การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจการเกษตรและสังคมจังหวัดกับเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดนราธิวาส
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นนั้น คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาวะทางเศรษฐกิจการเกษตรและสังคมของพื้นที่อย่างต่อเนื่อง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจการเกษตรและสังคมจังหวัดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การย้ายเข้า การย้ายออก อัตราการว่างงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคเกษตรกรรมที่แท้จริง ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคอุตสาหกรรมที่แท้จริง ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดภาคการค้าและบริการที่แท้จริง ราคาน้ำมันดีเซลที่แท้จริง และราคาน้ำยางพาราที่แท้จริง กับเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดนราธิวาส โดยใช้ข้อมูลทั้งจากหน่วยงานราชการ และรัฐวิสากิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทดสอบ 1) คุณสมบัติความนิ่ง 2) ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะสั้น 3) ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว และ 4) การทดสอบสมมติฐานเชิงเป็นเหตุเป็นผล ผลการศึกษา 1) การทดสอบยูนิทรูท พบว่า ตัวแปรทางเศรษฐกิจการเกษตรและสังคมจังหวัดที่เกี่ยวข้อง และตัวแปรเหตุการณ์ความไม่สงบบางตัวมีลักษณะนิ่งที่ระดับข้อมูลพื้นฐาน หรือ I(0) และมีลักษณะนิ่งที่ผลต่างของข้อมูลหนึ่งระดับ หรือ I(1) 2) การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะสั้น พบว่าตัวแปรทางเศรษฐกิจการเกษตรและสังคมจังหวัดที่เกี่ยวข้องบางตัว ได้แก่ การอพยพออก และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่แท้จริง มีผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดนราธิวาสอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 3) การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว พบว่าไม่มีตัวแปรทางเศรษฐกิจการเกษตรและสังคมจังหวัดที่เกี่ยวข้องใดมีผลกระทบต่อเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดนราธิวาส และ 4) การทดสอบสมมติฐานเชิงเป็นเหตุเป็นผล พบว่า ตัวแปรทางเศรษฐกิจการเกษตรและสังคมจังหวัดที่เกี่ยวข้องบางตัว ได้แก่ การอพยพออก และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่แท้จริงเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ความไม่สงบ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และมีความสัมพันธ์แบบสองทาง ผลการศึกษานี้ช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายมีความเข้าใจสถานการณ์และสามารถวางนโยบายด้านการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปรับตัวของเกษตรกรต่อเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
การยางแห่งประเทศไทย. 2561. ราคายางพารา. แหล่งข้อมูล: http://www.rubber.co.th/. ค้นเมื่อ 19 กันยายน 2561.
กิจสุเมธ พุมมะริน และภูมิฐาน รังคกูลนุวัฒน์. 2561. ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่างดัชนีหลักทรัพย์กล่มประกันภัยกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 ปี การศึกษา 2561 วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561 หน้า 2623-2643 มหาวิทยาลัยรังสิต ปทุมธานี.
เกื้อ ฤทธิบูรณ์. 2553. แนวทางการพัฒนาการจัดการประมงชายฝั่งโดยองค์กรท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี และนราธิวาส. ปัญหาชายแดนใต้มองผ่านงานวิจัยของ ม.อ. หนังสือชุดความรู้ ม.อ. เล่มที่ 2/2555. สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปัตตานี
กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม. 2558. การก่อการร้าย. แหล่งข้อมูล:. http://www.dstd.mi.th/board/index.php?topic = 992.0, ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2559.
กรมการปกครอง. 2561. ระบบการลงทะเบียนทางสถิติ. แหล่งข้อมูล: http://stat.bora.go.th/statTDD/. ค้นเมื่อ วันที่ 3 มีนาคม 2561.
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย. 2561. ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง. แหล่งข้อมูล: http://www.pttplc.com/TH/ Media-Center/Oil-Price/pages/Bangkok-Oil-Price.aspx. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2561.
ชลิตา บัณฑุวงศ์. 2557. เศรษฐกิจและการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้: การสำรวจเชิงวิพากษ์. หนึ่งทศวรรษมานุษยวิทยาและสังคมวิทยากับการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. 1(2557): 31-68.
โซร์ฟีนา เด่นสุมิตร. 2556. ผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงที่มีต่อการผลิตยางแผ่นดิบ: กรณีศึกษาของจังหวัดยะลาประเทศไทย สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 19(4): 39-70.
ณัทกาญจน์ เอกอุรุ, ราเมศ รัตนอรุณ, ประกอบ อ่ำปลอด, อธิวัฒน์ ชูกิจ, ณัฐพงษ์ พรมไพร, และสุรางค์ รัฐสมบูรณ์. 2556. ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับสภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. รายงานวิจัย ฝ่ายนโยบายข้ามชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ.
ทรงศักดิ์ ศรีบญจิตต์. 2547. เศรษฐมิติ: ทฤษฎีและการประยุกต์. เชียงใหม่ : ่ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นุกูล ชิ้นฟัก. 2559. กระบวนการและเส้นทางพาณิชย์น้ำมันเถื่อนข้ามชาติในพื้นที่ด่านชายแดนภาคใต้ไทย-มาเลเซีย. วารสารมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 14(1): 57-62.
ปิยะ กิจถาวร, ดุษณ์ดาว เลิศพิพัฒน์, อารีลักษณ์ พูลทรัพย์, สุไรนี สายนุ้ย, ไพซอล ดาโอ๊ะ, หนึ่งกมล พิพิธพันธุ์, อรชา รักดี, และสุรวุฒน์ ช่อไม้ทอง. 2551. ผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน กรณี: การอพยพย้ายถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และแนวทางแก้ไข. รายงานการวิจัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปัตตานี.
สุรวิชญ์ วุฑฒิเดช. 2552. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์ มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานเกษตรจังหวัดนราธิวาส. 2563. ข้อมูลพื้นฐานเกษตรกรของจังหวัดนราธิวาส ปี 2563. แหล่งข้อมูล: http://www.narathiwat.doae.go.th/wordpress/?page_id=196, ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2556. รายงานผลเบื้องต้น สำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2556. บางกอกบล็อก, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2561. แผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2552-2555. แหล่งข้อมูล: http://www.nesdb.go.th, ค้นเมื่อ 19 กันยายน 2561.
ศุภณัฐญ์ เตปิยะ, รวี ลงกานี และชัยวุฒิ ตั้งสมชัย. 2558. ความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์กลุ่มเหล็กในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง 4(2): 102-114.
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้. 2561. สรุปสถิติเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปี 2560. แหล่งข้อมูล: http://www.deepsouthwatch.org, ค้นเมื่อ 2 กันยายน 2561.
อนุวัต สงสม. 2552. เศรษฐกิจของภาคครัวเรือนจังหวัดปัตตานีภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(2): 37-70.
อภิสิทธิ์ ไชยลาภ, และอยุทธ์ นิสสภา. 2564. การปรับตัวของเกษตรกรเพื่อรับมือกับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดนราธิวาส. แก่นเกษตร. (ฉบับพิเศษ 1): 730–737.
Caruso, R., and F. Schneider. 2011. The Socio-Economic Determinants of Terrorism and Political Unrest in Western Europe (1994-2007). European Journal of Political Economy. 27: S37-S49.
Gurr, T.R. 1968. Psychological factors in civil Unrest. World Politics. 20: 245-278.
Ismail, A. and S. Amjad. 2014. Determinants of terrorism in Pakistan: an empirical investigation. Economic Modelling. 37: 320-331.
Marohabout, P., C. Choonpradub, and M. Kuning. 2009. Terrorism Risk Modeling in Southern Border Provinces of Thailand During 2004 to 2005. Songklanakarin Journal of Social Sciences & Humanities. 15(6): 885-895.
Mencet, M.N., M.Z. Firat, and C. Sayin. 2006. Cointegration analysis of wine export prices for France, Greece, Turkey. pp. 1-17. In Proceeding of the 98th EAAE Seminar on Marketing Dynamics within the Global Trading System: New Perpectives 29 June-2 July 2006. Chania, Crete, Greece. Antalya, Akdeniz University Turkey.
Olson, M. 1963. Rapid growth as a destabilizing force. The Journal of Economic History. 23: 529–522.
Pesaran, M.H., Y. Shin, and R.J. Smith. 2001. Bounds testing approaches to the analysis of level relationships. Journal of Applied Econometrics. 16(3): 289-326.
Shahbaz, M., Shahbaz, M., Malik M, and M. Wolters. 2010. An analysis of a causal relationship between economic growth and terrorism in Pakistan. Economic Modeling 35 (2013), 21–29.
Sutherland, E. H. 1961. White Collar Crime. 1st Edition. New York Holt, Rineheart and Winton.