คุณภาพน้ำและการประเมินสถานภาพความอุดมสมบูรณ์โดยใช้คลอโรฟิลล์ เอ เป็นดัชนีชี้วัด: กรณีศึกษาแม่น้ำอิงตอนบนและตอนกลาง

Main Article Content

กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์
นิติ เอี่ยมชื่น
ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์
ศิริลักษณ์ ตันเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณภาพน้ำและประเมินสถานภาพความอุดมสมบูรณ์โดยใช้คลอโรฟิลล์ เอ เป็นดัชนีชี้วัดในแม่น้ำอิงตอนบนและตอนกลาง ดำเนินการโดยการสำรวจคุณภาพน้ำทุก 2 เดือน ตั้งแต่ เดือนมกราคม – ธันวาคม 2560 เก็บตัวอย่างในแม่น้ำอิงจำนวน 10 สถานี และในลำห้วยสาขา 10 สาย ซึ่งเป็นบริเวณรองรับมลพิษจากการใช้ประโยชน์ในพื้นที่รอบแม่น้ำอิงตอนบนและตอนกลาง นอกจากนี้ยังเก็บตัวอย่างจากพื้นที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษจากกิจกรรมประเภทต่างๆ อีก 12 สถานี ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำทุกสถานีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภท 2 ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ แสดงให้เห็นว่า ความอุดมสมบูรณ์จัดอยู่ในระดับต่ำ แหล่งชุมชนเมืองให้ระดับความเข้มข้นของมลพิษต่อหน่วยมากที่สุด (โดยมีระดับความเข้มข้นของแอมโมเนีย-ไนโตรเจนและออร์โธฟอสเฟตจากที่อยู่อาศัย เท่ากับ 33.90 และ 16.77 มก./ล. ปริมาณมลพิษรวมถูกปลดปล่อยจากแหล่งชุมชนเมืองเข้าสู่แหล่งน้ำมากที่สุด ปริมาณมลพิษจากธาตุอาหารส่วนใหญ่มีค่าสูงในช่วงฤดูแล้ง แบบจำลองเชิงบูรณาการโดยวิธี multivariate analysis แสดงการตอบสนองของคลอโรฟิลล์ เอ ต่อปัจจัยแวดล้อมทางน้ำต่างๆ พบว่า ปัจจัยต้นที่มีอิทธิพลต่อคลอโรฟิลล์ เอ คือ ความเป็นกรด-ด่าง ผลการศึกษาในภาพรวมแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในความเข้าใจด้านความแตกต่างของฤดูกาลมีผลต่อปริมาณสารอาหารที่ได้รับ ซึ่งความรู้ดังกล่าว นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการกำหนดแผนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางน้ำในพื้นที่แม่น้ำอิงตอนบนและตอนกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมควบคุมมลพิษ. 2562. มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำ. มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน. แหล่งข้อมูล: http://www.pcd.go.th/info_serv/reg_std_water05.html ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562.

กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์, ศิริลักษณ์ วลัญช์เพียร, และกรทิพย์ กันนิการ์. 2560. การประเมินระดับของมลพิษทางน้ำจากผลกระทบการใช้ประโยชน์ของชุมชน บริเวณกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 10 : 88-97.

จารุมาศ เมฆสัมพันธ์. 2558. จากต้นน้ำถึงปากแม่น้ำ บทบาททางนิเวศอุทกวิทยาและการจัดการเชิงอนุรักษ์. คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศิริลักษณ์ วลัญช์เพียร และ อภินันท์ สุวรรณรักษ์. 2556. ความหลากหลายของชนิดปลาในแม่น้ำอิง. แก่นเกษตร. 41 (ฉบับพิเศษ 1): 116-122.

สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ. 2553. รายงานประจำปีสำนักจัดการคุณภาพน้ำ 2552. กรมควบคุมมลพิษ, กรุงเทพฯ.

สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล. 2556. คุณภาพน้ำเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ. มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

RECOFTC. 2562. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายท้องถิ่นและหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอิงอย่างยั่งยืน. แหล่งข้อมูล: https://archive.recoftc.org/node/104686. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562.

Ahmed, Z., Mohammed, F., and Rahman A. 2012. Ecomonitoring of Climate Impact on Tilapia niloticus Performance and Development of Different Histopathological Change. Global Veterinaria 8: 209-221.

APHA, AWWA and WEF. 2012. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater 22nd ed. American Public Health Association, Washington D.C.

Cowan, V.J., Lorenzen, K., Funge-Smith, S. J. 1999. Impact of culture intensity and monsoon season on water quality in Thai commercial shrimp ponds. Aquaculture Research 30: 123-133.

Nusch, E.A.E. 1980. Comparison of Different Methods for Chlorophyll and Phaeopigment. Archiv fUr Hydrobiologie 14: 14-36.

Ryding, S. - O. and W. Rast. 1989. The Control of Eutrophication of Lakes and Reservoirs. Man and the Biosphere Series 1. Unesco, Paris and Parthenon Publishing, Carnforth.

Soontornprasit, K. and Meksumpun, C. 2008. Analysis of Aquatic Ecosystem Response for Zonation Management Approach: A Case Study of Bangpakong River and Adjacent Canals in Ban Pho Town, Chachoengsao Province, Thailand. Kasetsart J. (Nat. Sci.) 42: 513 – 521.

Strickland, J.D.H. and Parsons, T.R. 1972. A practical handbook of seawater analysis. Fisheries research board of Canada 2 ed. Bulletin 167, Ottawa.