อิทธิพลของต้นตอองุ่นกับการให้ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตองุ่นทำไวน์แดงพันธุ์ ‘Syrah’

Main Article Content

ศุภกร ศรีไทย
นเรศ ศิริเกษร
อานัฐ ตันโช
ชินพันธ์ ธนารุจ

บทคัดย่อ

การปลูกองุ่นโดยใช้องุ่นต้นตอพันธุ์ที่ต่างกันมีผลต่อการให้ปริมาณและคุณภาพขององุ่นที่แตกต่างกัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสายพันธุ์องุ่นต้นตอในการผลิตองุ่นทำไวน์แดงพันธุ์ ‘Syrah’ เพื่อให้ได้ปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสมต่อการผลิตไวน์ที่ดี โดยทำการเสียบยอดองุ่นทำไวน์แดงพันธุ์ ‘Syrah’ บนองุ่นต้นตอพันธุ์ ‘5 BB’, ‘125 AA’, ‘1103 P’, ‘5 C’, ‘110 R’, ‘IAC 572’, ‘1613 C’ และมีกิ่งปักชำองุ่นทำไวน์แดงพันธุ์ ‘Syrah’ เปรียบเทียบการให้ผลผลิตและคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การให้จำนวนช่อต่อต้นขององุ่นทำไวน์แดงพันธุ์ ‘Syrah’ ที่เสียบยอดบนองุ่นต้นตอพันธุ์ ‘110 R’, 5 BB’, ‘IAC 572’, ‘1103 P’, ‘1613 C’ และ ‘5 C’ ดีที่สุดที่ 18.00, 17.75, 14.50, 14.00, 13.25 และ 10.75 ช่อต่อต้น ตามลำดับ และองุ่นต้นตอพันธุ์ ‘5 BB’ และ ‘125 AA’ ให้น้ำหนักต่อช่อมากที่สุดที่ 117.69 และ 97.20 กรัมต่อช่อ ส่งผลให้องุ่นต้นตอพันธุ์ ‘5 BB’, ‘110 R’, ’1103 P’ ‘และ ‘IAC 572’ ให้ผลผลิตต่อต้นสูงที่สุด คือ 2,087.22, 1,538.10, 1,227.66 และ 1,033.85 กรัมต่อต้น ตามลำดับ ด้านคุณภาพ พบว่า กิ่งปักชำองุ่นทำไวน์แดงพันธุ์ ‘Syrah’ ที่ใช้ระบบรากของตัวเอง มีปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้มากที่สุด คือ 21 องศาบริกซ์ ความเป็นกรด-ด่าง องุ่นต้นตอพันธุ์ ‘1613 C’ ดีที่สุดที่ 3.4 จากการศึกษานี้พบว่าองุ่นต้นตอพันธุ์ ‘110 R’ มีการให้ปริมาณ (1,538.10 g) และคุณภาพ (TSS : 190 Brix) อยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมใช้เป็นองุ่นต้นตอ เพื่อผลิตองุ่นทำไวน์แดงพันธุ์ ‘Syrah’ ได้ดีที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กมลศักดิ์ ตั้งธรรมนิยม. 2540. คู่มือไวน์. บริษัท สำนักพิมพ์ดวงกมล จำกัด. กรุงเทพฯ.

ชินพันธ์ ธนารุจ. 2558. องุ่น เทคนิคการผลิตองุ่นเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต. สาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.

นันทกร บุญเกิด. 2546. คู่มือการสร้างสวนองุ่น. สมบูรณ์พริ้นติ้ง. นครราชสีมา.

สุภัทธา สุขชู และสมเกียรติ บุญศิริ. 2549. ไวน์ไทย New Latitude Wine. นิตยาสารผู้จัดการ. 24 (278).

สนั่น ขำเลิศ. 2526. หลักและวิธีการขยายพันธุ์พืช. ฟันนี่พับบลิชชิ่ง. กรุงเทพฯ.

สุรศักดิ์ นิลนนท์. 2555. เทคโนโลยีการผลิตองุ่นและการทำไวน์. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ

Coombe, B. G., and P.R. Dry. 1988. Viticulture. Vol. 1. Resources. Nation Library of Australia. Australia.

Galet, P. 1998. Grape varieties and Rootstock Varieties. Oenoplurimedia. France.

Keller, M., L. J. Mills, and J.F. Harbertson. 2011. Rootstock Effects on Deficit-Irrigated Winegrapes in a Dry Climate: Vigor, Yield Formation, and Fruit Ripening. American Journal of Enology and Viticulture. 63: 29-39.

Keller, M. 2012. Rootstock trials in wine grapes. Viticulture & Enology. Washington: Washington State University. American.

King, P. D., R. E. Smart, and D.J. Mcclellan. 2014. Within-vineyard variability in vine vegetative growth, yield and fruit and wine composition of Cabernet Sauvignon in Hawke’s Bay, New Zealand. Australian journal of Grape and Wine research. 20: 234-246.

Main, G., J. Morris, and K. Striegler. 2002. Rootstock effects on Chardonel productivity, fruit and wine composition. American Journal of Enology and Viticulture. 53: 37-40.

Patterson, T. 2003. Super Syrah. Wine Maker: WINEMAKER MAGAZINE. Available: https://winemakermag.com/648-super-syrah Accessed Nov. 5, 2017.

Robinson, J. 1992. Vines Grapes and Wines. Octopus Publishing Group Limited 1986. London.

Stevens, R.M., J. M. Pech, J. Taylor, P. Clingeleffer, R. R. Walker, and P.R. Nicholas. 2015. Effect of irrigation and rootstock on Vitis vinifera (L.) cv. Shiraz berry composition and shrivel, and wine composition and wine score. Australian journal of Grape and Wine research. 22 :187-207.