ประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย

Main Article Content

นัทธมน ธีระกุล
พิมพิมล แก้วมณี

บทคัดย่อ

ประเทศไทยประสบปัญหาการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้มาโดยตลอด อุปสรรคสำคัญในการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยคือผลิตภาพต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ไม่เหมาะสม ปัจจุบันพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากกว่าร้อยละ 50 อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์และพื้นที่สูง การศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแหล่งผลิตสำคัญของไทย เพื่อหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยใช้วิธีวิเคราะห์เส้นพรมแดนเชิงเฟ้นสุ่ม ในรูปแบบสมการ Translog เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปีการเพาะปลูก 2558/59 ของเกษตรกร 404 ราย ใน 6 จังหวัด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรร้อยละ 69.5 มีประสิทธิภาพทางเทคนิคอยู่ในระดับปานกลาง (0.63) และยังมีเกษตรกรเกือบ 1 ใน 3 ที่มีโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพทางเทคนิคได้โดยเพิ่มการใช้เมล็ดพันธุ์ และแรงงานในปริมาณที่เหมาะสม การเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมระดับปานกลางขึ้นไป ทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นร้อยละ 0.11 (หรือ 94 กิโลกรัม/ไร่ จากผลผลิตเฉลี่ย 859 กิโลกรัม/ไร่) การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่มีความชันน้อยกว่า 20 องศา ทำให้ประสิทธิภาพทางเทคนิคเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้ จึงเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์หนึ่งที่ยืนยันได้ว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เหมาะสมตาม Dashboard LDD Zoning และปลูกในที่ราบลุ่มเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมการค้าต่างประเทศ. 2558. การนำเข้าสินค้าเกษตรตามพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศ. แหล่งข้อมูล: http://www.dft.go.th/. ค้นเมื่อ 13 มกราคม 2560.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2560. Dashboard LDD Zoning พืชเศรษฐกิจ (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) ปี 2558-2559. แหล่งข้อมูล: http://www.ldd.go.th/www/lek_web/web.jsp?id=19135. ค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2561.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2561. Dashboard พื้นที่ความเหมาะสมพืชเศรษฐกิจ (รายพืช) ในระดับจังหวัด - ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. แหล่งข้อมูล: https://dashboard.ldd.go.th/portal/apps/dashboard/index.html#/f403736453014a14a327577ba4391a4b. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. การรักษาเสถียรภาพสินค้าเกษตรและรายได้เกษตรกร: ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

นัทธมน ธีระกุล. 2564. การวิจัยเชิงระบบเพื่อการปฏิรูปและปรับโครงสร้างภาคการเกษตรไทย ระยะที่ 1 ระบบย่อยรายสินค้า : ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. รายงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, กรุงเทพฯ.

นัทธมน ธีระกุล และพิมพิมล แก้วมณี. 2561. แนวทางการปรับโครงสร้างการผลิต การตลาด และนโยบายรัฐบาลสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย. รายงานวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.

ปิยะวิทย์ ทิพรส. 2559. วิธีวัดประสิทธิภาพทางเทคนิคของผู้ผลิตผลิตผลทางการเกษตรด้วยตัวแบบการวิเคราะห์ขอบเขตผลผลิตเชิงสุ่ม. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 20(2): 93-124.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2560. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2560. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/download/document_tenency/agri_situation2560.pdf. ค้นเมื่อ 3 มกราคม 2560.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2561. เนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิตรวมและผลผลิตต่อไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ 10 อันดับแรก ปี 2558/59 – 2560/61. (ข้อมูล ณ ม.ค. 2561). [ไฟล์เอกสาร Microsoft excel]. แหล่งข้อมูล: http://www.oae.go.th/. ค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2561.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย. 2560. ข้าวโพดในเวียดนามเดือนมกราคม 2017. แหล่งข้อมูล: www.ditp.go.th/contents_attach/164759/164759.pdf. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ. 2560. รายงานพิเศษสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในกัมพูชา ปี 2559/2560. แหล่งข้อมูล: www.ditp.go.th/contents_attach/209993/209993.pdf. ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2563.

สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. 2538. การศึกษาประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. กลุ่มงานวิจัยเศรษฐกิจสังคมและแรงงานเกษตร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อัทธ์ พิศาลวานิช และคณะ. 2557. ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ปี 2575. สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย: กรุงเทพฯ.

Amegnaglo, C. J. 2018. Determinants of maize farmers’ performance in Benin, West Africa. Kasetsart Journal of Social Sciences. 1-7.

Anik, A.R., M.A. Salam, and S. Rahman. 2017. Drivers of production and efficiency of onion cultivation in Bangladesh. Bulgarian Journal of Agricultural Science. 23(1): 34-41.

ASEAN Plus Security Information System. (2020). Maize Production Planted Area, Harvested Area, Production, and Yield of ASEAN. Available:http://www.frontend.aptfsis.org/page/statistics_country/select_data.php?category=Thailand Accessed August 24, 2020.

Baree, M. A. 2012. Measuring technical efficiency of onion (Allium cepa L.) farms in Bangladesh. Journal of Agricultural Research. 37(1): 171-178.

Battese, G. E. 1992. Frontier production functions and technical efficiency: A survey of empirical applications in agricultural economics. Agricultural Economics. 7(3-4): 185-208.

Farrell, M. J. 1957. The measurement of productive efficiency. Journal of the Royal Statistical Society. 120(3): 253-290.

FAO. 2014. Principles for Responsible Investment in Agriculture and Food Systems. Committee on World Food Security. FAO, Rome.

Hasan, M. F. 2008. Economic efficiency and constraints of maize production in the northern region of Bangladesh. Journal of Innovation and Development Strategy. 2(1): 18-32.

Hussain, A. 2014. An Analysis of Technical Efficiency of Wheat Farmers in Punjab. Thesis for PhD. (Economics). Department of Economics and Agricultural Economics, PMAS-Arid Agricultural University Rawalpindi.

Kodde, D. A., and F. C. Palm. 1986. Wald Criteria for Jointly Testing Equality and Inequality Restrictions. Econometrica. 54(5): 1243-1248.

Kwabena, N. A., and O. Victor. 2014. Technical efficiency of maize farmers across various agro ecological zones of Ghana. Journal of Agriculture and Environmental Sciences. 3(1): 149-172.

Maganga, A. M. 2012. Technical efficiency and its determinants in Irish potato production: Evidence from Dedza district, Central Malawi. African Journal of Agricultural Research. 7(12): 1794-1799.

Miraj, N., and S. Ali. 2014. Estimation of technical efficiency of garlic farms in Peshawar district, Pakistan: A Stochastic Frontier Analysis. Journal of Innovation and Scientific Research. 9: 140-149.

Nonthakot, P., and R. Villano. 2008. Migration and Farm Efficiency: Evidence from Northern Thailand. Australian Agricultural and Resource Economics Society Conference.

Oyewo, I. O. 2011. Technical efficiency of maize production in Oyo state. Journal of Economics and International Finance. 3(4): 211-216.

Rahman, S., A. Wiboonpongse, S. Sriboonchitta, and Y. Chaovanapoonphol. 2009. Production efficiency of jasmine rice producers in northern and north-eastern Thailand. Journal of Agricultural Economics. 60(2): 419-435.

Seyoum, E. T., G. E. Battese, and E.M. Fleming. 1998. Technical efficiency and productivity of maize producers in eastern Ethiopia: A study of farmers within and outside the Sasakawa-Global 2000 project. Agricultural Economic. 19(3): 341-348.

Sriboonchitta, S., and A. Wiboonpongse. 2005. On the estimation of Stochastic Production Frontiers with Self-Selectivity: Jasmine and non-jasmine rice in Thailand. Journal of Economics, Chiang Mai University. 4(1): 105-124.

Vanisaveth, V., Y. Mitsuyasu, and S. Goshi. 2012. Analysis of technical efficiency of smallholder maize farmers in northern Lao PDR: Case study of Paklay District, Sayaboury Province. Journal of the Faculty of Agriculture, Kyushu University. 57(1): 309-315.

Waryanto, B, M. A. Chozin, Dadang, and E.I.K. Putri. 2014. Environmental efficiency analysis of shallot farming: A Stochastic Frontier Translog Regression Approach. Journal of Biology, Agriculture and Healthcare. 4(19): 87-101.