พริกเรดซันอีสาน: พริกพันธุ์ดีสู่การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพ

Main Article Content

ธัญญารัตน์ ตาอินต๊ะ
ญาณิศา แสงสอดแก้ว
วันวิสา ใจราช
สุชีลา เตชะวงค์เสถียร

บทคัดย่อ

เนื่องจากความต้องการพริกพันธุ์ดีที่มีสารเผ็ดสูง อีกทั้งเป็นพันธุ์ลูกผสมทางการค้าที่ใช้พันธุ์แม่มีลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมันมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้พัฒนาพันธุ์พริกลูกผสมพันธุ์ใหม่ขึ้น และได้จดสิทธิบัตรคุ้มครองพืชพันธุ์ใหม่ ให้ชื่อว่า “พริกเรดซันอีสาน” ในปี 2559 โดยมีลักษณะดีเด่น คือ เป็นพริกลูกผสมที่ใช้พันธุ์แม่ที่มีลักษณะเกสรเพศผู้เป็นหมัน มีผลผลิตสูง (ผลผลิตประมาณ 3,000 กิโลกรัมต่อไร่) ผลเรียวยาว ผลมีสีแดงเข้ม มีเนื้อผลบางทำให้ตากแห้งเร็ว ความเผ็ดค่อนข้างสูง และสม่ำเสมอ (72,000 Scoville Heat Unit; SHU) ต้านทานต่อโรคและแมลง เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมพริกแห้งและพริกป่น นอกจากนี้พริกเรดซันอีสานยังใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พริกปรุงรสสมุนไพร จนกระทั่งกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ดำเนินการจนสมบูรณ์ ผ่านการยื่นจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร โดยให้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า “พริกปรุงรส” อีกทั้ง พริกปรุงรสได้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สำหรับงานแสดงผลงานผลิตภัณฑ์จากพริกและการประกวดออกแบบแบรนด์ และบรรจุภัณฑ์พริก และในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 บริษัท สปาการเกษตร จำกัด ได้ขออนุญาตนำ พันธุ์พริกเรดซันอีสานไปใช้ประโยชน์เชิงการค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ธัญญารัตน์ ตาอินต๊ะ และ สุชีลา เตชะวงค์เสถียร. 2559. การประเมินลักษณะทางพันธุกรรมเกสรเพศผู้เป็นหมันในพริกพันธุ์ปรับปรุงของมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3: 60-65.

ศุกฤชชญา เหมะธุลิน และ สุชีลา เตชะวงค์เสถียร. 2560. ผลของสายพันธุ์พริกและเครื่องเทศต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์พริกปรุงรสสมุนไพร. แก่นเกษตร. 45: 272-278.

สุชีลา เตชะวงค์เสถียร. 2557. พริก: นวัตกรรม จากทฤษฎีการปรับปรุงพันธุ์พืชสู่การใช้ประโยชน์. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น. 285 หน้า.

สุชีลา เตชะวงค์เสถียร. 2561. มุมมองการพัฒนาพันธุ์พริกโดย ศ. ดร. สุชีลา เตชะวงค์เสถียร นักปรับปรุงพันธุ์พริกของไทย. เคหการเกษตร. 42: 074-077.

Basset, M. J. 1986. Breeding Vegetable Crop. AVI Publishing Company Inc., Westport, Conn.

Min, W. K., Kim S., Sung S. K., Kim B. D. and Lee S. 2009. Allelic discrimination of the Restorer-of-fertility gene and its inheritance in peppers (Capsicum annuum L.). Theor. Appl. Genet. 119: 1289-1299.