ผลผลของการฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีทางใบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 และชัยนาท 72ปุ๋ยสังกะสีทางใบต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 และชัยนาท 72

Main Article Content

สายชล สุขญาณกิจ
ศานิต สวัสดิกาญจน์
ภารดี แซ่อึ้ง
โสภิดา จิวประเสริฐ
ธนวรรณ พาณิชพัฒน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ:สังกะสีเป็นจุลธาตุที่เป็นองค์ประกอบของเอ็นไซม์และโปรตีนในพืช การดูดใช้สังกะสีในพืชมักถูกรบกวนโดยฟอสฟอรัสหรืออินทรียวัตถุในดิน ดังนั้นการฉีดพ่นสังกะสีเป็นปุ๋ยทางใบจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอัตราการฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตถั่วเขียว ทำการทดลองในแปลงเกษตรกร อ. บางไทร จ. พระนครศรีอยุธยา โดยทดสอบฉีดพ่นสังกะสีทางใบในถั่วเขียวสองสายพันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ 2x5 factorial in RCB จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัยคือ 1) พันธุ์ถั่วเขียว ได้แก่ พันธุ์ชัยนาท 84-1 และพันธุ์ชัยนาท 72 2) อัตราการฉีดพ่นสังกะสีคือ 0, 0.25, 0.5, 0.75 และ 1.0 % Zn(NO3)2.6H2O ผลการทดลองพบว่า การฉีดพ่นสังกะสีอัตรา 0.25-1.0% ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต องค์ประกอบของผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของถั่วเขียวทั้งสองสายพันธุ์ ในถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 การฉีดพ่นสังกะสีอัตรา 1.0% ให้ผลผลิตเมล็ดและชีวมวลส่วนต้นและใบสูงที่สุด (326 และ 1,070 กก./ไร่) ส่วนพันธุ์ชัยนาท 72 พบว่าการฉีดพ่นสังกะสีอัตรา 0.5% ให้ ผลผลิตเมล็ดและชีวมวลส่วนต้นและใบสูงที่สุด (388 และ 1,385 กก./ไร่) การดูดใช้สังกะสีทั้งในส่วนเมล็ดและส่วนลำต้นและใบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอัตราการฉีดพ่นสังกะสี เช่นเดียวกันกับปริมาณโปรตีนในเมล็ดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อฉีดพ่นสังกะสีโดยพบว่า การฉีดพ่นสังกะสีอัตรา 0.5 และ 0.75% ให้ปริมาณโปรตีนในเมล็ดถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 72 และชัยนาท 84-1 สูงที่สุด (4.12 และ 3.80% ตามลำดับ) ในทางตรงข้ามการเพิ่มอัตราฉีดพ่นสังกะสีกลับมีแนวโน้มทำให้ปริมาณเหล็กในเมล็ดมีค่าลดลงอย่างชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 72

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2559. ลักษณะและสมบัติของชุดดินภาคกลาง. แหล่งข้อมูล: www.ldd.go.th/thaisoils_museum/pf_desc/central/ Ay.html. ค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2559.

ธงชัย มาลา. 2550. ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ: เทคนิคการผลิตและการใช้ประโยชน์. พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 300 หน้า.

พัชรินทร์ ตุ้ยวงค์, เพ็ญนภา จักร์สมศักดิ์, เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม และชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย. 2558. ผลของการพ่นสังกะสีที่ใบต่อผลผลิตและการสะสมธาตุสังกะสีในข้าวกล้องของข้าวพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ปรับปรุง. แก่นเกษตร 43: 605-612.

พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์. 2542. ถั่วเขียว. หน้า 143-156. ใน พืชเศรษฐกิจ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ยงยุทธ โอสถสภา. 2558. ธาตุอาหารพืช. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 548 หน้า.

ยงยุทธ โอสถสภา อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และ ชวลิต ฮงประยูร. 2556. ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 519 หน้า.

รัชนีพร โพธินาม, อนุชิตา มุ่งงาม และ ทัตดาว ภาษีผล. 2559. องค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของสตาร์ชจากถั่วเขียวและถั่วพุ่มและการประยุกต์ใช้ในการผลิตวุ้นเส้น. แก่นเกษตร 44: 1073-1079.

ศานิต สวัสดิกาญจน์. 2556. พืชไร่เศรษฐกิจ. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ม กรุงเทพฯ. 376 หน้า.

ศูนย์บริการฉายรังสีแกมมาและวิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี. 2562. พืชพันธุ์กลายในประเทศไทย: ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 72. แหล่งข้อมูล: https://www.sci.ku.ac.th/Gamma/database/Greenbean/Gbean.htm. ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2562.

สุมนา งามผ่องใส, สุวิมล ถนอมทรัพย์, สมทรง โชติชื่น, อรุณี วงศ์ปิยะสถิตย์, จิราลักษณ์ ภูมิไธสง, อารดา มาสริ, พัชราพร หนูวิสัย, สันติ พรหมคำ, เชาวนาถ พฤทธิเทพ, ชูชาติ บุญศักดิ์, นรีลักษณ์ วรรณสาย, สมชาย บุญประดับ, รวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์, นงลักษ์ ปั้นลาย, นัฐภัทร คำหล้า, อรรณพ กสิวิวัฒน์, พรพุฒิ ประเสริฐกุล, มัทนา ศรีหัตถกรรม, อัจฉรา จอมสง่าวงศ์, ปวีณา ไชยวรรณ์, วันชัย ถนอมทรัพย์, วิไลวรรณ พรหมคำ และศักดิ์ เพ่งผล. 2555. ถั่วเขียวพันธุ์ใหม่ “ชัยนาท 84-1”. รายงานวิจัยและพัฒนา ปี 2555. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพ ฯ.

สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา. 2561. แผนการบริการจัดการน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทานปี 2561/62. กรมชลประทาน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

Abbaspour, N., R. Hurrell and R. Kelishadi. 2014. Review on iron and its importance for human health. J. Res. Med. Sci. 19: 164-174.

Akinrinde, E.A. and T. Gaizer. 2006. Differences in the performance and phosphorus use efficiency of some tropical rice (Oryza sativa L.) varieties. Pakistan Journal of Nutrition, Pakistan J. Nutri. 5: 206-211.

Alloway, B.J. 2008. Zinc in Soils and Crop Nutrition, 2nd Ed. IZA and IFA, Brussels, Belgium and Paris, France.

AOAC. 1990. Official method of analysis. 15th eds. Association of Official Analytical Chemistry Inc. Arlington, Virginia, USA.

Bennour, H.A.M. 2012. Influence of pH and ionic strength on the adsorption of copper and zinc in bentonite Clay. Chem. Sci. Trans. 1: 371-381.

Boonchuay, P., I. Cakmak, B. Rerkasem, and C. Prom-u-thai. 2013. Effect of different foliar zinc application at different growth stages on seed zinc concentration and its impact on seedling vigor in rice. Soil Sci Plant Nutr. 59: 182-187.

Cakmak, I., 2008. Enrichment of cereal grains with zinc: Agronomic or genetic biofortification. Plant and Soil. 302: 1–17.

Chittamart, N., J. Inkam, D. Ketrot and T. Darunsontaya. 2016. Geochemical fractionation and absorption characteristic of Zn in Thai major calcareous soils. Commun. Soil Sci. Plant Anal. 47: 2348–2363.

Dobermann, A. and T. Fairhurst. 2000. Rice: Nutrient Disorders and Nutrient Management. Potash and phosphate institute (PPI), Phosphate institute of Canada (PPIC) and International rice research institute (IRRI).

Fageria, N.K., M.P. Barbosa Filho and A.B. Santos. 2008. Growth and zinc uptake and use efficiency in food crops, Commun. Soil Sci. Plant Anal. 39: 2258-2269.

Fan, T.T., Y.J. Wang, C.B. Li, J.Z. He, J. Gao, D.M. Zhou, S.P. Friedman and D.L. Sparks. 2016. Effect of organic matter on sorption of Zn on soil: Elucidation by wien effect measurements and EXAFS spectroscopy. Environ. Sci. Technol. 50: 2931-2937.

FAO Project Staff and Land Classification Division. 1973. Soil Interpret ation Handbook for Thailand. Land Development Department, Ministry of Agriculture and Co-operative, Bangkok.

Grewal, H.S., and R.D. Graham. 1999. Residual effects of subsoil zinc and oilseed rape genotype on the grain yield and distribution of zinc in wheat. Plant and Soil 207: 29–36.

Huang, B., Z. Li, J. Huang, L. Guo, X. Nie, Y. Wang, Y. Zhang and G. Zeng. 2014. Adsorption characteristics of Cu and Zn onto various size fractions of aggregates from red paddy soil. J. Hazard. Materials 264: 176–183.

Jyung, W.H., M.E. Camp, D.E. Polson, M.W. Afams and S.H. Witter. 1972. Differential response of two bean varieties to zinc as revealed by electrophoretic protein pattern. Crop Sci. 12: 26-29.

Kabata-Pendias, A. 2004. Soil plant transfer to trace element an environmental issue. Geoderma 122: 143-149.

Kabata-Pendias, A. and H. Pendias. 1992. Trace Elements in Soil and Plant, 2nd ed. CCR Press, Boca Raton, Florida.

Kandoliya, R.U., H.L. Sakarvadiya and B.B. Kunjadia. 2018. Effect of zinc and iron application on leaf chlorophyll, carotenoid, grain yield and quality of wheat in calcareous soil of Saurashtra region. Inter. J. Chem. Studies 6: 2092-2096.

Mandal, B. and L.N. Mandal. 1990. Effect of phosphorus application on transformation of zinc fraction in soil and on the zinc nutrition of lowland rice. Plant and Soil 121: 115-123.

Martin, L., M. Decourteix, E. Badel, S. Huguet, B. Moulia, J.L. Julien and N.L. Fournier . 2014. The zinc finger protein PtaZFP2 negatively controls stem growth and gene expression responsiveness to external mechanical loads in poplar. New Phytologist 203: 168-181.

McCall, K.A., C.C. Huang and C.A. Fierke. 2000. Function and mechanism of zinc metalloenzymes. J. Nutr. 130 (suppl): 1437-1446.

Mousavi, S.R., M. Galavi and M. Rezaei. 2012. The interaction of zinc with other elements in plants: a review. Inter. J. Agri. Crop Sci. 4: 1881-1884.

National Soil Survey Center. 1996. Soil Survey Laboratory Methods Manual. Soil Survey Investigations Report No. 42, Version 3.0. Natural Resources Conservation Service, USDA, Washington D.C.

Pequerul, A., C. Pérez, P. Madero, J. Val and E. Monge. 1993. A rapid wet digestion method for plant analysis. pp. 3-6. In M.A. C. Fragoso and M.L. van Beusichem eds. Optimization of Plant Nutrition. Kluwer Academic Publishers.

Phuphong, P., I. Cakmak, B. Dell and C. Prom-u-thai. 2018. Effects of foliar application of zinc on grain yield and zinc concentration of rice in farmers’ fields. CMU J. Nat. Sci. 17: 181-190.

Prasad, M.N.V. 1999. Metallothioneins and metal binding complexes in plants. pp. 51-72. In M.N.V. Prasad and J. Hagemeyer. eds. Heavy Metal Strass in Plant. Springer- Verlag, Berlin, Germany.

Ranjha, A.M., I. Ahmed, M. Iqbal and M.J. Ahmed. 2001. Rice response to applied phosphorus, zinc and farmyard manure. Inter. Agri. Biolo. 2: 197-198.

Samreen, T., H.U. Shah, S Ullah and M. Javid. 2017. Zinc effect on growth rate, chlorophyll, protein and mineral contents of hydroponically grown mungbeans plant (Vigna radiata). Arabian J. Chem. 10: 1802–1807.

Shahane, A.A., Y.S. Shivay, D. Kumar and R. Prasanna. 2018. Interaction effect of nitrogen, phosphorus, and zinc fertilization on growth, yield, and nutrient contents of aromatic rice varieties, J. Plant Nutri. 41: 2344-2355.

Shaheen, R., M.K. Samim and R. Mahmud. 2007. Effect of zinc on yield and zinc uptake by wheat on some soils of Bangladesh. J. Soil. Nature 1: 7-14.

Welch, R.M. and R.D. Graham. 2004. Breeding for micronutrients in staple food crops from a human nutrition perspective. J. Exper. Bot. 55: 353-364.