การรับรู้และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์มะม่วงหาวมะนาวโห่ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สมิทธ์ จุมพลพงษ์
ปริชาติ แสงคำเฉลียง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์มะม่วงหาวมะนาวโห่ในจังหวัดขอนแก่น เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามโดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มแบบโควต้าแบ่งสัดส่วนตามเพศและอายุของประชากรในจังหวัดขอนแก่น และรวบรวมข้อมูลแบบเผชิญหน้าสุ่มและแบบตามสะดวกระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2561 ซึ่งมีผู้บริโภคตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบไคสแควร์ จากผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคที่รู้จักมะม่วงหาวมะนาวโห่คิดเป็นร้อยละ 76.25 ผู้บริโภคที่เคยรับประทานมะม่วงหาวมะนาวโห่ผลสดคิดเป็นร้อยละ 50.25 และมีผู้บริโภคที่เคยซื้อมีเพียงร้อยละ 26.50 ซึ่งผู้บริโภครู้จักมะม่วงหาวมะนาวโห่แปรรูปและซื้อประเภทแช่อิ่มมากที่สุด จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่เคยรับประทานผลสด พบว่าปัจจัยด้านสถานภาพสมรสและมีบุตรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อมะม่วงหาวมะนาวโห่ของผู้บริโภค ได้แก่ การลดราคาผลิตภัณฑ์เมื่อผู้บริโภคซื้อในปริมาณที่มาก (3 กล่อง /100 บาท) การมีบริการจัดส่งสินค้า ควรระบุราคาอย่างชัดเจนในการจัดจำหน่าย และผลิตภัณฑ์จะต้องความสะอาด ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยหลักส่งผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์มะม่วงหาวมะนาวโห่ของผู้บริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์, ปรัชญา แพมงคล และศศิธร ป้อมเชียงพิณ. 2559. ผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ ชุมชนตำบลนกแขวก อำเภอบางที จังหวัดสมุทรสงคราม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพฯ.

กรมวิชาการเกษตร. 2561. ผลการดำเนินงานพืชมะม่วงหาวมะนาวโห่. แหล่งข้อมูล : http://gap.doa.go.th ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2561.

ณพัฐอร บัวฉุน. 2561. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีนอลิกของเมล็ดและเนื้อมะม่วงไม่รู้โห่. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13: 53-63.

พนธกร เหมะจันทร, ณัชชวรรณ์ รัมมะนพ และลภาวัน โลหิตไทย. 2562. ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 9: 87-100.

ประสิทธิ์ เอมศิรานันท์. 2554. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการซื้อของฝากประเภทผัก ผลไม้แปรรูป ในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ปิยพร ศรีกลิ่นสุวรรณ และมธุรดา อิ่มทรัพย์. 2555. การศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อผลไม้แปรรูปร้านบ้านกล้วย ตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ภรณี แย้มพันธ์. 2559. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ผักและผลไม้แปรรูปตราดอย.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ศิริญทิพย์ ซิวสารี. 2557. พฤติกรรมการเลือกซื้อมะขามแปรรูปของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่.

วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุธิพงศ์ ถิ่นเขาน้อย. 2556. เกษตรโฟกัส. สำนักพิมพ์นีออน บุ๊ค มีเดีย. กรุงเทพฯ.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2559. มาตรฐานสินค้าเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลนครขอนแก่น. 2559. ข้อมูลประชากร. แหล่งข้อมูล: http://www.kkmuni.go.th/ ค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2561.