ศักยภาพการเป็นปฏิปักษ์ของ Streptomyces spp. และ Bacillus subtilis ต่อเชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนสของพริก

Main Article Content

ปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล
วชิรญาณ์ ดวงต๊ะ
มณิการ์ ตรึกตราครบุรี
สมบัติ ศรีชูวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการเป็นปฏิปักษ์ของเชื้อแอคติโนมัยซีสเอนโดไฟต์ Streptomyces sp. จำนวน 3 ไอโซเลท (PE06, CT18 และ CT20) และเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis ต่อการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Colletotrichum gloeosporiodes Coll-1 สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของพริก จากการทดสอบด้วยวิธี dual culture พบว่าเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้ง
4 ไอโซเลท สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporiodes Coll-1 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) เท่ากับ 45.14, 39.58, 26.39 และ 53.82% ตามลำดับ เมื่อทดสอบด้วยวิธี sealed plate ที่เวลา 120 ชม. พบไอโซเลท CT20 ยับยั้งการเจริญของเส้นใยได้สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) สูงถึง 64.17% รองลงมาคือ ไอโซเลท CT18, PE04 และเชื้อ B. subtilis เท่ากับ 31.67, 30 และ 28.75% ตามลำดับ โดยไม่มีการสัมผัสกันโดยตรงระหว่างเส้นใยของเชื้อราสาเหตุและเชื้อ Streptomyces sp. ทั้ง 3 ไอโซเลท ในคู่จานอาหารทดสอบ จากนั้นตรวจสอบปริมาณการสร้างสปอร์ของเชื้อราสาเหตุ พบไอโซเลท CT20 ยับยั้งการสร้างสปอร์ได้สูงสุด (94.93%) รองลงมาคือ ไอโซเลท CT18 และ PE06 การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าสารประกอบอินทรีย์ระเหยของเชื้อ Streptomyces sp. CT20 มีผลต่อการเจริญของเชื้อรา C. gloeosporiodes Coll-1 โดยอาศัยฤทธิ์ต้านจุลชีพการเจริญของเส้นใยและการลดปริมาณสปอร์ในสภาพห้องปฏิบัติการ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเชื้อแอคติโนมัยซีสเอนโดไฟต์ Streptomyces sp. CT20 สามารถใช้เป็นสารควบคุมทางชีวภาพ (biocontrol agent) สำหรับโรคแอนแทรคโนสของพริกภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการ อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในการผลิตพริกเชิงพาณิชย์ภายใต้สภาพโรงเรือนและแปลงปลูกเพื่อยืนยันประสิทธิผลในการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ชนากานต์ รัตนศักดิ์ชัยชาญ, และปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล. 2562. ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บริเวณรอบรากผักกระเฉดที่ผลิตสารทุติยภูมิเพื่อยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชทางดิน. วารสารเกษตร. 35: 87-99.

เดชาวุฒิ วานิชสรรพ์, นิทัศน์ นิลฉวี, ทวีศักดิ์ รัตนคม, และพรรณนิการ์ กงจักร. 2558. ขั้นตอนวิธีนับจำนวนเชื้อบนแผ่นฮิโมชิโตมิเตอร์ด้วยเทคนิคประมวลผลภาพและดีบีสแกน. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ. 11: 56-61.

นิพนธ์ ทวีชัย, อุดมศักดิ์ เลิศสุชาวนิช, ไก่แก้ว สุธรรมมา, และจิตรยา จารุจิตร์. 2552. การจัดการโรคพืชโดยเทคโนโลยีชีวภาพ: การใช้จุลินทรีย์ชีวภาพในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของพริก. แหล่งข้อมูล: www.rdi.ku.ac.th/kufair50/technology/02_techno/2_ tech.htm. ค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2563.

นิพนธ์ ทวีชัย. 2553. โรคพืชและการจัดการด้วยวิธีชีวภาพ. แหล่งข้อมูล: https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/3385-biocontrol. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2563.

ประวิทย์ ยอดปะนัน, และปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล. 2562. การคัดเลือกเชื้อแอคติโนมัยซีสเอนโดไฟต์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อรา Phytophthora nicotianae สาเหตุโรคใบไหม้และผลเน่าของเสาวรส. วารสารแก่นเกษตร. 47: 1633-1638.

ปราณี พัฒนพิพิธไพศาล, และ ชนิดาภา นวะพัฒ. 2555. การควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าของพริกที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii ด้วยแอคติโนมัยสีท Streptomyces hygroscopicus PACCH24 ที่สร้างเอนไซม์ไคติเนส. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 14: 10-22.

วิไลลักษณ์ โคมพันธุ์, และสมเกียรติ ทับทิม. 2559. ผลของแอคติโนมัยซีทที่คัดแยกจากดินรอบรากพริกต่อการยับยั้งการเจริญของ Colletotrichum capsici, Curvularia lunata และ Fusarium solani. วารสารแก่นเกษตร.14: 942-947.

ศิรินภา ไชยพล, และเกวลิน คุณาศักดากุล. 2552. การคัดเลือกเชื้อแอคติโนมัยซีสเอนโดไฟท์ในการควบคุมโรคของชา. แหล่งข้อมูล: http://web.agri.cmu.ac.th/qa/intra/SAR/2553-54/sms/part2/6/2552/2552_17.pdf. ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2563.

สุพจน์ กาเซ็ม. 2557. ชีววิธีการควบคุมโรคพืชกับการผลิตพืชอาหารปลอดภัย. แหล่งข้อมูล: https://kukr.lib.ku.ac.th/journal/ETO/search_detail/dowload_digital_file/353817/89085. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2563.

อังสุมา ชยสมบัติ. 2533. โรคหลังการเก็บเกี่ยวของผลมะม่วงที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Sacc. และการควบคุม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อนันต์ วงเจริญ, พชรมน เล็บสิงห์, และกานต์ จิตสุวรรณรักษ์. 2561. ผลของสารระเหยที่ผลิตจากเชื้อ Daldinia spp. ต่อการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของพริกหลังการเก็บเกี่ยวและการงอกของเมล็ดพริก. วารสารแก่นเกษตร. 46: 1137-1142.

อภาพร โพธิยอด, และเกวลิน คุณาศักดากุล. 2557. การชักนำให้เกิดความต้านทานโรคเน่าไฟทอปธอราในสตรอว์เบอร์รีที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อด้วยเชื้อแอกติโนไมซีสต์เอนโดไฟต์. วารสารเกษตร. 30: 213-222.

Ashokvardhan T., A. B. Rajithasri, P. Prathyusha, and K. Satyaprasad. 2014. Actinomycetes from Capsicum annuum L. rhizosphere soil have the biocontrol potential against pathogenic fungi. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences. 3: 894-903.

Begum, M. M., M. Sariah, Z. M. A. Abidin, B. A. Puteh, and A. M. Rahman. 2008. Antagonistic potential of selected fungal and bacterial biocontrol agents against Colletotrichum truncatum of soybean seeds. Pertanika Journal of Tropical Agricultural Science. 31: 45-53.

Chaurasia, B., A. Pandey, L. M. S. Palni, P. Trivedi, B. Kumar, and N. Colvin. 2005. Diffusible and volatile compounds produced by an antagonistic Bacillus subtilis strain cause structural deformations in pathogenic fungi in vitro. Microbiological Research. 160: 75-81.

Danaei, M., A. Baghizadeh, S. Pourseyedi, J. Amini, and M. M. Yaghoobi. 2014. Biological control of plant fungal diseases using volatile substances of Streptomyces griseus. European Journal of Experimental Biology. 4: 334-339.

El-Tarabily, K. A. 2006. Rhizosphere-competent isolates of streptomycete and non-streptomycete actinomycetes capable of producing cell-wall-degrading enzymes to control Pythium aphanidermatum damping-off disease of cucumber. Canadian Journal of Botany. 84: 211-222.

Harp T. L., K. Pernezny, M. L. Lewis Ivey, S. A. Miller, P. J. Kuhn, and L. Datnoff. 2008. The etiology of recent pepper anthracnose outbreaks in Florida. Journal of crop protection. 27: 1380-1384.

Heng, J. L. S., U. K. Shah, N. A. A. Rahman, K. Shaari, and H. Hamzah. 2015. Streptomyces ambofaciens S2-A potential biological control agent for Colletotrichum gleosporioides the causal agent for anthracnose in red chilli fruits. Journal of Plant Pathology and Microbiology. S1:006, DOI:10.4172/2157-7471.1000S1-006.

Imtiaj, A., and S. T. Lee. 2008. Antagonistic effect of three Trichoderma species on the Alternaria porri pathogen of onion blotch. World Journal of Agricultural Sciences. 4: 13-17.

Khucharoenphaisan K., K. Sinma, and C. Lorrungruang. 2013. Efficiency of actinomycetes against phytopathogenic fungus of chilli anthracnose. Journal of Applied Sciences. 13: 472-478.

Photita, W., P. W. J. Taylor, R. Ford, K. D. Hyde, and S. Lumyong. 2005. Morphological and molecular characterization of Colletotrichum species from herbaceous plants in Thailand. Fungal Diversity. 10: 117-133.

Saxena, A., R. Raghuvanshi, and H. B. Singh. 2014. Molecular, phenotypic, and pathogenic variability in Colletotrichum isolates of subtropical region in North Eastern India, causing fruit rot of chillies. Journal of applied microbiology. 117: 14221-1434.

Saxena, A., R. Raghuwanshi, V. K. Gupta, and H. B. Singh. 2016. Chilli anthracnose: the epidemiology and management. Frontiers in Microbiology. 7: 1-18.

Singh, N., P. Pandey, R. C. Dubey, and D. K. Maheshwari. 2008. Biological control of root rot fungus Macrophomina phaseolina and growth enhancement of Pinus roxburghii (Sarg.) by rhizosphere competent Bacillus subtilis BN1. World Journal of Microbiology and Biotechnology. 24: 1669-1679.

Suwan N., W. Boonying, and S. Nalumpang. 2012. Antifungal activity of soil actinomycetes to control chilli anthracnose caused by Colletotrichum gloeosporioides. Journal of Agricultural Technology. 8: 725-737.

Suwannarat, S., S.Steinkellner., P. Songkumarn, and S. Sangchote.2017. Diversity of Colletotrichum spp. isolated from chili pepper fruit exhibiting symptoms of anthracnose in Thailand. Mycological Progress. 16: 677–686

Than, P. P., H. Prihastuti, S. Phoulivong, Taylor, P. W. J., and K. D. Hyde. 2008. Chilli anthracnose disease caused by Colletotrichum species. Journal of Zheijang University Science B. 9: 764-778.

Wan, M., G. Li, J. Zhang, D. Jiang, and H. C. Huang. 2008. Effect of volatile substances of Streptomyces platensis F-1 on control of plant fungal diseases. Biological Control. 46: 552-559.

Wang. C., Z. Wang, X. Qiao, Z. Li, Li F, M. Chen, Y. Wang, Y. Huang, and H. Cui. 2013. Antifungal activity of volatile organic compounds from Streptomyces alboflavus TD-1. FEMS Microbiology Letters. 341: 45-51.