ประสิทธิภาพการย่อยวัตถุดิบจากกล้วยด้วยเอนไซม์จากอวัยวะย่อยอาหารของปลาหมอไทย

Main Article Content

โฉมอนันต์ โพธิวงค์
ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล
สุดาพร ตงศิริ
ชนกันต์ จิตมนัส

บทคัดย่อ

ปลาหมอไทย (Anabas testudineus) เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย เนื่องจากเลี้ยงง่าย โตไว และเป็นที่ต้องการของตลาด จึงมีการพัฒนาอาหารที่เลี้ยงให้มีต้นทุนต่ำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาประสิทธิภาพการย่อยวัตถุดิบด้วยเอนไซม์จากอวัยวะย่อยอาหารของปลาหมอไทย ด้วยวิธี in vitro digestibility เพื่อคัดเลือกวัตถุดิบที่ถูกย่อยได้ดีที่สุด นำไปผลิตอาหารปลาหมอ ซึ่งเป็นการลดต้นทุนอาหารและเลือกวัตถุดิบที่ใช้ต้นทุนต่ำมาทดแทน การศึกษาการย่อยวัตถุดิบ โดยใช้วัตถุดิบจำนวน 10 ชนิด ได้แก่ ปลาป่น  กากถั่วเหลือง รำละเอียด ปลายข้าว  กล้วยน้ำว้าดิบ กล้วยน้ำว้าสุก กล้วยหอมดิบ กล้วยหอมสุก กล้วยไข่ดิบ และกล้วยไข่สุก ด้วยเอนไซม์จากลำไส้ของปลาหมอไทย ผลการทดลอง พบว่า ประสิทธิภาพการย่อยคาร์โบไฮเดรตของวัตถุดิบอาหารได้ดีที่สุด 3 อันดับ คือ กล้วยไข่สุก ค่าเท่ากับ 556.4242 µmol/g/ amylase activity ปลายข้าว ค่าเท่ากับ 274.1800 µmol/g/ amylase activity และกล้วยน้ำว้าสุก ค่าเท่ากับ 120.9618 µmol/g/ amylase activity ตามลำดับและประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนของวัตถุดิบอาหารได้ดีที่สุด 3 อันดับ คือ กากถั่วเหลือง ค่าเท่ากับ 0.125064 µmol/g/ trypsin activity ปลาป่น ค่าเท่ากับ 0.105317 µmol/g/ trypsin activity กล้วยน้ำว้าสุกและกล้วยหอมดิบมีค่าเท่ากัน คือ 0.085570 µmol/g/ trypsin activity ตามลำดับ การทดลองนี้สรุปได้ว่า วัตถุดิบที่เอนไซม์ของปลาหมอไทย สามารถย่อยได้ดี และเหมาะสมในการนำมาผลิตเป็นอาหารปลาหมอไทย คือ กล้วยไข่สุก  กล้วยน้ำว้าสุก และกล้วยหอมดิบ เพราะประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตใกล้เคียงกับปลาป่น ปลายข้าว และกากถั่วเหลือง นอกจากนี้กล้วยยังเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูกและหาได้ง่าย จึงน่าจะนำไปสร้างและปรับสูตรอาหารให้เหมาะสมกับปลาหมอไทย ทั้งด้านโภชนาการและราคา

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมประมง. 2550. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ 2548. เอกสารฉบับที่6/2550. กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง, ศูนย์สารสนเทศ, กรมประมง.

กรมประมง. 2562. สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ 2557. เอกสารฉบับที่9/2562. กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง, ศูนย์สารสนเทศ, กรมประมง.

จันทกานต์ นุชสุข. 2550. การพัฒนาสูตรอาหารโดยใช้เทคโนโลยีทางเอนไซม์ย่อยอาหารเพื่อการเพาะเลี้ยงปลาสวายหนู Helicophagus leptorhynchus Ng & Kottelat. 2000. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล และจอมสุดา ดวงวงษา. 2557. การประยุกต์ใช้พืชท้องถิ่นพัฒนาสูตรอาหารเพื่อ ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปลาหมอเชิงพาณิชย์. คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ธนาวัฒน์ ศิริปริญญานันต์, บัณฑิต ยวงสร้อย, สุธี วงศ์มณีประทีป และ สุทธิศักดิ์ บุญยัง. 2557. การศึกษาประสิทธิภาพการย่อยวัตถุดิบอาหารในปลาโมง ด้วยวิธี in vitro protein digestibility. แก่นเกษตร. 42(ฉบับพิเศษ 1): 32-37.

Divakaran, S., I.P. Forster, and M. Velasco. 2004. Limitations on the use of shrimp Litopenaeus vannamei midgut gland extract for the measurement of in vitro protein digestibility. Aquaculture. 239: 323-329.

Lowry, O, H., N.J. Rosebrough, A.L. Farr, and R.J. Randall. 1951. Protein measurement with the folin phenol reagent. Journal of Biological Chemistry. 193: 265-275.

Moyano, F.J., M.A. Saénz-de Rodrigáñez, M. Díaz, and A.G.J. Tacon. 2014. Application of in vitro digestibility methodsin aquaculture: constraints and perspectives. Review. Aquaculture. 6:1-20.

Rattanavichai, W., and W. Cheng. 2015. Dietary supplement of banana (Musa acuminata) peels hot-water extract to enhance the growth, anti-hypothermal stress, immunity and disease resistance of the giant freshwater prawn, Macrobrachium rosenbergii. Fish and Shellfish Immunology. 43(2): 415-426.

Rungruangsak-Torrissen, K., A. Rustad, J. Sunde, S. Eiane, H. Jensen, J. Opstvedt, E. Nygard, T. Samuelson, H. Mundheim, U. Luzzana, and G. Venturini. 2002. In vitro digestibility based on fish crude enzyme extract for prediction of feed quality in growth trials. Journal of the Science of Food and Agriculture. 82: 644-654.