ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโต และศักยภาพการผลิตผักลิ้นห่านในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ชัยภูมิ สุขสำราญ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และศักยภาพการผลิตผักลิ้นห่านในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ completely randomized design (CRD) ใช้ 1 กระถาง/ซ้ำ ทำการทดลอง 15 ซ้ำ โดยปลูกผักลิ้นห่านลงในวัสดุปลูกต่างกัน 13 สูตร คือ ทรายทะเล (ชุดควบคุม), ทรายทะเล : แกลบดิบ อัตราส่วน 1:1, ทรายทะเล : แกลบดิบ : มูลไก่, มูลวัว, มูลแพะ, มูลค้างคาว และมูลไส้เดือน อัตราส่วน 1:1:1, ทรายทะเล : ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1, ทรายทะเล : ขุยมะพร้าว : มูลไก่, มูลวัว, มูลแพะ, มูลค้างคาว และมูลไส้เดือน อัตราส่วน 1:1:1 จากผลการศึกษา พบว่า วัสดุปลูกทรายทะเล : ขุยมะพร้าว : มูลวัว อัตราส่วน 1:1:1 ผักลิ้นห่านมีการเจริญเติบโตด้านความสูงลำต้น จำนวนไหล ความยาวไหล จำนวนต้นต่อไหล จำนวนต้นต่อกอ และมีจำนวนใบสูงที่สุด ทั้งนี้พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กัญจนา ดีวิเศษ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคใต้. สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข,กรุงเทพฯ.

จันทร์เพ็ญ ชัยมงคล, ดนัย วรรณวนิช, นิยม บัวบาน และไพศาล ตันสิน. 2555. การใช้กากอ้อยเป็นวัสดุปลูกพืชในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดิน. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ตรีบุปผา มิ่งเมือง, ดำรงค์ พงศ์พุทธชาติ และบุษกร อุ๋ยวงษ์. 2551. ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ของสารสกัดจากใบสิบสองราศี. ใน: ประชุมนำเสนอผลการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ครั้งที่ 1.วันที่ 19-20 กันยายน 2551.

ประยงค์ ธรรมสุภา. 2555. การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของดาวเรือง. วิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. 7: 26-31.

ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2560. รายงานผลการวิเคราะห์วัสดุอินทรีย์. คณะเกษตรกำแพงแสนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม.

ยืนยง วาณิชย์ปกรณ์, สมศักดิ์ กาญจนนันทวงศ์, พัชราภรณ์ วาณิชย์ปกรณ์, ชำนาญ รัตนมณี และณัฐวุฒิ พุ่มเกื้อ. 2559. อิทธิพลของปุ๋ยคอก 4 ชนิดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักคะน้า. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3: 39-45.

วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล และสุนันทา แก้วสระแสน. 2555. ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดจากใบสิบสองราศี. วิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 1: 13-20.

วิเชียร ฝอยพิกุล. 2548. เทคนิคและการใช้ดิน ปุ๋ย น้ำ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, สุรินทร์.
วิเซ็น ดวงสา, สายันต์ ตันพานิช, เรวัตร จินดาเจี่ย และมนตรี แก้วดวง. 2559. ผลของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกูด. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3: 30-35.

วิทยา สุริยาภณานนท์. 2523. เอกสารประกอบการสอนวิชาอาหาร และเครื่องปลูกของพืชสวน. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สมเพียร เกษมทรัพย์. 2522. การปลูกไม้ดอก. คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สุมิตรา สุปินราช, อิศร์ สุปินราช และรัชณีพร ศรีวันชัย. 2559. ผลวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของผีเสื้อ. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 2: 77-82.

องอาจ ตัณฑวณิช. 2559. เกษตรอินทรีย์วิถีสุขภาพ: ผักลิ้นห่านตำนานผักพื้นบ้านอันดามัน. เทคโนโลยีชาวบ้าน. 635: 29-54.