อิทธิพลของสายพันธุ์พ่อแม่และการตัดฟันต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตชีวมวลของลูกผสมข้ามชนิดระหว่างสบู่ดำกับเข็มปัตตาเวีย

Main Article Content

อนุรักษ์ อรัญญนาค
วิไลรัตน์ ฤกษ์วิรี
พัชรินทร์ ตัญญะ
พรศิริ เลี้ยงสกุล
พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์

บทคัดย่อ

การคัดเลือกสายพันธุ์พ่อแม่มีความสำคัญต่อการปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำลูกผสมข้ามชนิดที่มีศักยภาพทางชีวมวล งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสายพันธุ์พ่อแม่และการตัดฟันต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตชีวมวลของลูกผสมข้ามชนิดระหว่างสบู่ดำกับเข็มปัตตาเวีย โดยปลูกทดสอบลูกผสมข้ามชนิด ระหว่างสบู่ดำ 7 สายพันธุ์ กับเข็มปัตตาเวีย 3 สายพันธุ์ จำนวนรวม 325 ต้น ด้วยแผนการทดลองแบบ completely randomized design เป็นเวลา 2 ปี ในสภาพไร่ เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตและผลผลิตชีวมวลของลูกผสมในแต่ละรอบปี พบว่า สบู่ดำสายพันธุ์แม่และเข็มปัตตาเวียสายพันธุ์พ่อมีอิทธิพลต่อลักษณะการเจริญเติบโตและผลผลิตชีวมวลของลูกผสมทั้งก่อนและหลังการตัดฟัน สบู่ดำสายพันธุ์ P5 และเข็มปัตตาเวียสายพันธุ์ Ji2 สามารถให้ลูกผสมที่เจริญเติบโตได้ดี ผลผลิตชีวมวลสูง รวมถึงเนื้อไม้มีความชื้นต่ำและความหนาแน่นสูง การตัดฟันมีผลให้ลูกผสมมีขนาดกิ่งและขนาดทรงพุ่มลดลง แต่ทำให้ความเขียวใบและขนาดพื้นที่ใบเฉลี่ยเพิ่มขึ้น และแม้ว่าการตัดฟันทำให้ผลผลิตชีวมวลลดลงเล็กน้อย แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตเนื้อไม้แห้งรวมถึงความชื้นและความหนาแน่นของเนื้อไม้ แสดงว่ามีแนวโน้มที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตชีวมวลของสบู่ดำลูกผสมได้หลายปีโดยไม่ต้องปลูกใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

มะลิวัลย์ หฤทัยธนาสันติ์, เกษม หฤทัยธนาสันติ์, เอกพงษ์ ธนะวัติ, ศักดา พรมเลิศ และเอกชัย บ่ายแสงจันทร์. 2553. ศักยภาพของกระถินยักษ์ ยูคาลิปตัส กระถินเทพา และกระถินเทพณรงค์ในการปลูกเป็นสวนป่าพืชพลังงาน. น. 579-586. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2553. กรุงเทพมหานคร.

สินีนาฎ เกิดทรัพย์, พัชรินทร์ ตัญญะ, พรศิริ เลี้ยงสกุล และ อนุรักษ์ อรัญญนาค. 2559. ศักยภาพผลผลิตเนื้อไม้ของลูกผสมข้ามชนิดในพืชสกุล Jatropha. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 47: 361-364.

อนุรักษ์ อรัญญนาค, พัชรินทร์ ตัญญะ, พรศิริ เลี้ยงสกลุ และ พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์. 2561. การประเมินผลผลิตและชีวมวลในสบู่ดำลูกผสมภายในชนิดและลูกผสมข้ามชนิด. แก่นเกษตร. 46 : 1191-1202.

อนุรักษ์ อรัญญนาค, สินีนาฎ เกิดทรัพย์, พัชรินทร์ ตัญญะ, พรศิริ เลี้ยงสกุล และ พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์. 2562. การเปรียบเทียบศักยภาพทางชีวมวลในลูกผสมข้ามชนิดของพืชสกุล Jatropha. แก่นเกษตร. 47: 917-928.

Al-Sagheer, N.A., and A.G.D. Prasad. 2010. Variation in wood specific gravity, density and moisture content of Dipterocarpus indicus (Bedd). among different populations in Western Ghats of Karnataka, India. International Journal of Applied Agricultural Research. 5: 583–599.

Laosatit, K., P. Tanya, N. Muakrong, and P. Srinives. 2014. Development of interspecific and intergeneric hybrids among jatropha-related species and verification of the hybrids using EST–SSR markers. Plant Genetic Resources: Characterization and Utilization. 12: S58–S61.

Muakrong, N., K. Thida One, P. Tanya, and P. Srinives. 2014. Interspecific jatropha hybrid as a new promising source of woody biomass. Plant Genetic Resources: Characterization and Utilization. 12: 17 – 20.

Nyi, N., W. Sridokchan, W. Chai-arree and P. Srinives. 2012. Nondestructive measurement of photosynthetic pigments and nitrogen status in Jatropha (Jatropha curcas L.) by chlorophyll meter. Philippine Agricultural Scientist. 95: 83-89.

Tanya, P., P. Taeprayoon, Y. Hadkam, and P. Srinives. 2011. Genetic Diversity among Jatropha and Jatropha-Related Species Based on ISSR Markers. Plant Molecular Biology Reporter. 29: 252–264.