ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตของกระบองเพชร

Main Article Content

ชมัยพร อนุวงศ์
ณภัทร สำราญ
สุริยา ก่อสินวัฒนา

บทคัดย่อ

การศึกษาหาวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการปลูกกระบองเพชร ทั้ง 5 สกุล ได้แก่ Gymnocalycium mihanovichii, Melocactus amoenus, Echinopsis calochlora, Mammillaria prolifera และ Opuntia elata เพื่อลดต้นทุนในการผลิต โดยแบ่งเป็น 2 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 ผลของวัสดุปลูกที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของกระบองเพชร วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 4 กรรมวิธี ดังนี้ 1) ดินทางการค้า 2) ทราย:ดินใบก้ามปู:มูลไส้เดือน อัตรา 1:1:1 3) ขี้เถ้าแกลบ:ดินใบก้ามปู:มูลไส้เดือน อัตรา 1:1:1 4) ขุยมะพร้าว:ดินใบก้ามปู:มูลไส้เดือน อัตรา 1:1:1 ผลการทดลอง พบว่า การใช้ ขี้เถ้าแกลบ:ดินใบก้ามปู:มูลไส้เดือน อัตรา 1:1:1 ทำให้ความสูงของต้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น จำนวนราก และความยาวรากของกระบองเพชรทั้ง 5 สายพันธุ์ดีที่สุด การทดลองที่ 2 ผลของอัตราส่วนของวัสดุปลูกที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโตของกระบองเพชร วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 5 กรรมวิธี ดังนี้ 1) ขี้เถ้าแกลบ:ดินใบก้ามปู:มูลไส้เดือน อัตรา 1:1:1 2) อัตรา 0:2:1 3) อัตรา 1:0:2 4) อัตรา 2:1:0 และ 5) ขี้เถ้าแกลบ:ดินใบก้ามปู:ปุ๋ยออสโมโค้ท อัตรา 1:1:1 ผลการทดลอง พบว่า ขี้เถ้าแกลบ:ดินใบก้ามปู:ปุ๋ยออสโมโค้ท อัตรา 1:1:1 ส่งผลให้ความสูงของต้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น จำนวนราก และความยาวรากมากที่สุด ซึ่งไม่มีความแตกต่างกับการใช้ขี้เถ้าแกลบ:ดินใบก้ามปู:มูลไส้เดือน อัตรา 1:0:2 และยังสามารถลดต้นทุนของวัสดุปลูกกระบองเพชรในกระถางขนาด 3 นิ้วได้ เมื่อเทียบกับการใช้ปุ๋ยออสโมโค้ทหรือดินทางการค้า ประมาณ 2-3 บาทต่อกระถางอีกด้วย  

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)
Author Biography

ชมัยพร อนุวงศ์, ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สาขาวิชาพืชสวนและภูมิทัศน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.

References

กรมป่าไม้กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2561. จามจุรี. แหล่งข้อมูล: http://www.forest.go.th. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2562.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2550. คู่มือยุวหมอดิน. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2541. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เจนจิรา ชมภูคำ, สิริกาญจนา ตาแก้ว และณัฐพงค์ จันจุฬา. 2559. ผลของวัสดุปลูกต่อการงอกของเมล็ดการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของต้นกล้ามัลเบอร์รี่พันธุ์เวียดนาม GQ2. Thai Journal of Science and Technology. 5: 283-295.

ชมรมคนรักแคตตัสและกลุ่มซื้อขายแลกเปลี่ยนแคตตัส. 2561. จำหน่ายแคคตัส. แหล่งข้อมูล: https://www.facebook.com/. ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2562.

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ. 2561. วัสดุปลูกต้นไม้. แหล่งข้อมูล: https://www.facebook.com/. ค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2561.

ปวรวรรณ สีนาคล้วน. 2558. Cactus Lover แด่เธอผู้ตกหลุมรักแคคตัส. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์ อมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ.

พฤษภะ ณ อยุธยา. 2546. การปลูกแคคตัส. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์ พี พี เวิลด์ มีเดีย, กรุงเทพฯ.

ภวพล ศุภนันทนานนท์. 2559. แคคตัส CACTUS. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์ อมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ.

มุกดา สุขสวัสดิ์. 2561. วัสดุปลูกไม้ประดับ (ฉบับปรับปรุง). สำนักพิมพ์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ.

วิทยา สุริยาภณานนท์. 2534. อาหารและเครื่องปลูกของพืชสวน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สมชาย พรุเพชรแก้ว. 2560. การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อลดต้นทุนการผลิต. แหล่งข้อมูล: https://www.sdoae.doae.go. th, ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561.

Cactusfriday. 2560. ปุ๋ยออสโมโค้ท. แหล่งข้อมูล: https:// www.cactusfriday.com. ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2562.

Mini3garden. 2561. สูตรดินพร้อมปลูก. แหล่งข้อมูล: https://www.mini3garden.com. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2562.

Nanagarden. 2561. วัสดุปลูกต้นไม้. แหล่งข้อมูล: https://www.nanagarden.com. ค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2562.

Bilderback, T.E., S.L. Warren, J.S. Owen, Jr., and J.P. Albano. 2005. Healthy substrates need physicals too!. Hort Technology. 15(4): 747-751.

Fonteno, W.C., and C.T. Harden. 2003. Procedures for determining physical properties of horticultural substrates using the NCSU porometer. North Carolina State University, Raliegh, North Carolina.

Jonathan, B. S. 2012. Plant Growth and Root Zone Management of Greenhouse Grown Succulents. M. S. Thesis. Virginia Polytechnic Institute and State University, Blacksburg, VA.

Nelson, P. V. 1991. Greenhouse Operation and Management. Prentice Hall, Inc. New Jersey.

Sapna, P., Namita and N. Thakur. 2021. Cacti and Succulents. P. 151-163. In Flower Production & Gardening, P. K. Yadav and R. P. Singh. Nipa Genx Electronic Resources & Solutions P. Ltd., New Delhi, India.

Song, C. Y., S. D. Lee, I. T. Park, and C. H. Cho. 2007. Effect of media and planting depth on growth of cacti and succulents in a pot. Korean journal of horticultural science and technology. 25(4): 429-435.

Spomer, L. A. 1979. Three simple demonstrations of the physical effects of soil amendment. Hort Science. 14: 75-77.

Swetha, S., T. Padmalatha, K. D. Rao, and A. S. Shankar. 2014. Effect of potting media on growth and quality in Aglaonema. Journal of Horticultural Sciences. 9(1): 90-93.

The Spruce. 2021.What is Cactus Soil and How Does it Differ from Regular Potting Mix?.Available: https://www.thespruce.com/what-is-cactus-soil-5113988. Accessed Aug. 30, 2021