ความหลากชนิดและความชุกชุมของหอยทากบกในพื้นที่เกษตรแบบผสมผสาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

Main Article Content

จิรายุทธ บัวฮองแสง
กิตติ ตันเมืองปัก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดของหอยทากบกในพื้นที่เกษตรแบบผสมสาน อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ในฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม – เมษายน 2563 และฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2563 ด้วยแปลงสุ่มขนาด 20 x 20 เมตร รวม 18 แปลง ผลการทดลองพบหอยทากบกทั้งหมด 1,181 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่มีชีวิต 424 ตัวอย่าง (35.91%) ตัวอย่างเปลือก 757 เปลือก (64.09%) จัดจำแนกได้ 9 สกุล 9 ชนิด ได้แก่ หอยทากบกที่มีฝาปิดเปลือก พบทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ หอยหอม (Cyclophorus sp.) หอยงวงท่อน้อย (Cyclotus sp.) และหอยเปลือกมัน (Pupina sp.) หอยทากบกที่ไม่มีฝาปิดเปลือก พบทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ หอยทากสยาม (Cryptozona siamensis) หอยเดื่อ (Hemiplecta distincta) หอยขัดเปลือก (Macrochlamys sp.) หอยห่อเปลือก (Megaustenia sp.) และหอยจิ๋วพีระมิด (Sitala sp.) และหอยทากบกที่ไม่มีเปลือก พบทั้งหมด 1 ชนิด ได้แก่ ทากฟ้า (Semperula siamensis) ฤดูแล้งพบหอยทากบกทั้งหมด 678 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่มีชีวิต 65 ตัวอย่าง (9.59%) ตัวอย่างเปลือก 613 (90.41%) เปลือก จำแนกได้ทั้งหมด 6 สกุล 6 ชนิด ส่วนฤดูฝนพบหอยทากบกทั้งหมด 503 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่มีชีวิต 359 ตัวอย่าง (71.37%) ตัวอย่างเปลือก 144 เปลือก (28.63%) จัดจำแนกได้ทั้งหมด 6 สกุล 6 ชนิด ดัชนีความหลากชนิดของหอยทากบกอยู่ในเกณฑ์ต่ำมีค่าเท่ากับ 0.163 ดัชนีความสม่ำเสมอการกระจายจำนวนอยู่ในเกณฑ์ต่ำมีค่าเท่ากับ 0.074 ดัชนีจำนวนของชนิดพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 1.177 หอยทากสยามมีความชุกชุมสัมพัทธ์สูงที่สุดเท่ากับ 97.54% พบว่าในฤดูแล้งและฤดูฝน มีค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงปานกลางเท่ากับ 0.500   

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กีรติพร จูตะวิริยะ และพัชรินทร์ ลาภานันท์. 2557. เกษตรผสมผสาน: ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของเกษตรกรอีสานภายใต้กระแส โลกาภิวัตน์. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 10(3): 25-48.

จิรศักดิ์ สุจริต, ปิโยรส ทองเกิด และสมศักดิ์ ปัญหา. 2561. หอยทากบก ทรัพยากรชีวภาพที่ทรงคุณค่าแห่งราชอาณาจักรไทย. บริษัท ซีโน พับลิชชิ่ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง จำกัด, กรุงเทพฯ.

จิรศักดิ์ สุจริต และสมศักดิ์ ปัญหา. 2551. หอยทากบกในอุทยานแห่งชาติเขานัน. โรงพิมพ์ กรุงเทพ จำกัด, กรุงเทพฯ.

ชนิดาพร วรจักร และศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ. 2545. หอยทากบก ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 21(2): 11-18.

ชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ และศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ. 2553ก. ความหลากชนิดและชุกชุมของหอยทากบกบริเวณภูทอกน้อย จังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 29(3): 298-307.

ชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ และศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ. 2553ข. ความหลากชนิดและความชุกชุมของหอยทากบกบริเวณภูเขาหินปูน และภูเขาหินทรายในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 15(2): 10-19.

ชุติมา สาสังข์, ชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ และศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ. 2561. ความหลากชนิดของหอยทากบกภายในหย่อมป่า ขนาดเล็กบางแห่งในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37(1): 85-97.

ชมพูนุท จรรยาเพศ, ปราสาททอง พรหมเกิด, ปิยาณี หนูกาฬ, สมเกียรติ กล้าแข็ง และดาราพร รินทะรักษ์. 2551. ความหลากชนิดของหอยทากและทากในแหล่งสงวนชีวมณฑลสะแกราช. น. 60-72. ใน: เอกสารประกอบการการประชุมวิชาการอารักขาพืชแห่งชาติ ครั้งที่ 8 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.

ดาราพร รินทะรักษ์, ณัฐฐิญา กาญจนนิธิพัฒน์, อภินันท์ เอี่ยมสุวรรณสุข และทรงทัพ แก้วตา. 2560. สำรวจความหลากชนิดหอยทากบกศัตรูพืชในระบบนิเวศเกษตรและสิ่งแวดล้อม. น.1990-1998. ใน: รายงานผลการวิจัยประจำปี 2560 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ.

ปฏิพล จำลอง, ชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ และศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ. 2556. ความหลากชนิดและความชุกชุมของหอยทากบกบริเวณภูเขาหินทรายและภูเขาไฟในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 18(1): 67-81.

ศิริชัย ศรีหาตา, ชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ และศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ. 2553. ความหลากชนิด ความชุกชุม และถิ่นอาศัยของหอยทากบก ในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร บนภูโน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 29(4): 359-371.

ศิริพร ทองอารีย์, สุวิทย์ สุวรรณพงศ์ และสมชัย อาแว. 2555. ชนิดและประชากรของนกหากินกลางคืนในป่าบาลา จังหวัดนราธิวาส. น. 79-86. ใน: ผลงานวิจัยและรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ประจําปี 2554. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สํานักอนุรักษ์สัตว์ป่า, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุงเทพฯ.

Altaf, J., N. A. Qureshi, and M. J. I. Siddiqui. 2017. Interaction of snail species in the agroecosystem. Journal of Biodiversity and Environmental Sciences. 10(1): 169-182.

Blandford, W. T., and H. H. Godwin-Austen. 1908. The Fauna of British India, Ceylon and Burma. Taylon and Francis, London, UK.

Google Earth. 2020. Nam Suay School. Available: https://www.earth.google.com. Accessed Jan. 20, 2020.

Hubalek, Z. 2000. Measures of species diversity in ecology: An evaluation. Folia Zoologica. 49(4): 241–260.

Krebs, C. J. 1999. Ecological Methodology. 2nd Edition. Addison Wesley Longman Inc, California, USA.

Nabhitabhata, J., J. Nabhitabhata, A. Nateewathana, C. Sukhsangchan, C. Vidithayanon, T. Duangdee, K. Chalermwat, K. Sanpanich, P. Tantichodok, S. Bussarawit, J. Nugranad, J. Patamakanthin, P. Horpet, V. Vongpanich, U. Kovitvadhi, D. Krailas, Y. Chitramvong, A. Nagachinta, J. Jivaluk, S. Panha, C. Sutcharit, P. Dumrongrotwattana, C. Tumpeesuwan, S. Tumpeesuwan, P. Boon-ngam, and R. Chaijirawong. 2009. Mollusca Fauna in Thailand. Integrated Promotion Technology Co., Ltd. Bangkok, Thailand.

Odum, E. P. 1971. Fundamental of Ecology. 2nd Edition W. B. Sauders Comp, London, UK.

Ogbeide, J. O., M. I. Omogbeme, O. P. Uwaifo, and O. C. Oke. 2018. Land snail community structure and diversity in unprotected and protected forest areas of Ekiti State, Nigeria. European Scientific Journal. 14(27): 366-377.

Oke, O. C., and F. I. Alohan. 2006. The land snail diversity in a square kilometre of tropical rainforest in Okomu National Park, Edo State, Nigeria. African Scientist. 7(3): 135-142.

Oke, O. C., and U. J. Chokor. 2009. The effect of land use on snail species richness and diversity in the tropical rainforest of south – western Nigeria. African Scientist. 10(2): 95-108.

Oke, O. C., and U. J. Chokor. 2010. Land snail species richness and diversity in Idanre hills, Ondo State, Nigeria. African Journal of Ecology. 48: 1004-1008.

Panha, S., and J. B. Burch. 2005. An Introduction to the Microsnails of Thailand. Malacological Review. 37/38: 1-155.

Pettingill, O. S. 1950. A Laboratory and Field Manual of Ornithology. Burgress Publishing. Minnesota, USA.

Pielou, E. C. 1975. Ecological Diversity. Willey & Sons. New York, USA.

Schilthuizen, M., and H. A. Rutjes. 2001. Land snail diversity in a square kilometre of tropical rainforest in Sabah, Malaysian Borneo. Journal of Molluscan Studies. 67: 417-423.

Schilthuizen, M., H. N. Chai, T. E. Kimsin, and J. J. Vermeulen. 2003. Abundance and diversity of land snails (Mollusca: Gastropoda) on limestone hills in Borneo. The Raffles Bulletin of Zoology. 51(1): 35-42.

Tanmuangpak, K., C. Tumpeesuwan, and S. Tumpeesuwan. 2016. A new species of Sesara Albers, 1860 from northeastern Thailand (Stylommatophora: Helicarionidae). Molluscan Research. 37: 1-7.

Winter, A. J. De., and E. Gittenberger. 1998. The land snail fauna of a square kilometer patch of rainforest in southwestern Cameroon: high species richness, low abundance and seasonal fluctuations. Malacologia. 40(1-2): 231-250.