ผลของการใช้สมุนไพรกำลังช้างเผือก (Hiptage candicans) ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และลดการตกค้างของยาปฏิชีวนะในไก่เนื้อ

Main Article Content

สุรางค์รัตน์ พันแสง
พวงผกา แก้วกรม

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการเพิ่มสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ และลดการตกค้างของยาปฏิชีวนะเอนโรฟลอกซาซิน (enrofloxacin) ไซโปรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin) และด็อกซีไซคลิน (doxycycline) โดยการเสริมสารสกัดหยาบกำลังช้างเผือก (Hiptage candicans) ในอาหารไก่เนื้อ ที่ระดับ 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0% เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยใช้ไก่เนื้อสายพันธุ์การค้าคละเพศ อายุ 26 วัน เลี้ยงจนครบ 39 วัน ทำการเปรียบเทียบการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการแลกเนื้อ และวิเคราะห์หาการตกค้างของยาปฏิชีวนะหลังหยุดให้ยาปฏิชีวนะทันที และหลังการหยุด 2 วัน ผลการศึกษาพบว่าการเสริมสารสกัดไม่ส่งผลต่อปริมาณการกินได้ และอัตราการแลกเนื้อ แต่จะส่งผลดีต่ออัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน ในช่วงวันที่ 29-35 ส่วนผลการเสริมสารสกัดหยาบกำลังช้างเผือกในอาหารไก่เนื้อ พบว่าการเสริมสารสกัดหยาบกำลังช้างเผือกระดับความเข้มข้น 1.5% มีประสิทธิภาพในการลดความเป็นพิษของยาปฏิชีวนะชนิดเอนโรฟลอกซาซินและไซโปรฟลอกซาซินได้ดีและทำให้อาหารไม่มีเยื่อใยมากเกินไป ส่วนยาปฏิชีวนะด็อกซีไซคลินนั้นไม่พบการตกค้างในเนื้อไก่

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)
Author Biography

พวงผกา แก้วกรม, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

References

จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ. 2548. ผลของสมุนไพรไทยต่อสัตว์ปีกและสุกร. บริษัทประชาชนจำกัด, กรุงเทพฯ.

ฐิติมา ละอองฐิติรัตน์, ศศมล ผาสุข และปุณยนุช นิลแสง. 2563. ประสิทธิภาพของเจลผสมสารสกัดหยาบโนราในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 15(1): 99-113.

ทรงศักดิ์ จำปาวะดี, ดวงนภา พรมเกตุ, นริศรา สางทรัพย์ และอัครพล ภูมิซองแมว. 2562. ผลของการเสริมสมุนไพรเจตพังคีต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตในไก่กระทง. แก่นเกษตร. 47(ฉบับพิเศษ 2): 600-604.

นิตยสารชีวจิต. [online]. 2561. แหล่งข้อมูล: https://cheewajit.com/disease-symptoms/. ค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563.

นันทวัน บุณยะประภัศร และสุวรรณ ธีระวรพันธ์. 2545. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสมุนไพร โอกาสและทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์. แสงเทียนการพิมพ์, กรุงเทพฯ.

ปริเยศ สิทธิสรวง. 2559. ผลของอาหารเสริมสมุนไพรต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพด้านเนื้อสัมผัสของไก่กระทง. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 34(3): 117-125.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. 2549. สมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย, นนทบุรี.

มานิตย์ เทวรักษ์พิทักษ์, เรือนแก้ว ประพฤติ, รุ่งโรจน์ มณี และอัมพร ยอดดี. 2551. รายงานการวิจัยเรื่องการใช้สมุนไพรรางจืดเพื่อลดพิษตกค้างของยาปฏิชีวนะ Sunfadiazine และ Enrofloxacin ในเนื้อไก่เนื้อ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.

เยาวมาลย์ ค้าเจริญ. 2556. การใช้สมุนไพรในอาหารสัตว์ไทยมุ่งสู่มาตรฐานอาเซียน. แก่นเกษตร. 41(4): 369-376.

สุรางค์รัตน์ พันแสง และพวงผกา แก้วกรม. 2561. ฟลาโวนอยด์และฟินอลิกในส่วนต่างๆ ของต้นกําลังช้างเผือกและผลต่อลิมโฟไซต์และโมโนไซต์ในหนู. วารสารนเรศวรพะเยา. 12(1): 10-12.

อุบลวรรณ ศรีสงคราม, ปฏิมา เพิ่มพูนพัฒนา และเจษฎา รัตนวุฒิ. 2564. ผลการเสริมกรดอินทรีย์รวมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และปริมาณแบคทีเรียในลำไส้เล็กส่วนปลาย. แก่นเกษตร. 48(ฉบับพิเศษ 1): 1-8.

American dairy science association. 2010. Guide for the care and use of agricultural animals in research and teaching (Ag Guide). Available: http://www.adsa.org. Accessed Apr. 14, 2021.

Bhukya, B.R., and N.R. Yella. 2018. Evaluation of anticancer activity of methanolic extract of Hiptage benghalensis (L.) Kurz on cancer cell line. Pharmacognosy Research. 10: 309-313.

Dibner, J.J., and J.D. Richards. 2005. Antibiotic growth promoters in agriculture: history and mode of action. Poultry Science. 84: 634-643.

Hassan, H.M.A., M.A. Mohamed, A.W. Youssef, and E.R. Hassan. 2010. Effect of using organic acids to substitute antibiotic growth promoters on performance and intestinal nicroflora of broilers. Asian-Australasian journal of animal sciences. 23(10): 1348-1353.

Hse, C.L., S.C. Fang, H.W. Huang, and G.C. Yen. 2015. Anti-inflammatory effects of triterpenes and steroid compounds isolated from the stem bark Hiptage benghalensis. Journal of Functional Foods. 12: 420-427.

La-ongthitirat, T., S. Phasuk, and P. Nilsang. 2019. Antimicrobial activity of Hiptage candicans (Hook.f.) Sirirugsa crude extracts against human pathogen. pp. 542-554. In the Proceeding of the 3rd National and International Research Conference 2019 (NIRC II 2019) 1 February 2019. Burrirum, Thailand.

NRC. 1994. Nutrient requirements of poultry. 9th Edition. National Academy Press, Washington D.C.

Meena, A.K., J. Meena, A. Jadhav, and M.M. Padhi. 2014. A review on Hiptage benghalensis (Madhavilata) used as an Ayurvedic drug. Asian Journal of Pharmacy and Technology. 4(1): 28-31.

Mwale, M., J.F. Mupongwa, and C. Mapiye. 2008. Growth performance of guinea fowl keets fed graded levels of baobab seed cake diets. International journal of poultry science. 7: 429-432.