การเปรียบเทียบสมรรถนะการผสมในการประเมินข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมืองเพื่อพัฒนาข้าวโพดเทียนพันธุ์ลูกผสม

Main Article Content

เอกรินทร์ สารีพัว
ชยพร แอคะรัจน์

บทคัดย่อ

การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดพันธุ์ใหม่ในเป้าหมายของนักปรับปรุงพันธุ์ คือ การใช้ศักยภาพของพันธุ์ลูกผสม อย่างไรก็ตาม  การจะได้พันธุ์ลูกผสมที่ดีนั้นต้องมาจากสายพันธุ์พ่อแม่ที่ดี จึงทำให้การคัดเลือกพันธุ์เพื่อสกัดสายพันธุ์แท้มีความสำคัญต่อโปรแกรมปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเทียนอย่างยิ่ง ดังนั้น จึงได้ทำการการทดสอบสมรรถนะการผสมของข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมืองเพื่อคัดเลือกพันธุ์สำหรับการสกัดสายพันธุ์แท้ โดยนำข้าวโพดเทียนพันธุ์พื้นเมืองที่มีความแตกต่างกัน จำนวน 6 สายพันธุ์ ทำการสร้างลูกผสมโดยใช้แผนการผสมแบบพบกันหมด ได้คู่ผสมจำนวน 30 คู่ผสม ดำเนินการปลูกทดสอบพันธุ์ใน 2 สภาพแวดล้อม วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ จากผลการทดลอง พบว่า สภาพแวดล้อมที่ต่างกันมีผลทำให้ผลผลิตของฝักแรก ขนาดของฝักแรกและฝักที่สอง ความสูงฝักและต้น อายุออกไหม และอายุการเก็บเกี่ยวแตกต่างกัน  ส่วนการศึกษาสมรรถนะการผสม พบว่า ผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวโพดเทียนมีพันธุกรรมของยีนที่ควบคุมเป็นแบบผลบวก ในขณะที่ลักษณะองค์ประกอบผลผลิตมีพันธุกรรมของยีนที่ควบคุมเป็นแบบข่ม สำหรับการคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดเทียนพื้นเมืองเพื่อสกัดสายพันธุ์แท้ พบว่า พันธุ์เทียนดำนากาย มีสมรรถนะการผสมและค่าเฉลี่ยในลักษณะผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตในฝักแรก และฝักที่สองดีที่สุด แต่ในลักษณะทางการเกษตร พบว่า พันธุ์ตักหงายเลย มีสมรรถนะการผสมและค่าเฉลี่ยดีที่สุด ซึ่งเหมาะที่จะนำไปสกัดสายพันธุ์แท้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กมล เลิศรัตน์. 2536. การปรับปรุงพันธุ์พืชผสมข้าม. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

กมล เลิศรัตน์. 2550. แนวทางการใช้ประโยชน์จากยีนด้อยการปรับปรุงคุณภาพ ข้าวโพดรับประทานฝักสด. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

กิตติ บุญเลิศนิรันดร์, ระวีวรรณ สุวรรณศร และสุชาดา บุญเลิศนิรันดร์. 2555. การทดสอบผลผลิตประชากรลูกผสมชั่วที่ 2 ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ข้าวโพดหวานกับข้าวโพดเทียน. แก่นเกษตร. 40: 37-46.

ชบา ทาดาวงษา, กมล เลิศรัตน์ และพลัง สุริหาร. 2558. สมรรถนะการรวมตัวของจำนวนฝักและน้ำหนักผลผลิตฝักสดในข้าวโพดเทียนสีม่วงสายพันธุ์แท้. แก่นเกษตร. 43: 557-564.

Beck, D.L., S.K. Vasal, and J. Crossa. 1991. Heterosis and combining a bility among subtropical and temperateintermediate maturity maize germplasm. Crop science. 31: 68-73.

Kesornkeaw, P., K. Lertrat, and B. Suriharn. 2009. Response to four cycles of mass selection for prolificacyat low and high population densities in small ear waxycorn. Asian journal plant science. 8: 425-432.

Machida, L., J. Derera, P. Tongoona, and J. MacRobert. 2010. Combining ability and reciprocal cross effects of elite quality protein maize inbred lines in subtropical environments. Crop science. 50: 1708-1717.

Nass, L.L., M. Lima, R. Vencovsky, and P.B. Gallo. 2000. Combining ability of maize inbred lines evaluation in three environments in Brazil. Scientia Agricola. 57: 129-134.

Phumichai C., W. Doungchan, P. Puddhanon, S. Jampatong, P. Grudloyma and C. Kirdsri. 2008. SSR-base and grain yield –base diversity of hybrid maize in Thailand. Field Crop Research 108: 157-162.

Sharief, A., S. El-Kalla, H. Gado and H. Abo-Yousef. 2009. Heterosis in yellow maize. Australian Journal of Crop Science 3: 146-154