ความสัมพันธ์ของรูปแบบยีน MyoD ต่อน้ำหนักตัว และอัตราการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำ มข. 55 ไก่พื้นเมืองลูกผสม และไก่เนื้อ

Main Article Content

ผกาแก้ว ทาระเกต
บัญญัติ เหล่าไพบูลย์
สจี กัณหาเรียง

บทคัดย่อ

อัตราการเจริญเติบโตเป็นลักษณะที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตในไก่พื้นเมือง จากรายงานบทบาทและความสัมพันธ์ของยีน MyoD มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนากล้ามเนื้อและการเจริญเติบโตในสัตว์ปีก การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของยีน MyoD ต่อลักษณะการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองไทย การศึกษาใช้ไก่ทดลอง 5 กลุ่ม ๆ ละ 100 ตัว ได้แก่ ไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 (PD), ไก่จีนดำ (CB), ไก่เนื้อทางการค้า (Brolier), ไก่พื้นเมืองลูกผสมพ่อประดู่หางดำ มข.55 x แม่จีนดำ (PD x CB), และไก่พื้นเมืองลูกผสมพ่อจีนดำ x แม่ประดู่หางดำ มข.55 (CB x PD) ที่เลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด ให้น้ำและอาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีน 21%CP และ 18%CP ตามอายุของไก่โดยให้แบบกินเต็มที่ ทำการศึกษาความหลากหลายของรูปแบบจีโนไทป์ของยีน MyoD ด้วยเทคนิค PCR-RFLP ผลการศึกษาพบรูปแบบจีโนไทป์ของยีน MyoD จำนวน 3 รูปแบบ คือ จีโนไทป์ AA, AB และ BB ในไก่เนื้อทางการค้าพบความถี่จีโนไทป์ AA สูงที่สุดเท่ากับ 0.64 ในไก่พื้นเมืองลูกผสมระหว่างพ่อจีนดำ x แม่ประดู่หางดำ มข.55 มีความถี่จีโนไทป์ AB สูงที่สุดเท่ากับ 0.48 ส่วนความถี่จีโนไทป์ BB พบสูงที่สุด ในไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 เท่ากับ 0.58 โดยความถี่อัลลีล A พบความถี่สูงในไก่เนื้อทางการค้า และไก่พื้นเมืองลูกผสมทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนความถี่อัลลีล B พบความถี่สูงในกลุ่มไก่พื้นเมืองทั้งพันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 และไก่จีนดำ เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์รูปแบบยีน MyoD กับอัตราการเจริญเติบโต พบว่า จีโนไทป์ AA มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มน้ำหนักตัวเฉลี่ยที่อายุ 2 สัปดาห์ ในไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 และไก่พื้นเมืองลูกผสมทั้งสองสายพันธุ์ และพบความสัมพันธ์ของจีโนไทป์ AA และ BB ต่ออัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันที่สูงกว่าจีโนไทป์ AB ในไก่จีนดำที่ช่วงอายุ 0-8, 0-10 และ 0-12 สัปดาห์ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นรูปแบบจีโนไทป์ของยีน MyoD ที่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มน้ำหนักตัวและอัตราการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ มข.55 และไก่พื้นเมืองลูกผสม จึงมีความเป็นไปได้ในการพัฒนายีน MyoD เป็นเครื่องหมายพันธุกรรมเพื่อใช้ในการคัดเลือกลักษณะการเพิ่มน้ำหนักตัวในไก่พื้นเมืองไทยและไก่พื้นเมืองลูกผสมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

นริศรา สวยรูป, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, วุฒิไกร บุญคุ้ม และมนต์ชัย ดวงจินดา. 2555. สมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำและชีที่เลี้ยงด้วยอาหารไก่เนื้อและอาหารไก่ไข่. แก่นเกษตร. 40 (ฉบับพิเศษ 2): 248-252.

บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, มนต์ชัย ดวงจินดา, เทวินทร์ วงษ์พระลับ, พิชญ์รัตน์ แสนไชยสุริยา, เกษม นันทชัย, และวุฒิไกร บุญคุ้ม. 2553. การทดสอบสมรรถนะการเจริญเติบโตและความนุ่มเนื้อในไก่ลูกผสมที่ได้จากไก่พ่อพันธุ์พื้นเมืองไทยกับไก่แม่พันธุ์ทางการค้า. แก่นเกษตร. 38:373-384.

เพิ่มศักดิ์ ศิริวรรณ, อภิชัย รัตนวราหะ, สุภานัน พิมสาร, วิชิต สนลอย, และศุภฤกษ์ นาคกิตเศรษฐ์. 2547. การศึกษาเบื้องต้นในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ไก่กระดูกดำ. สัตวบาล. 68:44-53.

Bhuiyan, M.S.A., N.K. Kim, Y.M. Cho, D. Yoon, K.S. Kim, J.T. Jeon, and J.H. Lee. 2009. Identification of SNPs in MYOD gene family and their associations with carcass traits in cattle. Livest. Sci. 126: 292–297.

Falcorner, D. S. and T. F. C. Mackey. 1996. Introduction to Quantitative Genetics. 4th Edition. Longman, Oxford.

Jaturasitha, S., V. Leangwunta, A. Leotaragul, A. Phongphaew, T. Apichartsrungkoon, N. Simasathikul, T. Vearasilp, L. Worachai and U. ter Meulen. 2002. A comparative study of Thai native chicken and Broiler on productive performance, carcass and meat quality. Available: https://pdfs.semanticscholar.org/16d3/c934ee92fe62744ced979d035df04ca95c8b.f?_=2.106419075.1252508388.1573947833-1326147920.1537756766. Accessed Dec. 20, 2016.

Goodwin, W., A. Linacre, and S. Hadi. 2007. An Introduction to Forensic Genetics. John Wiley & Sons Ltd., Chicheste.

Kim, S. W., J. H. Lee, B. C. Park, and T. S. Park. 2017. Myotube differentiation in clustered regularly interspaced short palindromic repeat/Cas9-mediated MyoD knockout quail myoblast cells. Asian Aust. J. Anim. Sci. 7: 1029-1036.

PhysOrg. 2006. Black-Bone silky fowl: an odd bird with meat to crow about. Available: http://www. physorg.com/news77370660.html. Accessed: Jan. 18, 2019.

SAS. 2002. User’s Guide: Statistics, V.9.0. SAS Institute Inc., Cary. NC.

Tian, Y., M. Xie, W. Wang, H. Wu, Z. Fu, and L. Lin. 2007. Determination of carnosine in black-bone silky fowl (Gallus gallus domesticus Brisson) and common chicken by HPLC. Eur. Food Res. Technol. 226:311-314.

Ujan, J. A., L. S. Zan, H. B. Wang, S. A. Ujan, C. Adoligbe, H. C. Wang, and S. F. Biao. 2011. Lack of an association between a single nucleotide polymorphism in the bovine myogenic determination 1 (MyoD1) gene and meat quality traits in indigenous Chinese cattle breeds. Genet. Molec. Res. 10: 2213-2222.

Wattanachant, S., S. Benjakul, and D. A. Ledward. 2004. Composition, color, and texture of Thai indigenous and broiler chicken muscles. Poult. Sci. 83:123-128.

Wei, Q. and M. P. Bruce. 2001. Regulation of MyoD Function in the Dividing Myoblast. Laboratory of Biochemistry, National Cancer Institute, National Institutes of Health, Bethesda.

Yang, Z.Q., Y. Qing, Q. Zhu, X. L. Zhao, Y. Wang, D. Y. Li, Y. P. Liu, and H. D. Yin. 2015. Genetic effects of polymorphisms in myogenic regulatory factors on chicken muscle fiber traits. Asian Aust. J. Anim. Sci. 6:782-787.

Yin, H., Z. Zhang, X. Lan, X. Zhao, Y. Wang and Q. Zhu. 2011. Association of MyF5, MyF6 and MyoG gene polymorphisms with carcass traits in Chinese meat type quality chicken populations. J. Anim. Vet. Adv. 10:704-708.