ความต้องการการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อมรรัตน์ เวชการ
สุกัลยา เชิญขวัญ
ประภัสสร เกียรติสุรนนท์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร จากลักษณะพื้นฐานบางประการของเกษตรกร สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ความต้องการการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกร และเปรียบเทียบความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 265 ราย ในช่วงเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test และ F-test และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธี Scheffe’ test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ผลจากการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมเพิ่มขึ้นในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ในระดับมาก ด้านความรู้เรื่องโรคแมลงศัตรูหม่อนและการป้องกันโรคและแมลงศัตรูหม่อน การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหม เกษตรกรต้องการทัศนศึกษาดูงานนอกสถานที่ ต้องการการฝึกอบรมในพื้นที่ และต้องการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ การสนับสนุนไข่ไหม การประกันราคาไหม และการส่งเสริมการสร้างกลุ่มเครือข่ายระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ผลการเปรียบเทียบความต้องการการส่งเสริม พบว่า เกษตรกรที่มี อายุ พื้นที่ถือครอง จำนวนแรงงานในครัวเรือน การฝึกอบรมเรื่องไหม และประสบการณ์การเลี้ยงไหมที่แตกต่างกัน มีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในบางประเด็น

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมหม่อนไหม. 2552. ข้อมูลสถิติด้านหม่อนไหม พ.ศ 2552. http://qsds.go.th/newqsds/file_upload/2014-03-13-datasilk_page_1.jpg.ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560.

กรมหม่อนไหม. 2557. ข้อมูลสถิติด้านหม่อนไหม พ.ศ 2557. http://qsds.go.th/newqsds/inside_page.php?pageid=54. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560.

ณัฐนาท สันทัดพร้อม. 2549. ความต้องการการส่งเสริมและบริการของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ณัฐวุฒิ มณีรัตน์. 2548. ความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ทรงวุฒิ เดชวิชิตชัย. 2546. ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงกระบือของเกษตรกร ในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ภานินี จงแก้ว. 2550. ความต้องการของเกษตรกรต่อการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมใน เขตอําเภอนิคมคําสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ยุพวัลย์ ชมชื่นดี. 2554. สภาพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของเกษตรกรบ้านหนองปื้ด ตำบลหนองขาม อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

วิยะดา ศรีบุญเรือง. 2553. ความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในพื้นที่อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ศิริพร บุญชู และนันทวรรณ รักพงษ์. 2555. ภูมิปัญญาการผลิตเส้นไหมไทยพื้นบ้านอีสาน.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ศรีสะเกษ. 2559ก. ทะเบียนรายชื่อเกษตรกรผู้รับไข่ไหม ปี 2559.ลุ่มงานผลิตพันธุ์หม่อนไหม. กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ศรีสะเกษ. 2559ข. ข้อมูลผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและผลผลิต ปี 2559. กลุ่มงานส่งเสริมหม่อนไหม. กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สมหญิง ชูประยูร. 2546. ไหม: ราชินีแห่งเส้นใย. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

สมหญิง ชูประยูร. 2557. องค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไหมไทย. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

แสงอรุณ เนื่องสิทธิ์. 2551. ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในกระชังของเกษตรกรในบริเวณอ่างเก็บน้ำลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

Cronbach, Lee. J. 1990 . Essentials of Psychology Testing. 5th Ed. New York : Harper Collins Publishers Inc. อ้างถึงใน บุญชม ศรีสะอาด. 2535. การวิจัยเบื้องต้น. สำนักพิมพ์สุวิริสาส์น, กรุงเทพฯ.

Yamane, Taro. 1967. Statistics, An Introductory Analysis. 3rd Ed,. New York: Harper Row Publishers.