ปริมาณเมล็ดแข็ง คุณภาพเมล็ดพันธุ์ และองค์ประกอบทางเคมีของถั่วเขียวผิวมันและถั่วเขียวผิวดำในฤดูแล้งและฤดูปลายฝน

Main Article Content

กนกวรรณ เที่ยงธรรม
พรศิริ เลี้ยงสกุล
จุฑามาศ ร่มแก้ว
ประกิจ สมท่า

บทคัดย่อ

เมล็ดแข็งหรือถั่วหินเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งในอุตสาหกรรมเพาะถั่วงอก และแปรรูปถั่วเขียว แต่ยังไม่มีรายงานปริมาณเมล็ดแข็งในพื้นที่เพาะปลูกถั่วเขียวของประเทศไทย งานวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปริมาณเมล็ดแข็ง คุณภาพเมล็ดพันธุ์ และองค์ประกอบทางเคมีของถั่วเขียวผิวมันและถั่วเขียวผิวดำจากแปลงเกษตรกรทั้งในฤดูแล้งและฤดูปลายฝนในพื้นที่ปลูกถั่วเขียวที่สำคัญของประเทศไทย โดยการสำรวจและเก็บตัวอย่างเมล็ดถั่วเขียวในปีเพาะปลูก 2560 ทั้งหมด 121 ตัวอย่าง จาก 10 จังหวัดบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ผลการสำรวจพบว่า ปริมาณเมล็ดเมล็ดแข็งในตัวอย่างถั่วเขียวผิวดำสูงกว่าถั่วเขียวผิวมันทั้งในฤดูแล้งและฤดูปลายฝน โดยตัวอย่างในฤดูแล้งและฤดูปลายฝนมีปริมาณเมล็ดแข็งเฉลี่ย 0.21 และ 1.72% ในถั่วเขียวผิวมัน และ 5.35 และ 23.36% ในถั่วเขียวผิวดำ ตามลำดับ จากการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์ พบว่า ตัวอย่างถั่วเขียวจากฤดูแล้งมีคุณภาพดีกว่าฤดูปลายฝนทั้งในถั่วเขียวผิวมันและถั่วเขียวผิวดำ ส่วนผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดพบว่า ตัวอย่างถั่วเขียวผิวมันจากฤดูแล้งมีเปอร์เซ็นต์โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าฤดูปลายฝน แต่องค์ประกอบทางเคมีของถั่วเขียวผิวดำจากทั้งสองฤดูปลูกไม่แตกต่างกัน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเมล็ดแข็งกับคุณภาพเมล็ดพันธุ์และองค์ประกอบทางเคมี พบว่า ปริมาณเมล็ดแข็งมีความสัมพันธ์เชิงลบกับน้ำหนัก 100 เมล็ดมากที่สุด (r = -0.60) และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับเยื่อใย (r = 0.25) และเถ้า (r = 0.25)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมศุลกากร. 2558. สถิติการนําเข้า-ส่งออก. http://www.customs.go.th/Statistic/StatisticIndex.jsp. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2559.

จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2529. การตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์. กลุ่มหนังสือเกษตร, กรุงเทพฯ.

จิราลักษณ์ ภูมิไธสง. 2558. เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวให้มีคุณภาพ. รายงานโครงการวิจัยกรมวิชาการเกษตร. http://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=2102. ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2561.

ชูชาติ บุญศักดิ์. 2558. เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวให้มีคุณภาพ. http://ssnet.doae.go.th/wp-content/uploads/2016/02/2558-12-16-เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธู์ถั่วเขียว-ชูชาติ-1.pdf. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2559.

ธีระพล ศิลกุล. 2539. ศึกษาระยะพักตัวของถั่วเขียวและถั่วเขียวผิวดำเมล็ดแข็งที่เก็บในสภาพแวดล้อมต่างๆ. ผลงานฉบับเต็มขอประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการเกษตร 6ว.

พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์. 2547. ถั่วเขียว. หน้า 152-165. ใน: พืชเศรษฐกิจ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2541. การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2558. ถั่วเขียว. http://www.oae.go.th/download/download_journal/2559/yearbook58.pdf. ค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2559.

สุวิมล ถนอมทรัพย์. 2538. พัฒนาการของเยื่อหุ้มเมล็ดและผลของความชื้นสัมพัทธ์ที่มีต่อการเกิดลักษณะเมล็ดแข็งในถั่วเขียว. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อารดา มาสริ, สุมนา งามผ่องใส, พจนีย์ นาคีรักษ์, อาณัติ วัฒนสิทธิ์, สุวิมล ถนอมทรัพย์, สมชาย บุญประดับ, และ สุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง. 2551. ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมการเพาะถั่วงอก. แก่นเกษตร 36: 98-107.

อารดา มาสริ, ปวีณา ไชยวรรณ์, สุมนา งามผ่องใส, และ ศักดิ์ เพ่งผล. 2554. การสำรวจการผลิตถั่วเขียวผิวดำและอุตสาหกรรมการเพาะถั่วงอกในเขตภาคเหนือตอนล่าง. แก่นเกษตร 39: 283-290.

Ankom. 2006. Acid detergent fiber in feeds. Filter bag technique (For A2000, A2000I). Ankom Technology Method 8. Ankom Technology Corp. Macedon, NY.

AOAC. 1980. Official methods of analysis of association of official analytical chemists. 13th Edition.

AOAC. 2000. Official methods of analysis of association of official analytical chemists. 17th Edition.

AOAC. 2016. Official methods of analysis of association of official analytical chemists. 20th Edition. Method 920.39.

Araujo, R.F., J.B. Zonta, E.F. Araujo, E. Heberle, and F.M.G. Zonta. 2011. Teste de condutividade elétrica para sementes de feijão-mungo-verde. Revista Brasileira de Sementes. 33, 123-130.

El-Tabey Shehata, A.M. 1992. Hard-to-cook phenomenon in legumes. Food Rev. Inter. 8: 191-221.

Hailu, K. H. 2018. Determination of proximate composition and bioactive compounds of the Abyssinian purple wheat. Cogent. Food Agri. 4: 1421415.

Humphry, M., C. Lambrides, S. Chapman, E. Aitken, B. Imrie, R. Lawn, C. McIntyre, and C. Liu. 2005. Relationships between hard-seededness and seed weight in mungbean (Vigna radiata) assessed by QTL analysis. Plant Breed. 124: 292-298.

Hussain, A., B. Watts, and W. Bushuk. 1989. Hard-to-cook phenomenon in beans: changes in protein electrophoretic patterns during storage. J. Food Sci. 54: 1367-1368.

IRRI. 2018. Statistical tool for agrricultural research (STAR 2.0.1). http://bbi.irri.org/. Accessed 25 Dec. 2018.

Isemura, T., A. Kaga, S. Tabata, P. Somta, P. Srinives, T. Shimizu, U. Jo, D.A. Vaughan, and N. Tomooka. 2012. Construction of a genetic linkage map and genetic analysis of domestication related traits in mungbean (Vigna radiata). PloS one. 7: e41304.

ISTA. 2016. International rules for seed testing. The International Seed Testing Association, Zurich.

Kebede, H., J.R. Smith, and J.D. Ray. 2014. Identification of a single gene for seed coat impermeability in soybean PI 594619. Theo. App. Gen. 127: 1991-2003.

Lawn, R., R. Williams, and B. Imrie. 1988. Potential of wild germplasm as a source of tolerance to environmental stresses in mungbean. P. 136-145. In: Second International Symposium on Mungbean, 16-20 November 1987. Bangkok, Thailand.

Liu, K., K.H. McWatters, and R.D. Phillips. 1992. Protein insolubilization and thermal destabilization during storage as related to hard-to-cook defect in cowpeas. J. Agri. Food Chem. 40: 2483-2487.

Matthews, S. and M. Khajeh Hosseini. 2006. Mean germination time as an indicator of emergence performance in soil of seed lots of maize (Zea mays). Seed Sci. Tech. 34: 339-347.

Potts, H., J. Duangpatra, W. Hairston, and J. Delouche. 1978. Some influences of hardseededness on soybean seed quality. Crop Sci. 18: 221-224.

Reyes-Moreno, C., J. Okamura-Esparza, E. Armienta-Rodelo, R.M. Gómez-Garza, and J. Milán-Carrillo. 2000. Hard-to-cook phenomenon in chickpeas (Cicer arietinum L): Effect of accelerated storage on quality. Plant Foods for Human Nutri. 55: 229-241.

Reyes-Moreno, C., O. Paredes-López, and E. Gonzalez. 1993. Hard-to-cook phenomenon in common beans—A review. Cri. Rev. Food Sci. Nutri. 33: 227-286.

Rodriguez, F.M. and E.M.T. Mendoza. 1990. Physicochemical basis for hardseededness in mungbean (Vigna radiata (L.) Wilczek). J. Agri. Food Chem. 38: 29-32.

Rolston, M.P. 1978. Water impermeable seed dormancy. Bot. Rev. 44: 365-396.

Haytowitz, D.B., J.K. Ahuja, X. Wu, M. Khan, M. Somanchi, M.S. Nickle, Q. Nguyen, J.M. Roseland, J.R. Williams, K. Patterson, Y. Li, and P.R. Pehrsson. 2018. USDA National nutrient database for standard reference, https://www.ars.usda.gov/research/publications/publication/?seqNo115=349687. Accessed 25 Dec. 2018.

Wasala, S., W. Fernando, and I. Narasinghe. 2012. Hardseededness of Local Mungbean (Vigna radiata) Varieties. Tropical Agricultural Research and Extension 14.