ผลของการทดแทนถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกด้วยถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมักในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อของไก่ลูกผสมพื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ (9-13 สัปดาห์)

Main Article Content

สำราญ กาสีทรงเดช
จุฬากร ปานะถึก
ทองเลียน บัวจุม
บัวเรียม มณีวรรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมักในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อในไก่ลูกผสมพื้นเมือง โดยใช้ไก่ลูกผสมพื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ (ประดู่หางดำxเซียงไฮ้) คละเพศ อายุ 8 สัปดาห์ จำนวน 180 ตัว ทำการทดทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ และแบ่งเป็น 5 กลุ่มตามสูตรอาหาร แต่ละกลุ่มมี 3 ซ้ำ ซ้ำละ 12 ตัว กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุมไม่ใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์หมัก (0%) กลุ่มที่ 2, 3, 4 และ 5 กลุ่มใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมักทดแทนถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุก 25, 50, 75 และ 100% ในสูตรอาหาร ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มใช้ถั่วเหลืองต้มสุกหมัก 25, 50 และ 75% ทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) กลุ่มใช้ถั่วเหลืองต้มสุกหมักไม่ส่งผลต่อองค์ประกอบซาก (P>0.05) ค่า pH ของเนื้อหน้าอกที่ 45 นาที และ 24 ชม. ของกลุ่มใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมัก 25% และค่าความสว่างของเนื้ออกที่ 45 นาที และ 24 ชม. หลังฆ่า ของกลุ่มใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมัก 100% สูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) ส่วนค่าความแดงของเนื้ออกที่ 24 ชม.หลังฆ่า และค่าแรงตัดผ่านของเนื้อสะโพก ของกลุ่มใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมัก 100% ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) ดังนั้น การใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมักทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว สีของเนื้อ และความนุ่มของเนื้อดีขึ้น โดยสามารถใช้ถั่วเหลืองอินทรีย์ต้มสุกหมักได้ตั้งแต่ 25 -75% ในสูตรอาหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กนกอร อินทราพิเชฐ, มาโนชย์ สุธีรวัฒนานนท์, และวิศิษฐิพร สุขสมบัติ. 2546. การศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติ องค์ประกอบทางเคมี และคุณภาพทางประสาทสัมผัสของเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมืองไก่กระทงและไก่ไข่เพศผู้. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.

คำพัน ปัญญา, อดิศักดิ์ จูมวงษ์, บัวเรียม มณีวรรณ์, และวาที คงบรรทัด. 2562. ผลของการใช้ถั่วเหลือง อินทรีย์ต้มสุกหมักในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและองค์ประกอบเลือดของไก่เนื้อ. หน้า 99-105. การประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 10 “วิจัยและนวัตกรรม นำสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุรินทร์, สุรินทร์.

เทคโนโลยีการเกษตร. 2561. ปลูกถั่วเหลืองอินทรีย์หลังนาที่กาฬสินธุ์ ได้ขายเมล็ดถั่วเหลืองได้ปุ๋ยพืชสดบำรุงดินเพิ่มผลผลิตข้าว. แหล่งข้อมูล: https://www.technologychaoban.com/agriculturaltechnology/article_82378. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2563.

ธิดารัตน์ จันทร์ดอน. 2561. ถั่วเหลือง...ธัญพืชเพื่อสุขภาพ. แหล่งข้อมูล: http://medherbguru.gpo.or.th/articles/D24_soybean.pdf. ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2563.

พันทิพา พงษ์เพียงจันทร์. 2547. หลักการอาหารสัตว์ 2. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

พัทธินันท์ วาริชนันท์. 2555. ถั่วเน่า: ถั่วเหลืองหมัก โภชนาการสูงภูมิปัญญาชาวบ้านทางภาคเหนือของไทย. วารสารวิชาการ. 42:1-6.

ภานุพงศ์ จีระธรรมเสถียร, สุภาพร อิสริโยดม, อำนวย เลี้ยวธารากุล, และนวลจันทร์ พารักษา. 2560. ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองประดู่หางดำเชียงใหม่. แก่นเกษตร. 45:497-504.

มนัสนันท์ นพรัตน์ไมตรี, พรพรรณ แสนภูมิ, วรางคณา กิจพิพิธ และ กฤติยา เลิศชุณหะเกียรติ. 2556. การศึกษาการผลิตโปรตีนเซลล์เดียวจากเปลือกสับปะรดโดยใช้ยีสต์และบาซิลัส ซัปติลิส เพื่อพัฒนาเป็นอาหารสัตว์. แก่นเกษตร. 41: 80-86.

วนิดา ชารีมุ้ย ชัยรัตน์ ตั้งดวงดี, และโชติกา วิริยะรัตนศักดิ์. 2561. ประสิทธิผลการกะเทาะเปลือกและคุณสมบัติของแป้งถั่วเหลืองไขมันเต็มที่เป็นผลจากการให้ความร้อน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 49:96–112.

วิฑูรย์ ปัญญากุล. 2559. ภาพรวมเกษตรอินทรีย์ไทย 2559. แหล่งข้อมูล: http://www.greennet.or.th/article/411. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563.

สัญชัย จตุรสิทธา. 2550. การจัดการเนื้อสัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์มิ่งเมือง, เชียงใหม่.

สัญชัย จตุรสิทธา. 2553. เทคโนโลยีเนื้อสัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 4. โรงพิมพ์มิ่งเมือง, เชียงใหม่.

สัญชัย จตุรสิทธา, ศุภฤกษ์ สายทอง, อังคณา ผ่องแผ้ว, ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร, และอำนวย เลี้ยวธารากุล. 2546. คุณภาพซากและเนื้อของไก่พื้นเมืองและสายพันธุ์ลูกผสม 4 สายพันธุ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). กรุงเทพฯ.

สาโรช ค้าเจริญ. 2547. อาหารและการให้อาหารสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้อง. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

เสกสม อาตมางกูร. 2559. ทิศทางจัดการอาหารสัตว์ในอนาคต. วารสารสัตว์เศรษฐกิจ. 33:17-23.

อภิพรรณ พุกภักดี. 2546. ถั่วเหลือง: พืชทองของไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

อัญชรินทร์ สิงห์คำ และทศพร นามโฮง. 2547. เคมีอาหาร. แหล่งข้อมูล: https://courseware.rmutl.ac.th/courrses/103/unit903.html. ค้นเมื่อ 31 มกราคม 2563.

Abbas, T., E. L. Sadig, and M. E. Ahmed. 2015. Poultry meat quality and welfare as affected by organic production system. Journal of Animal Science. 3: 1-4.

Adeyemo, S. M. and A. A. Onilude. 2013. Enzymatic reduction of anti-nutritional factors in fermenting soybeans by Lactobacillus plantarum isolates from fermenting cereals. Nigerian Food Journal. 31: 84-90.

Baca, M., S. Marcincak, M. certik, P. Popelka, D. Marcincakova, L. Guothova, L. Molnar, T. Klempova, and I. Maskalov. 2014. Effect of adding pre-fermented cereal product containing gamma-linolenic acid to broiler feed on production indicators and fatty acid profile of chicken breast. Acta Veterinaria Brunensis. 83: 379–384.

Barrows, F. T., D. A. J. Stone, and R. W. Hardy. 2007. The effects of extrusion conditions on the nutritional value of soybean meal for rainbow trout (Oncorhynchus mykiss). Journal of Aquaculture Research and Development. 265: 244-252.

Buwjoom, T., B. Maneewan, and K. Yamamuchi. 2017. The using of fermented vegetable soybean waste and banana stem in Black-bone chicken diet. P. 1-6. In: Proceeding of the 17th Asian-Australasian Association of Animal Production Societies Animal Science Congress. August 22-25, 2016, Fukuoka university, Fukuoka, Japan.

Cruz, Y., C. Kijora, E. Wedler, J. Danier, and C. Schulz. 2011. Fermentation properties and nutritional quality of selected aquatic macrophytes as alternative fish feed in rural areas of the Neotropics.Livestock Research for Rural Development. 23 (11): 1-12.

Dadgar, S., E.S. Lee, T. L. V. Leer, T. G. Crowe, H. L. Classen, and P. J. Shand. 2011. Effect of acute cold exposure, age, sex, and lair-age on broiler breast meat quality. Journal of Poultry Science. 90: 444-457.

Drazbo, A., K. Kozlowski, K. Ognik, A. Zaworska, and J. Jankowski. 2019. The effect of raw and fermented rapeseed cake on growth performance, carcass traits, and breast meat quality in turkey. Journal of Poultry Science. 98: 6161–6169.

Fletcher, D. L. 1999. Broiler breast meat color variation, pH, and texture. Journal of Poultry Science. 7: 1323-1327.

Francis, G., H. P. S. Makkar, and K. Becker. 2001. Antinutritional factors present in plant-derived alternate fish feed ingredients and their effects in fish. Journal of Aquaculture Research and Development. 199: 197-227.

Frias, J., Y. S. Song, C. Martínez-Villaluenga, E. G. De Mejia, and C. Vidal-Valverde. 2008. Immunoreactivity and amino acid content of fermented soybean products. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 56: 99-105.

Fujiwara, K., Y. Makoto, A. Hiroyuki, N. Kazuki, Y. Yoko, O. Makoto, O. Yasunobu, K. Yukino, N. Kazuo, T. Atsushi, M. Yuji, and N. Yutaka. 2009. Effect of bacillus subtilis var. natto fermented soybean on growth performance, microbial in the caeca and cytokine gene expression of domestic meat type chickens. Journal of Poultry Science. 46: 116-122.

Guo, S., Y. Zhang, Q. Cheng, J. Xv, Y. Hou, X. Wu, E. Du, and B. Ding. 2020. Partial substitution of fermented soybean meal for soybean meal influences the carcass traits and meat quality of broiler chickens. Journal of Animals. 10: 1-14.

Iji, P. A., A. Saki, and D. R. Tivey. 2001. Body and intestinal growth of broiler chicks on a commercial starter diet. 2. development and characteristics of intestinal enzymes. British Poultry Science. 42: 505-513.

Inatsu, Y., N. Nakamura, Y. Yuriko, T. Fushimi, L. Watanasiritu, and S. Kawamoto. 2006. Characterization of Bacillus Subtilis strains in Thua nao, a traditional fermented soybean food in northern Thailand. Journal of Applied Microbiology. 43: 237-242.

Jiang, Z. Y., S. Q. Jiang, Y. C. Lin, P. B. Xi, D. Q. Yu, and T. X. Wu. 2007. Effects of soybean isoflavone on growth performance, meat quality, and antioxidation in male broilers. Journal of Poultry Science. 86: 1356-1362.

Kim, S. K., T. H. Kim, S. K. Lee, K. H. Chang, S. J. Cho, K. W. Lee, and B. K. An. 2016. The use of fermented soybean meals during early phase affects subsequent growth and physiological response in broiler chicks. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 29: 1287-93.

Lee, D.-W., J. H. Shin, J. M. Park, J. Ch. Song, H. J. Suh, U. J. Chang, B. K. An, Ch. W. Kang, and J. Kim. 2010. Growth performance and meat quality of broiler chicks fed germinated and fermented soybeans. Korean Journal for Food Science of Animal Resources. 30: 938-945.

Marcincak, S., T. Klempova, M. Bartkovský, D. Marcincakova, N. Zdolec, and P. Popelka. 2018. Effect of fungal solid-state fermented product in broiler chicken nutrition on quality and safety of produced breast meat. https://doi.org/10.1155/2018/2609548. Accessed Jan. 31, 2020.

Panya, K., A. Joomwong, W. Khongbuntad, and B. Maneewan. 2020. Effect of fermented boiled organic soybean in diet on carcass composition and meat quality of broiler chickens. International Scientific Journal of Engineering and Technology. 4:6-11.

Poysa, V. and L. Woodrow. 2002. Stability of soybean seed composition and its effect on soymilk and tofu yield and quality. Food Research International. 35: 337-345.

Tuleun, C. D., A.Y. Adenko, and K. T. Orayaga. 2011. Naturally fermented mucuna seed meal-based diets: effect on performance and carcass characteristics of broiler chickens. Research Journal of Poultry Sciences. 4: 50-55.

Saad, A. Naji., I. F. B. Al-Zamili, Hasan, S. A. Jawad, and J. K. M. Al-Gharawi. 2016. The effects of fermented feed on broiler production and intestinal morphology. Pertanika Journal of Tropical Agricultural Science. 39: 597-607.