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องพันธุศาสตร์การปรับปรุงพันธุ์และโภชนศาสตร์เกษตรของข้าวเหนียวดำ. สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ธรรมนูญ หัทยานันท์, ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย, และศันสนีย์ จำจด. 2559. การคัดเลือกสายพันธุ์ก้าวหน้าพันธุ์เจ้าก่ำไม่ไวต่อช่วงแสง. วารสารเกษตร. 33(1): 81-90.

พีรนันท์ มาปัน, สุพรรณิกา ติ๊บขัน, ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย, ดำเนิน กาละดี, และศันสนีย์ จำจด. 2557. การคัดเลือกในชั่วต้นเพื่อลักษณะแอนโทไซยานินในเมล็ดสูงและไม่ไวต่อช่วงแสง ในลูกผสมชั่วที่ 2 ระหว่างข้าวพันธุ์กํ่าดอยสะเก็ดและปทุมธานี 1. วารสารนเรศวรพะเยา. 7(2): 160-171

วรรณภา ก๋าถ้วย, เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม, ศันสนีย์ จำจด, ณัฏฐิณี ภัทรกุล, และชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. 2556. ผลของการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนและนํ้าต่อผลผลิตและปริมาณสารแอนโทไซยานินในข้าวเหนียวกํ่า 2 พันธุ์. แก่นเกษตร. 41: 403-410.

อภิชาติ วรรณวิจิตร, ธีรยุทธ ตู้จินดา, และสมวงษ์ ตระกูลรุ่ง. 2558. ข้าวเจ้าพันธุ์หอมนิล. เกษตรนวัตกรรม รวบรวมผลงานนวัตกรรมทางการค้นคว้าวิจัยในวาระครบรอบ 72 ปี แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อภิชาติ วรรณวิจิตร, ธีรยุทธ ตู้จินดา, สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง, ศิริพัฒน์ เรืองพยัคฆ์, และจรูญศักดิ์ สุขีวงศ์. 2558. ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่. เกษตรนวัตกรรม รวบรวมผลงานนวัตกรรมทางการค้นคว้าวิจัยในวาระครบรอบ 72 ปี แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Abdel-Aal, E-SM, and P. A. Hucl. 1999. A rapid method for quantifying total anthocyanins in blue aleurone and purple pericarp wheats. Cereal Chemistry. 76: 350-354.

Chen, X. Y., J. Zhou, L. P. Luo, B. Han, F. Li, J. Y. Chen, Y. F. Zhu, W. Chen, and X. P Yu. 2015. Black rice anthocyanins suppress metastasis of breast cancer cells by targeting RAS/RAF/MAPK pathway. BioMed Research International. P.1-11.

Hui, C., Y. Bin, Y. Xiaoping, Y. Long, C. Chunye, M. Mantian, and L. Wenhua. 2010. Anticancer activities of an anthocyanin-rich extract from black rice against breast cancer cells in vitro and in vivo. Nutrition and Cancer. 62(8): 1128–1136.

Jennings, P. R., W. R. Coffman, and H. E. Kauffman. 1979. Rice Improvement. IRRI: Los Banos. Laguna, Philippines.

Juliano, B. O., C. M. Perez, A. S. Blakeney, D. Castillot, N. Kongseree, B. Laingnelet, E. T. Lapis, V. S. Murty, C. M. Paule, and B. D. Webb. 1981. International cooperative testing on the amylose content of milled rice. Starch/Starke. 33: 157-162.

Prom-u-thai, C., C. Sanchai, B. Rerkasem, S. Jamjod, S. Fukai, I.D. Godwin, and l. Huang. 2007. Effect of grain morphology on degree of milling and iron loss in rice. Cereal Chemistry. 84(4): 384-388.