อุบัติการณ์ของยุงลายบ้าน Aedes aegypti (L.) บริเวณแหล่งเกาะพักภายในบ้านในเขตจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ชฎาพร แสงอาวุธ
ยุพา หาญบุญทรง
Hans Jørgen Overgaard
วิถี เหมือนวอน

บทคัดย่อ

ยุงลายบ้าน Aedes aegypti (L.) เป็นแมลงพาหะนำเชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออก งานวิจัยเพื่อการป้องกันกำจัดส่วนใหญ่จะเป็นการสำรวจเพื่อควบคุมลูกน้ำและตัวโม่งยุงลายบ้านในช่วงที่มีการระบาดของโรค เพื่อให้การลดประชากรยุงพาหะมีประสิทธิภาพสูงสุด ควรมีการควบคุมยุงลายบ้านทั้งในระยะลูกน้ำและตัวเต็มวัยในแหล่งที่อยู่อาศัยที่แท้จริงของยุงลาย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเกาะพักของยุงลายบ้านภายในบ้านเรือนเขตพื้นที่ชนบทของจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 120 ครัวเรือน ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2562 โดยเก็บตัวอย่างยุงตัวเต็มวัยภายในบ้านด้วยเครื่องดูด Prokopack aspirator ผลการศึกษาพบจำนวนยุงลายบ้านตัวเต็มวัยทั้งหมด 946 ตัว เพศผู้ 430 ตัว (45.5%) เพศเมีย 516 ตัว (54.5%) โดยบริเวณห้องนอนพบจำนวนยุงลายบ้านมากที่สุด สัดส่วนอัตราอุบัติการณ์ของยุงลายบ้านในห้องนอนมีมากกว่าห้องน้ำ ห้องครัว และห้องนั่งเล่น เท่ากับ20, 21 และ 15 เท่าตามลำดับ ระดับความสูงของห้องที่วัดจากพื้นห้องแตกต่างกัน 3 ระดับได้แก่ ระดับความสูงที่ 1 (0 - 0.75 เมตร) ระดับความสูงที่ 2 (0.75-1.5 เมตร) และระดับความสูงที่ 3 (>1.5 เมตร) พบว่าระดับความสูง 0.75 - 1.5 เมตร มีสัดส่วนอัตราอุบัติการณ์ของยุงลายบ้านสูงกว่าระดับความสูงที่ 1 และ 3 เท่ากับ 20 และ 46 เท่า ตามลำดับ จำนวนยุงลายบ้านที่เก็บได้ในช่วงเวลาเช้าและบ่ายไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ผลที่ได้จากการศึกษานี้สามารถนำมาใช้ในการกำหนดวิธีการควบคุมประชากรยุงลายที่เกาะพักภายในบ้านเรือนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมควบคุมโรคติดต่อ .2562. การระบาดของโรคไข้เลือดออกประจำปี 2561. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/th/site/index. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน2562

จิตติ จันทร์แสง, อุรุญากร จันทร์แสง, อุษาวดี ถาวระ และประคอง พันธ์อุไร. 2536. การแพร่กระจายของยุงลายในชนบทช่วง พ.ศ. 2532-2534. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 35: 85-102.

ธีรภาพ เจริญวิริยภาพ, ชำนาญ อภิวัฒนศร และคณัจฉรีย์ ธานิสพงศ์. 2558. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2558. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, มุกดา หวังวีรวงศ์ และวารุณี วัชรเสวี. 2559. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี่. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข

สมเกียรติ บุญญะบัญชา และบรรยง มาตย์คำ. 2529. แหล่งเกาะพักของยุงลายภายใน บ้านเรือน จังหวัดระยอง. วารสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ 28: 379-85.

สุจิตรา นิมมานนิตย์. 2544. โรคไข้เลือดออก ฉบับประเกียรณก. สํานักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข

อุษาวดีถาวระ. 2553. ชีววิทยา นิเวศวิทยา และการควบคุมยุงในประเทศไทย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

อุษาวดี ถาวระ, อภิวัฏ ธวัชสิน, จักรวาล ชมภูศรี, พัชราวรรณ ศิริโสภา และพายุ ภักดีนวน. 2559. ยุงร้ายกว่าเสือ. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.

Chadee, D.D. 2013. Resting behaviour of Aedes aegypti in Trinidad with evidence for the re-introduction of indoor residual spraying (IRS) for dengue control. Parasites & vectors 6: 255.

Perich, M. J., G. Davila, A. Turner, A. Garcia, and M. Nelson. 2000. Behavior of Resting Aedes aegypti (Culicidae: Diptera) and Its Relation to Ultra-low Volume Adulticide Efficacy in Panama City, Panama.Entomological Society of America. 37: 541-546.

Rued, M.L. 2004. Pictorial keys for the identification of mosquitoes (Diptera: Culicidae) associated with Dengue Virus Transmission. Zootaxa. 589: 1–60

Manzanilla, D.F., J.L. López, W.B. Marín, A.M. Jaimes, J.T. Leyva, F.C. Morales, H. Huerta, P. M. Saide and G.M.V. Prokopec. 2017. Indoor Resting Behavior of Aedes aegypti (Diptera: Culicidae) in Acapulco, Mexico. Journal of Medical Entomology 54: 501–504.

Vazquez-Prokopec, G.M., W. A. Galvin, R. Kelly, and U. Kitron. 2009. A New, Cost-Effective, Battery-Powered Aspirator for Adult Mosquito Collections. Journal of Medical Entomology 46: 1256–1259.