ผลของกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวต่อลักษณะทางกายภาพ และคุณค่าทางโภชนะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวต่อลักษณะทางกายภาพ และคุณค่าทางโภชนะ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design; CRD) แบ่งออกเป็น 5 ทรีตเมนต์ ได้แก่ กากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว 100:0% (CN1;กลุ่มควบคุม), 80:20% (CN2), 70:30% (CN3), 60:40% (CN4) และ 50:50% (CN5) ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าลักษณะทางกายภาพทั้ง 5 ทรีตเมนต์ ใกล้เคียงกัน ทั้งสี กลิ่น และเนื้อสัมผัส แต่คุณค่าทางโภชนะพบว่ามีผลทำให้ปริมาณโปรตีนหยาบ (CP), ปริมาณเยื่อใยที่ไม่ละลายในสารฟอกที่เป็นกลาง (NDF) และปริมาณเยื่อใยที่ไม่ละลายในสารฟอกที่เป็นกรด (ADF) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยเฉพาะ ทรีตเมนต์ที่ 5 ที่ใช้กากมันสำปะหลัง 50 % หมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว 50 % สามารถเพิ่มปริมาณโปรตีนหยาบ (CP) ไขมันหยาบ(EE) พลังงานรวมทั้งหมด (GE) และลดปริมาณเยื่อใยที่ไม่ละลายในสารฟอกที่เป็นกลาง (NDF) และปริมาณเยื่อใยที่ไม่ละลายในสารฟอกที่เป็นกรด (ADF) ลงได้ ดังนั้นกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับเศษเหลือจากโรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มคุณค่าทางโภชนะได้
Article Details
References
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2561. โรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์. แหล่งข้อมูล: userdb.diw. go.th/factory/46-1-.xls. ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561.
ชวนิศนดากร วรวรรณ. 2500. กากมันสำปะหลัง. แหล่งข้อมูล: http://archives. psd.ku.ac.th/kuout/p234.html. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562.
ฐิติมา นรโภค, เมธา วรรณพัฒน์, อนุสรณ์ เชิดทอง, ชูช้าง กาง, กัมปนาจ เภสัชชา และธนิตพันธ์ พงษ์จงมิตร. 2559. การ ปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะของกากมันสำปะหลังหมัก และ กระบวนการหมักในหลอดทดลองด้วยการหมักยูเรียและ กากน้ำตาล. แก่นเกษตร. 44 (ฉบับพิเศษ 1): 405-412.
ฐิติมา นรโภค, ธนิตพันธ์ พงษ์จงมิตร, อนุสรณ์ เชิดทอง และพีรพจน์ นิติพจน์. 2561ก. การใช้ยูเรียร่วมกับกากน้ำตาลหมักกากมันสำปะหลังต่อปริมาณการกินได้ ความสามารถในการย่อยได้ และค่าชีวเคมี ในเลือดของโคเนื้อ. แก่นเกษตร. 46 (ฉบับพิเศษ 1): 25-32.
ฐิติมา นรโภค, ธนิตพันธ์ พงษ์จงมิตร, อนุสรณ์ เชิดทอง และนพรัตน์ ผกาเชิด. 2561ข. การใช้กากมันสำปะหลังหมักด้วยสารเสริมต่อปริมาณการกินได้และ ความสามารถในการย่อยได้ของโคเนื้อ. แก่นเกษตร. 46 (ฉบับพิเศษ 1): 590-596.
พิเชษฐ์ วิริยะพาหะ. 2561. ผู้เลี้ยงโคขุนต้นทุนอาหารสูง-ราคาขายตกต่ำ. แหล่งข้อมูล: http://www. bangkokbiznews.com /news/detail/795474. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561.
ภัทรภร ทัศพงษ์. 2554. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. แหล่งข้อมูล: http://www.agi. nu.ac.th /science/121113_1.php. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562.
เมธา วรรณพัฒน์. 2533. โภชนศาสตร์สัตว์เคี้ยวเอื้อง. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
วารุณี พานิชผล, ฉายแสง ไผ่แก้ว, สมคิด พรหมมา, โสภณ ชินเวโรจน์, จันทกานต์ อรณนันท์, วิโรจน์ ฤทธิ์ฤาชัยและวรรณา อ่างทอง. 2547.มาตรฐานของพืชอาหารสัตว์หมักคุณภาพดี. เอกสารเผยแพร่กองอาหารสัตว์. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 23 หน้า.
สมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย. 2552. อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง. แหล่งข้อมูล: https://goo.gl/uGY19S. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2555.
ห้างหุ้นส่วนจำกัดสินทวีโภคภัณฑ์กาฬสินธุ์. 2561. แหล่งข้อมูล: โรงงานผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว จังหวัดกาฬสินธุ์. ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561.
อริสรา รอดมุ้ย. 2553. การผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวจากแป้งข้าวหอมนิล. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. 5: 64-71.
Crisan, E.V. and A. Sands. 1978. Nutritional Value. Academic Press, New York.
Giang, N.T.T, M. Wanapat, K. Phesatcha, and S. Kang. 2016. Level of Leucaena leucocephala silage feeding on intake, rumen fermentation and nutrient digestibility in dairy steers. Trop. Anim. Health Prod. 48: 1057–1064.
Khajarern, S., N. Hutanuwatr, J. Khajarern, N. Kitpanit, R. Phalaraksh, and S. Terapuntuwat. 1979. The Improvement of Nutritive and Economic Value of Cassava Root Products. Annual report to IDRC, Ottawa, ON, Canada. Department of Animal Science, Faculty of Agriculture, Kon Kaen University, Khon Kaen, Thailand.
Khampa, S., S. Chuelong, S. Kosonkittiumporn, and P. Khejornsart. 2010. Manipulation of yeast fermented cassava chip supplementation in dairy heifer raised under tropical condition. Pakistan J. Nutr. 9: 950–954. doi: 10.3923/pjn.2010.950.954
Losada, H. and R. Alderete. 1977. Effect of cassava root meal and urea level on the performance of steers grazed on poor quality pasture with free access to molasses. Trop. Anim. Prod. 4: 47–50.
Norrapoke, T., M. Wanapat, A. Cherdthong, S. Kang, K. Phesatcha, and T. Pongjongmit. 2017. Improvement of nutritive value of cassava pulp and in vitro fermentation and microbial population by urea and molasses supplementation. J. Appl. Anim. Res. 46 (1). Doi: http://dx.doi.org/10.1080/90712119.2017. 1288630
SAS Institute. Inc. 1996. SAS/STAT User’s Guide: Version 6. 12. 4th Edition. SAS Institute Inc., Cary.
Van Soest, P. J., J. B. Robertson, and B.A. Lewis. 1991. Methods for dietary fiber neutral detergent fiber, and non starch polysaccharides in relation to animal nutrition. J. Dairy Sci. 74: 3583-3597.
Wanapat, M., S. Kang, and S. Polyorach. 2013. Development of feeding systems and strategies of supplementation to enhance rumen fermentation and ruminant production in the tropics. J. Anim. Sci. Biotech. 4(32). Doi: https://10.1186/2049-1891-4-32.
Yimmongkol, S. 2009. Research and development projects on improvement of the potential use of dried cassava pulp and cassava leaf meal in concentrate of feedlot cattle. Ph.D. Dissertation, Kasetsart University, Bangkok.