ประสิทธิภาพการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลนกแอ่นกินรัง โดยไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eudrilus eugeniae

Main Article Content

ปนัดดา จะแจ้ง
โชติรัตน์ ศรีเกลื่อน
ชัยสิทธิ์ ทองจู
วนิดา สืบสายพรหม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นศึกษาการใช้ประโยชน์จากมูลนกแอ่นกินรัง และศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ที่ได้จากการเลี้ยงด้วยมูลนกแอ่นกินรังและมูลโค ใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eudrilus eugeniae โดยมีวิธีการเตรียมสิ่งทดลองจากมูลสัตว์ 2 ชนิด มาผสมกับขุยมะพร้าวในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน ใช้แผนการทดลองแบบ 2×3 factorial in completely randomized design (CRD) โดยมีปัจจัยที่ใช้ในการทดลอง 2 ปัจจัย การทดลองละ 3 ซ้ำ ดังนี้ ปัจจัยที่ 1 ชนิดของมูลสัตว์ 2 ชนิด คือ มูลนกแอ่นกินรัง และมูลโค ปัจจัยที่ 2 คือ ระดับของมูลสัตว์ 3 ระดับ คือ  40, 60 และ 80% ตามลำดับ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มทดลอง ระยะเวลาในการเลี้ยงทั้งหมด 50 วัน ทำการเก็บตัวอย่างสิ่งทดลองในช่วงเริ่มต้นและสิ้นสุดการเลี้ยง เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี (ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (Total Nitrogen; N), ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด (Total Phosphorus; P), ปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมด (Total Potassium; K), ปริมาณแคลเซียม (Calcium; Ca), ปริมาณแมกนีเซียม (Magnesium; Mg), ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH), ปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic matter; OM), ค่าการนำไฟฟ้า (Electrical conductivity; EC) พบว่า ตัวอย่างเมื่อสิ้นสุดการเลี้ยง (Days 50) ของปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน T2 (มูลนกแอ่นกินรัง 60%: ขุยมะพร้าว 40%) มีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดและแมกนีเซียมเท่ากับ 0.55% และ 1.39% มีค่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับทุกสิ่งทดลอง (P<0.05) ส่วนในธาตุอาหารอื่นๆ มีในปริมาณใกล้เคียงกับสิ่งทดลองอื่นๆ ดังนั้น มูลนกแอ่นกินรังสามารถนำมาเลี้ยงไส้เดือนดินและให้ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการของพืช แต่อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่ได้จากการใช้วัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ ในการเลี้ยง จะส่งผลให้ปุ๋ยมูลไส้เดือนดินที่ได้มีคุณสมบัติแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี. 2551. คู่มือวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์. สำนักพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

จักรชัยวัฒน์ กาวีวงค์. 2550. เอกสารประกอบการสอน. ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, พิษณุโลก.

ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย และณัฏฐิรา แกล้วกล้าหาญ. 2559. การศึกษาปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพปุ๋ยหมัก โดยไส้เดือนดินระหว่างการเก็บรักษา. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3:55-61.

ทัศนีย์ เมืองแก้ว. 2561. ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2561 และแนวโน้มปี 2562. ใน: การสัมมนาภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2561 และแนวโน้มปี 2562 เรื่องโลกเปลี่ยน เกษตรปรับ เกษตรกรปรับเปลี่ยน. 21 ธันวาคม 2561. โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น, กรุงเทพฯ.

เทพวิทูรย์ ทองศรี. 2555. ผลกระทบของไนโตรเจนต่อสิ่งแวดล้อม. กรมวิทยาศาสตร์บริการ. 60:12-14.

ธนัชชา เพ็ชรเล็ก. 2556. ผลของวัสดุอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน (Eudrilus eugeniae) และปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน (ปัญหาพิเศษปริญญาตรี). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

นริสรา พานพ่วง, สาวิตรี จันทรานุรักษ์ และพีรพงษ์ เชาวนพงษ์. 2557. การศึกษาและพัฒนาวิธีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae. ใน: เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52: สาขาวิทยาศาสตร์, สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 4-7 กุมภาพันธ์ 2557. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

บรรจงศักดิ์ ภักดี. 2541. ศักยภาพของการใช้ไส้เดือนดินเพื่อย่อยสลายอินทรียวัตถุในฟาร์มขนาดเล็ก. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1, เชียงใหม่.

เมธี มณีวรรณ. 2541. มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก). วารสารพัฒนาที่ดิน. 36:12-22.

ไมตรี แก้วทับทิม. 2554. ปริมาณธาตุอาหารพืชในปุ๋ยอินทรีย์จากการหมักวัสดุอินทรีย์ต่างๆ. วิทยาศาสตร์เกษตร. 42:479-482.

สาลี่ ชินสถิต และหฤทัย แก่นลา. 2548. คู่มือ ปุ๋ยอินทรีย์ (ฉบับเกษตรกร). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

สุพาภรณ์ ดาดง. 2549. การศึกษาการวิภาคและการบำบัดกากตะกอนแห้งจากศูนย์ผลิตภัณฑ์นม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โดยไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2558. รายละเอียดนกอีแอ่น/นกแอ่นกินรัง. แหล่งข้อมูล: http://www.nbbch.org/bedo2016/?page=eco-bio/list Variety.php&groupType_ID=3&variety_ID=135. ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2562.

อานัฐ ตันโช. 2543. การทำปุ๋ยจากขยะโดยใช้ไส้เดือนดิน. แม่โจ้ปริทัศน์. 1:98-102.

อานัฐ ตันโช. 2552. คู่มือการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจากขยะอินทรีย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัท ทรีโอแอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด, เชียงใหม่.

อานัฐ ตันโช. 2560. คู่มือการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มูลไส้เดือนดินจากขยะอินทรีย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

อาภรณ์ ทองบุราณ และชุลีมาศ บุญไทย อิวาย. 2561. ผลการใช้แกลบเผาต่อการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eudrilus eugeniae และ Eisenia foetida ในกระบวนการทำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน. แก่นเกษตร. 46:105-116.

Abdullah, A., Z.M. Wan, S. Ali, and M.B. Jusoh. 2012 Nutritional Composition of Swiftlets (Aerodramus fuciphagus) Faeces for Future Usage. In: Veterinary Association of Malaysia (VAM). September 21-23, 2012. Marriot Hotel Putrajaya, Kuala Lumpur.

Guo, W., H. Nazim, Z. Liang, and D. yang. 2016. Magnesium deficiency in plants: an urgent prolem. The crop. 4:83-91.

Gupta, R., and V.K. Garg. 2008. Stabilization of primary sewage sludge during vermicomposting. Hazard. Mater. 153:1023-1030.

Khwairakpam, M. and R. Bhargava. 2009. Vermitechnology for sewage sludge recycling. Hazard.Mater. 161:948-954.

Le Bayon, R.C., and F. Binet. 2006. Earthworm changes the distribution and availability of phosphorous in organic substrates. Soil Biol. Biochem. 38:235-246.

Moorthri, M., A.K. Senthikumar, S. Arumugam, C. Kaliyaperumal, and N. Karupannan. 2018. Vermicomposting of distillery sludge waste with tea lea residues. SER. 28:223-227.

Neuhauser, E. A., R. C. Loehr, and M.R. Malecki. 1988. The Potential of Earthworm for Managing Sewage Sludge. P. 9-20. In: Earthworm in Waste and Environmental Management. SPB Academic Publishing, The Hague.

Nuhaa, S., M. Romeela, and K. G. Vinod. 2015. Experimental process monitoring and potential of Eudrilus eugeniae in the vermicomposting of organic solid waste in Mauritius. Ecological Engineering. 84:149-158.